24 ส.ค. 2022 เวลา 11:30 • การตลาด
สำรวจ 4 พฤติกรรมผู้บริโภคปรับตัวอย่างไร ช่วงวิกฤตค่าครองชีพสูง สวนทางรายได้
ผู้บริโภคมีการปรับตัวอย่างไร ท่ามกลางสถานการณ์ค่าครองชีพสูง สวนทางกับรายได้ l H.I.P Marketing #MarketingUpdate
เผยข้อมูล 4 ความคิดเห็นของผู้บริโภค จากการสำรวจของ EIC ธนาคารไทยพาณิชย์ ในช่วงสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ ที่มีค่าครองชีพสูงขึ้นสวนทางกับรายได้ของผู้บริโภค ดังต่อไปนี้
• ผู้บริโภครายได้น้อย สวนค่าครองชีพ
จากการสำรวจแบบสอบถามผู้บริโภค ส่วนใหญ่กว่า 73% มีรายได้เฉลี่ยไม่เกิน 15,000.- ต่อเดือน และจากการวิเคราะห์รายได้ และรายจ่าย โดยอัตรากว่า 60% มีรายได้เพิ่มขึ้นน้อยกว่ารายจ่าย ท่ามกลางสถานการณ์ค่าครองชีพที่สูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อผู้ที่มีรายได้น้อยอย่างกว้างขวาง
• ผู้บริโภคมีรายได้น้อยลง แต่รายจ่ายเพิ่มขึ้น
จากการสำรวจผู้บริโภคที่มีรายได้น้อย ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา อัตรากว่า 59% มีปัญหาเรื่องรายได้ไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่าย ส่งผลกระทบต่อการเก็บออมถึง 77%
จากข้อมูลดังกล่าว คาดว่าแนวโน้มค่าใช้จ่ายยังคงเพิ่มสูงขึ้น ทำให้ผู้บริโภคกลุ่มรายได้น้อยประสบปัญหาขาดสภาพคล่องทางการเงิน
• ราคาสินค้า และบริการเพิ่มสูงขึ้น
ผู้บริโภคกำลังเผชิญกับสถานการณ์ค่าครองชีพสูง ทำให้มีการเลือกซื้อสินค้า หรือบริการที่ไม่จำเป็นลดน้อยลง จากปริมาณสินค้าซื้อเท่าเดิม แต่ราคาสูงขึ้น ทำให้ผู้บริโภคมองหาโปรโมชั่น ลด แลก แจก แถม เพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายต่างๆ
• แนวโน้ม พฤติกรรม New Normal ยังคงมีอยู่
ปัจจุบันผู้บริโภคก็ยังคงสั่งซื้อสินค้า หรือบริการผ่านช่องทางออนไลน์ เนื่องจากมีพฤติกรรมคุ้มชินจากวิกฤตโควิด-19 ช่วงระบาดหนัก ทำให้ต้อง Work From Home หรือกักตัวอยู่ที่บ้าน
จึงทำให้ธุรกิจสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ หรือ Food Deriver มีอัตราเพิ่มสูงขึ้น ในกลุ่มผู้บริโภคที่ไม่ได้มีปัญหาทางการเงิน ทำให้ค่าใช้จ่ายหน้าร้านลดลง และหันไปใช้จ่ายออนไลน์มากขึ้นแทน เนื่องจากมีความสะดวกสบาย และประหยัดเวลาในการทำกิจกรรมอื่นๆ
อย่างไรก็ตาม. . .จากข้อมูลสำรวจดังกล่าว แสดงให้เห็นว่าสภาพเศรษฐกิจเปราะบาง ค่าครองชีพสูง สินค้าและบริการมีราคาแพงขึ้น ทำให้ผู้บริโภคมีการปรับตัว และระมัดระวังเรื่องค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น
และหวังว่าข้อมูลนี้จะเป็นประโยชน์ต่อนักการตลาดสำหรับการวางแผนกลยุทธ์การตลาด เพื่อตอบโจทย์ความต้องการผู้บริโภคในวิกฤตค่าครองชีพสูงสวนรายได้
โฆษณา