25 ส.ค. 2022 เวลา 09:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ
📈ทำไม Jitta Wealth ใช้ TOPIX แทน NIKKEI 225 ในการเทียบผลตอบแทน
หลังจากที่ Jitta Wealth เปิดโลกการลงทุนแดนอาทิตย์อุทัยที่มีหุ้นขุมทรัพย์แสนล้ำค่าที่หลายคนไม่รู้ กับนโยบาย Jitta Ranking ญี่ปุ่น 🇯🇵
เราได้ทดสอบ Back Test และได้ผลลัพธ์ที่แสนจะน่าลงทุนในตลาดหุ้นญี่ปุ่น เพื่อให้คุณได้เห็นว่าการลงทุนใน Jitta Ranking ญี่ปุ่นในระยะยาว มีโอกาสสร้างผลตอบแทนชนะตลาดได้จริง
แต่เมื่อพูดถึงการ ‘ชนะตลาด’ ก็ทำให้เกิดข้อสงสัย เพราะเมื่อหันไปเห็นชื่อดัชนีที่คุณไม่คุ้นสักนิดอย่าง Tokyo Stock Price Index หรือ TOPIX คุณคงเกิดคำถามว่ามันคือดัชนีอะไรกันแน่ 🤔
เมื่อพูดถึงตลาดหุ้นญี่ปุ่น เชื่อว่าหลายคนจะคิดถึงดัชนีชื่อดังอย่าง NIKKEI 225 ที่รวบรวมหุ้นใหญ่ๆ ของญี่ปุ่น 225 บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์โตเกียว ใน 36 อุตสาหกรรมสำคัญของญี่ปุ่น
แล้วทำไม Jitta Wealth กลับเลือกดัชนี TOPIX มาใช้เปรียบเทียบแทน NIKKEI 225?
เป็นไปได้ไหมว่าการลงทุนให้ผลตอบแทนชนะ TOPIX จะง่ายกว่า NIKKEI 225? วันนี้เราจะมาคลายข้อสงสัยเรื่องนี้ครับ
วันนี้เราได้รวบรวม 4 คำถามยอดฮิตที่หลายคนกำลังสงสัยเกี่ยวกับดัชนี TOPIX
เมื่อคุณถามมา เราก็พร้อมตอบเสมอ ไปดูทั้ง 4 คำถามกันเลยว่ามีอะไรบ้าง
💰Q: ดัชนี TOPIX คืออะไร?
💰A: TOPIX เป็นดัชนีตลาดหุ้นที่สำคัญของญี่ปุ่น ที่เกิดจากข้อมูลหุ้นมากกว่า 2,000 บริษัท โดนดัชนี TOPIX เริ่มคำนวณในวันที่ 4 มกราคม 2511 โดยกำหนดฐานเท่ากับ 100 จุด
ดัชนี TOPIX เป็นตัวชี้วัดภาพรวมของตลาดหุ้น จึงถูกนำมาใช้เป็นเกณฑ์มาตรฐานสำหรับการลงทุนในตลาดหุ้นญี่ปุ่น เพื่อนำมาเทียบผลตอบแทนจากการลงทุนจริง
🎌Q: TOPIX ต่างจาก NIKKEI 225 ยังไง?
🎌A: อย่างแรกเลยคือจำนวนหุ้นในดัชนี สำหรับ NIKKEI 225 จะคำนวณจากหุ้นเพียงแค่ 225 บริษัทชั้นนำของญี่ปุ่น ในขณะที่ TOPIX จะคำนวณจากหุ้นมากกว่า 2,000 บริษัท
ดังนั้น หากมองถึงภาพรวมของตลาดหุ้นญี่ปุ่น ดัชนี TOPIX จะสะท้อนแนวโน้มตลาดหุ้นญี่ปุ่นได้ครอบคลุมกว่าดัชนี NIKKEI 225 ครับ
อีกหนึ่งสิ่งที่แตกต่างกันระหว่างทั้ง 2 ดัชนี คือ ดัชนี TOPIX ใช้การถ่วงน้ำหนักด้วยมูลค่าตลาด (Capitalization-Weighted Index) ส่วนดัชนี NIKKEI 225 จะถูกถ่วงน้ำหนักด้วยราคาหุ้นในตลาด (Price-Weighted Index) ครับ
หากคุณไม่รู้จักวิธีคำนวณดัชนีทั้ง 2 แบบก็ไม่ต้องตกใจไป เพราะเรามีตัวอย่างการคำนวณดัชนีแบบง่ายๆ ให้คุณได้เรียนรู้ในตอนท้ายบทความครับ
💸Q: ผลตอบแทน 10 ปี ระหว่าง TOPIX และ NIKKEI 225 คือเท่าไร?
