26 ส.ค. 2022 เวลา 23:03 • ธุรกิจ
ถ้าคุณกำลังมองหาเครื่องมือ
หรือวิธีการในการวัดประสิทธิภาพด้านแรงงานหรือกำลังพล
.
ในระบบลีน เราจะใช้ตัวประเมินประสิทธิภาพด้านกำลังพลด้วยค่า
Man * Hour per Unit ( MH/U )
.
แต่ถ้าต้องการประเมินความสามารถในการผลิต เราจะวัดด้วยค่า
Unit per Man * Hour ( U/MH )
แล้วทั้ง 2 ค่า นี้ มันต่างกันอย่างไร ?
.
.
จากหลักการของลีน ที่มี 2 แก่นหลัก คือ
1. การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
2. การลดต้นทุน
.
ดังนั้นแรงงานจึงเป็นต้นทุนอย่างหนึ่งที่จำเป็นต้องควบคุมและทำให้มีค่าที่ต่ำที่สุด
ซึ่งค่า MH/U นี้ จึงเป็นค่าที่ผู้บริหารจำเป็นต้องรู้ เข้าใจ เพื่อควบคุม และ เข้าถึงได้ง่ายเพื่อจะพิจารณาและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
.
แล้วทำไมในระบบลีนนั้น จึงใช้ค่า MH/U เป็น KPI ในการควบคุม ?
คำตอบ คือ ในการบริหารต้นทุนนั้น เราจำเป็นต้องรู้ให้ได้ว่า ต้นทุนต่อหน่วย ( Unit ) ของสินค้านั้นราคาเท่าใด
ฉะนั้นต้นทุนในด้านแรงงาน จึงเป็นการวัดความสามารถของ
จำนวนคนที่ทำงานในแต่ละชั่วโมง เพื่อให้ได้ชิ้นงานออกมา 1 หน่วย
หรือแปลงเป็นสูตร คือ Man * Hour เทียบกับต่อหน่วยการผลิต ( Unit )
ดังนั้นจึงได้ออกมาเป็นสูตร Man*Hour per Unit นั่นเอง
ฉะนั้นจากตารางในรูป เราจะพบว่าเมื่อนำมาคำนวนด้วยสูตรนี้
MH/U ( บริษัท AA ) = 0.033
MH/U ( บริษัท BB ) = 0.035
นั่นคือบริษัท AA มีความสามารถในการบริหารต้นทุน/หน่วยด้านกำลังพล ที่ดีกว่า บริษัท BB
( ค่า MH/U ยิ่งน้อยยิ่งดี )
ที่สำคัญด้วยการวัดแบบ MH/U นี้ เราสามารถคำนวนเป็นต้นทุนต่อหน่วยได้ทันที เช่น
ค่าแรง/วัน คือ 350 บาท หรือคิดเป็น 43.75 บาท/คน*ชั่วโมง
ฉะนั้นต้นทุนต่อหน่วย ( ค่าแรงงาน ) = MH/U * ค่าแรงรายชั่วโมง
ต้นทุน/หน่วย ของบริษัท AA = 0.033*43.75 = 1.46 บาท/หน่วย
ต้นทุน/หน่วย ของบริษัท BB = 0.035*43.75 = 1.51 บาท/หน่วย
ต่างกันอยู่ 0.05 บาท/หน่วย ซึ่งถ้าใน 1 ปีมีการผลิต 100000 ชิ้น
นั่นเท่ากับว่า บริษัท AA จะมีต้นทุนที่ต่ำกว่า 25000 บาท เลยทีเดียว
ฉะนั้น ต้นทุน/หน่วยของบริษัท BB ย่อมเสียเปรียบกว่าบริษัท AA
.
.
.
ส่วนค่า Unit per Man * Hour ( U/MH ) นั้น จะพบว่ามันคือส่วนกลับของค่า MH/U
แต่ในความหมายของค่านี้ คือ ความสามารถในการผลิต
ฉะนั้นในบริษัทส่วนใหญ่ มักนิยมใช้ค่านี้่เพื่อการวางแผนการผลิต
[ แตกต่างจาก MH/U ใช้เพื่อควบคุมกำลังพลและต้นทุน ]
เพราะในการวางแผนการผลิตนั้น นักวางแผนจำเป็นต้องรู้ว่า ในสายการผลิตนั้นๆ มีความสามาถในการผลิตได้เท่าไร
ในแต่ละชั่วโมงทำงาน เพื่อนำมาวางแผนผลิตในแต่ละวัน
.
จากตารางในรูป เราจะพบว่าเมื่อนำมาคำนวนด้วยสูตรนี้
U/MH ( บริษัท AA ) = 30.00
U/MH ( บริษัท BB ) = 28.95
ก็ชัดเจนเช่นกันว่า บริษัท AA มีความสามารถในการผลิตในแต่ละชั่วโมงที่ดีกว่า บริษัท BB
.
แต่ในแง่ในของลีน นั้น ค่า U/MH นี้นำไปคำนวนต้นทุน/หน่วย ได้ยาก เมื่อเทียบกับ MH/U
( แต่ใช้งานได้ดีสำหรับการนำไปวางแผนการผลิต )
บทสรุป ::
1. MH/U
- เพื่อควบคุมกำลังพลในการผลิตให้เหมาะสมกับยอดคำสั่งซื้อ
- เพื่อบริหารต้นทุน/หน่วยของสินค้า
- เหมาะกับสายการผลิตแบบ continuous production
- และการผลิตแบบ make to stock type
2. U/MH
- เพื่อใช้ในการวางแผนการผลิต
- เหมาะกับการผลิตแบบ job production
- หรือการผลิต/การทำงานแบบ make to order type
============================
และถ้าในกรณีที่ต้องการให้กำลังพลมีประสิทธิภาพในการทำงานที่ดีขึ้น เพื่อทำให้ต้นทุน/หน่วย ลดลง
( MH/U ที่ต่ำๆ หรือ U/MH ที่สูงๆ )
เครื่องมือที่บริษัทจำเป็นจะต้องเรียนรู้ คือ STW หรือ Standardized Work
เพราะ STW เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์กระบวนการทำงาน เพื่อหาจุดปรับปรุง ทำให้เวลาในการทำงานน้อยลง
ส่งผลทำให้ productivity การผลิตเพิ่มขึ้น
=============================
🌀 ถ้าองค์กรกำลังประสบปัญหาในการบริหารกำลังพลหรือมีความตั้งใจในการยกระดับ productivity ในการผลิต และทำให้มีต้นทุนการผลิตที่ต่ำลง/น้อยลงได้
เพราะเราคือ ที่ปรึกษาด้านลีนเทคโนโลยีมามากกว่า 15 ปี ที่จะช่วยคุณได้ เพื่อสร้างองค์กรให้มีความรู้, ความเข้าใจ และนำระบบลีนไปปฏิบัติได้อย่างยั่งยืน
🔵 ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
คุณสัญเชษฐ์ เลิศวิชโย
เบอร์ : 089-8347733​
เมล์ : leantrinitycenter@gmail.com​
เว็บ : www.leantrinity.com
โค้ชบี้ สัญเชษฐ์
Lean Trinity Academy
โฆษณา