24 ส.ค. 2022 เวลา 03:12 • ความคิดเห็น
"ถ้าท่านเฉยเมยต่อสิ่งหนึ่งที่ผิด
มันจะกลายเป็นสิ่งที่ผิด สองอย่างขึ้นมา"
นิทาน ชาวนาผู้มีวาทศิลป์ (The Tale of the Eloquent Peasant)วาทกรรมว่าด้วยความยุติธรรม(2562) วรรณกรรมภูมิปัญญาอียิปต์โบราณราว 4,000 ปีก่อน
ผู้แปลและเรียบเรียง: ปรีดี บุญซื่อ
“นิทาน ชาวนาผู้มีวาทศิลป์” บอกเล่าเรื่องราวของชาวนาคนหนึ่งที่เดินทางมุ่งหน้าไปอียิปต์เพื่อหวังจะออกไปหาอาหาร ชาวนาผู้นี้เดินทางไปพร้อมกับลาที่บรรจุของชั้นดี เช่น เกลือ ต้นกก หนังเสือดาว ไม้ป่า และไม้ผล เพื่อไปแลกกับอาหาร แต่ระหว่างทางกลับถูกคนมาเอาไปจนหมด แม้ชาวนาจะขอร้องให้คืนของของเขา แต่ชาวนากลับไม่ได้ของคืนและถูกทุบตี
ชาวนาจึงมุ่งหน้าไปยังเมืองหลวงเพื่อร้องเรียนเรื่องราวที่ตนเผชิญกับผู้มีอำนาจ ด้วยการเขียนคำร้องเรียนยื่นเรื่องเข้าไป แต่เมื่อผู้มีอำนาจเห็นว่าถ้อยคำที่ชาวนาร้องเรียนมานั้น เต็มไปด้วยความสวยงาม เขาจึงรีรอไม่รีบตอบโต้กลับ เพื่อหวังให้ชาวนาเขียนร้องเรียนเข้ามาอีก และชาวนาก็เขียนหนังสือร้องเรียนมาอีก 8 ครั้ง รวมทั้งหมด 9 ครั้ง โดยหลังจากการร้องเรียนครั้งที่ 9 ผู้มีอำนาจได้ตัดสินให้คนที่เอาทรัพย์สินของชาวนาไป นำเอาทรัพย์สินเหล่านั้นกลับมาคืนแก่ชาวนา
เนื้อความที่ชาวหน้าเขียนร้องเรียนมานั้น เกี่ยวข้องกับสิ่งที่เรียกว่า “maat” (มาต) หรือความยุติธรรม โดยมาตในสังคมอียิปต์โบราณเป็นอะไรที่มีความหมายที่หลากหลาย ทำให้แนวคิดเรื่องความยุติธรรมของอียิปต์โบราณมีความสมบรูณ์ และเป็นแนวคิดที่บูรณาการระหว่างสิ่งต่างๆ แบบไม่มีการแบ่งแยก
โดยในอดีตการพิจารณาคดีความต่างๆ ที่เกิดขึ้นนั้น จะอาศัยแนวคิดเกี่ยวกับมาต และตัวอย่างการตัดสินคดีความในอดีต เพราะสมัยนั้นยังไม่กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษร
การออกมาเรียกร้องเรื่อง “มาต” ของชาวนา เป็นการร้องขอให้ผู้นำหรือผู้มีอำนาจทำในสิ่งที่มีความยุติธรรม ปกป้องคนที่อ่อนแอ คนที่ยากคน หรือคนที่ต่ำด้อยกว่าตน ด้วยมุมมองที่ว่าคน
ทุกระดับต่างอยู่ร่วมกัน มีความสัมพันธ์ต่อกันและกันในลักษณะ interdependent ดังนั้น ถ้อยความของชาวนาจึงไม่ใช่การเรียกร้องให้คนทุกคนต้องเท่าเทียมกัน หรือการพูดว่าคนกลุ่มหนึ่งถูกควบคุมโดยคนอีกกลุ่มหนึ่ง (active-passive) (noted : ที่หน้าสนใจสำหรับเราก็คือ การที่คำร้องเรียนที่เกิดขึ้น เน้นเรื่องหน้าที่ที่พึงปฏิบัติ แทนการเรียกร้องทางชนชั้น)
โดยปกติแล้ว เรื่องราวเกี่ยวกับคำสอนมักจะมีโครงเรื่องว่าคนเป็นผู้ใหญ่จะสั่งสอนผู้น้อย แต่สำหรับเรื่อง “นิทาน ชาวนาผู้มีวาทศิลป์” นั้นต่างออกไป คนที่เป็นผู้น้อยกลับแสดงบทบาทในการสั่งสอนผู้ใหญ่ เพื่อให้ผู้ใหญ่ทำหน้าที่ผู้ใหญ่ในการปกป้องดูแลผู้น้อย ผ่านเรื่องราวว่า “มาต” (ความยุติธรรม) ให้ผู้ใหญ่ที่มีอำนาจทำในสิ่งที่เป็นธรรม การรักษาความยุติธรรม และไม่เมินเฉยต่อความยุติธรรม เนื่องจากเป็น “หน้าที่” ที่ผู้มีอำนาจพึงปฏิบัติ
เนื้อหาในนิทานเกือบทั้งหมดคือ คำร้องเรียนด้วยวาทศิลป์ที่ สวยงามแบบเรียบง่ายและได้ใจความ เช่น
"จงลงโทษ คนที่ควรถูกลงโทษ
แล้วผู้คน จะยึดถือหลักเกณฑ์จากท่าน"
สำนักข่าว BBC ยกย่องให้เรื่องนี้เป็น 1 ใน 100 วรรณกรรม ที่ทรงอิทธิพลทางความคิดของโลกเรา เรื่องนี้จะถูกอ่านมานานถึง 4,000 กว่าปี แต่ปัญหาความยุติธรรมก็ยังมีให้เห็นอยู่ทั่วไป
ในเล่มก็มีส่วน คำอธิบาย อย่างละเอียด
โฆษณา