💸A: หากคุณลงทุนในดัชนี TOPIX หรือ NIKKEI 225 เป็นเวลา 10 ปี โดยเริ่มต้นลงทุนตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2555 - 31 ธันวาคม 2564 คุณจะได้ผลตอบแทนออกมาดังนี้
◾ หากลงทุนดัชนี TOPIX ระยะเวลา 10 ปี ผลตอบแทนรวม คือ 173.44% หรือคิดเป็นอัตราผลตอบแทนทบต้นที่ 5.66% ต่อปี
◾ หากลงทุนดัชนี NIKKEI 225 ระยะเวลา 10 ปี ผลตอบแทนรวม คือ 240.51% หรืออคิดเป็นอัตราผลตอบแทนทบต้นที่ 9.17% ต่อปี
จะเห็นว่าผลตอบแทนจากการลงทุนในดัชนี NIKKEI 225 มากกว่า TOPIX อย่างไรก็ตาม ก็ต้องมาแลกมาด้วยความผันผวนของดัชนี NIKKEI 225 ที่จะสูงกว่า เพราะเป็นดัชนีที่คำนวณจากราคาหุ้น และมีเพียงแค่ 225 บริษัทในการคำนวณเท่านั้น
ซึ่งสามารถตอบคำถามอย่างเป็นนัยๆ ได้ว่าการลงทุนให้ชนะ TOPIX จะง่ายกว่า NIKKEI 225 แต่เหตุผลสำคัญที่ทำให้ทั่วโลกเลือกใช้ TOPIX ในการวัดผลตอบแทน ก็คือการถ่วงน้ำหนักหุ้นในดัชนีนั่นเอง
🏋️Q: การถ่วงน้ำหนักด้วย Capitalization-Weighted Index และ Price-Weighted Index คืออะไร แตกต่างกันอย่างไร?
🏋️A: การถ่วงน้ำหนักของหุ้นในแต่ละดัชนีจะมีความแตกต่างกัน และนั่นรวมไปถึง TOPIX และ NIKKEI 225 ด้วยเช่นกันครับ โดยผมจะอธิบายการคำนวณในแต่ละรูปแบบง่ายๆ ดังนี้
Capitalization-Weighted Index หรืออีกชื่อคือ Market-Value-Weighted Index เป็นการถ่วงน้ำหนักดัชนีด้วยมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดหรือ Market Capitalization ของหุ้นที่อยู่ในดัชนี ซึ่งการคำนวณจะความเข้าใจง่าย ดังนี้
สมมติให้ ดัชนี Jitta เป็นดัชนีที่ถ่วงน้ำหนักด้วยวิธี Capitalization-Weighted Index ที่รวมหุ้นทั้งหมด 5 บริษัท โดยหุ้นแต่ละตัวจะมีมูลค่ามาร์เก็ตแคปดังนี้
🔸 หุ้น A มูลค่ามาร์เก็ตแคป = 1000 บาท
🔸 หุ้น B มูลค่ามาร์เก็ตแคป = 800 บาท
🔸 หุ้น C มูลค่ามาร์เก็ตแคป = 600 บาท
🔸 หุ้น D มูลค่ามาร์เก็ตแคป = 400 บาท
🔸 หุ้น E มูลค่ามาร์เก็ตแคป = 200 บาท
มาร์เก็ตแคปรวมของดัชนี Jitta จะเท่ากับ 3,000 บาท ดังนั้น หุ้นแต่ละบริษัทจะมีสัดส่วนต่อดัชนี ดังนี้ครับ
🔸 A 33.33% ของดัชนี
🔸 B 26.67% ของดัชนี
🔸 C 20.00% ของดัชนี
🔸 D 13.33% ของดัชนี
🔸 E 6.66% ของดัชนี
และถ้าหากมูลค่ามาร์เก็ตแคปเปลี่ยนแปลงไป สัดส่วนหรือน้ำหนักของหุ้นในดัชนี Jitta ก็จะเปลี่ยนแปลงไปด้วยเช่นกัน
มาดูอีกตัวอย่างสมมติกันดีกว่าครับ โดยสมมติให้ดัชนี Wealth เป็นดัชนีที่ถ่วงน้ำหนักด้วยวิธี Price-Weighted Index จากหุ้น 5 บริษัทที่มีราคาแตกต่างกันออกไป ดังนี้
🔹 หุ้น A ราคาหุ้น = 7 บาท
🔹 หุ้น B ราคาหุ้น = 85 บาท
🔹 หุ้น C ราคาหุ้น = 22 บาท
🔹 หุ้น D ราคาหุ้น = 104 บาท
🔹 หุ้น E ราคาหุ้น = 62 บาท
การคำนวณสัดส่วนหรือน้ำหนักในดัชนี Wealth จะสามารถคำนวณสัดส่วนของหุ้นแต่ละตัวออกมาได้ดังนี้
🔹 หุ้น A มีสัดส่วนในดัชนี Wealth
= [8/(7+85+22+104+62)] x 100 = 2.86%
🔹 หุ้น B มีสัดส่วนในดัชนี Wealth
= [85/(7+85+22+104+62)] x 100 = 30.36%
🔹 หุ้น C มีสัดส่วนในดัชนี Wealth
= [22/(7+85+22+104+62)] x 100 = 7.86%
🔹 หุ้น D มีสัดส่วนในดัชนี Wealth
= [104/(7+85+22+104+62)] x 100 = 37.14%
🔹 หุ้น E มีสัดส่วนในดัชนี Wealth
= [62/(7+85+22+104+62)] x 100 = 22.14%
จะเห็นว่าการถ่วงน้ำหนักด้วย Price-Weighted Index จะทำให้สัดส่วนหุ้นที่ราคาสูงที่สุดอย่าง หุ้น D มีสัดส่วนหรือน้ำหนักในดัชนี Wealth มากที่สุด การจัดอันดับหุ้นในดัชนีลักษณะนี้จึงค่อนข้างแปลก และใช้เปรียบเทียบกับผลตอบแทนจากการลงทุนไม่ได้นั่นเอง
ทั้งหมดนี้คือเหตุผลที่เราเลือกดัชนี TOPIX มาเป็น Benchmark ในการเปรียบเทียบผลตอบแทนจากการลงทุน Jitta Ranking ญี่ปุ่น แทนที่จะเป็น NIKKEI 225 ที่หลายคนรู้จักและคุ้นเคยกันนั่นเองครับ
ทั้งหมดนี้น่าจะทำให้คุณได้มีความรู้จักตลาดหุ้นญี่ปุ่นมากขึ้น รวมไปถึงการถ่วงน้ำหนักของหุ้นทั้งในดัชนี TOPIX และ NIKKEI 225 ซึ่งเป็นสองดัชนีญี่ปุ่นที่มีความสำคัญมากที่สุด 🍜
จะเห็นว่าตลาดหุ้นญี่ปุ่นมีความน่าดึงดูดใจเป็นอย่างมาก และมีโอกาสที่รอให้คุณเข้าไปสำรวจค้นคว้า เพื่อผลตอบแทนระยะยาวจากการลงทุน เราถึงได้บอกว่า มันเป็นขุมทรัพย์ลับที่เราหาเจออย่างแท้จริง 💎
หากคุณอยากเป็นนัก(ลงทุน)สำรวจที่อยากเข้าไปครอบครองขุมทรัพย์นี้ ในตอนนี้เป็นโอกาสดีที่คุณจะเข้าลงทุน Jitta Ranking ญี่ปุ่น สำรวจหุ้นคุณภาพดี ในราคาที่เหมาะสม และพาพอร์ตลงทุนของคุณ พุ่งทะยานสูงดุจภูเขาไฟฟูจิ 🗻
หากคุณมีความสนใจจะลงทุนใน Jitta Ranking ญี่ปุ่น สามารถไปดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://jittawealth.com/jitta-ranking/japan
ขอให้คุณได้ลงทุนอย่างสบายใจ ด้วยแนวทาง VI ในหุ้นญี่ปุ่นอย่างแท้จริง
โฆษณา