Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
BrandCase
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
28 ส.ค. 2022 เวลา 10:50 • ธุรกิจ
Potato Corner ในไทย รายได้เท่าไร ?
ถ้าถามว่า อาหารว่างอย่าง เฟรนช์ฟรายส์ นั้น มีการแข่งขันกันสูงไหม ?
คำตอบคือ มีการแข่งขันกันสูงมาก ทั้งรายเล็ก และรายย่อยมากมาย ที่เราเห็นตามห้างสรรพสินค้า ตามร้าน หรือแม้แต่ตามตลาดทั่วไป
ปัจจุบัน มีแบรนด์เฟรนช์ฟรายส์เจ้าหนึ่ง ที่หน้าร้านจะมีสีเขียวและสีเหลือง สีสันสะดุดตามาก และหลายครั้งเรามักจะเห็น ลูกค้ามาต่อแถวหน้าร้านเป็นประจำ
แบรนด์เฟรนช์ฟรายส์เจ้านี้ หลายคนคงรู้จัก เพราะคือ Potato Corner
คำถามคือ แล้ว Potato Corner ในไทย รายได้เท่าไร ? คำตอบคือ “414 ล้านบาท”
ทีนี้มาดูเรื่องราวของแบรนด์นี้กัน
ซึ่ง BrandCase จะสรุปให้อ่านกัน แบบเข้าใจง่าย ๆ
Potato Corner เป็นแบรนด์เฟรนช์ฟรายส์ปรุงรสชื่อดัง จากประเทศฟิลิปปินส์ เปิดตัวครั้งแรกในปี 1992 หรือเมื่อ 30 ปีที่แล้ว โดยบริษัทชื่อว่า Cinco Holding Corporation
ช่วงแรกที่เปิดตัวนั้น Potato Corner ก็ได้รับการตอบรับจากลูกค้าอย่างดีมาก
อย่างไรก็ตาม ด้วยความที่การขยายสาขานั้น ต้องใช้เงินทุนเยอะ
จึงทำให้รูปแบบการขยายสาขา ผ่านการขายแฟรนไชส์จึงเกิดขึ้น และนั่นทำให้ Potato Corner มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว จนออกไปเปิดสาขาในต่างประเทศ นอกเหนือจากประเทศฟิลิปปินส์
ปัจจุบัน แฟรนไชส์ของ Potato Corner มีสาขากระจายอยู่ใน 15 ประเทศ รวมทั้งประเทศไทย
สำหรับประเทศไทยนั้น Potato Corner ได้เข้ามาตั้งแต่ปี 2016 ซึ่งผู้บริหารแบรนด์ Potato Corner ในประเทศไทย คือ บริษัท ร็อคส์ พีซี จำกัด
ซึ่ง ร็อคส์ พีซี ก็มี คุณพีช-พชร จิราธิวัฒน์ หนึ่งในทายาทเครือเซ็นทรัล เป็นหนึ่งในคณะกรรมการของบริษัท
โดยปัจจุบัน Potato Corner มีสาขาอยู่ในประเทศไทยราว 79 สาขา ซึ่งส่วนใหญ่ จะตั้งอยู่ในศูนย์การค้าต่าง ๆ
ผลประกอบการของ บริษัท ร็อคส์ พีซี จำกัด
ปี 2562 รายได้ 311 ล้านบาท กำไร 33 ล้านบาท
ปี 2563 รายได้ 415 ล้านบาท กำไร 34 ล้านบาท
ปี 2564 รายได้ 414 ล้านบาท กำไร 1.7 ล้านบาท
ซึ่งต้องหมายเหตุว่า ที่กำไรในปี 2564 ลดลงมาก บริษัทอาจมีรายจ่ายพิเศษ เพราะในงบกำไรขาดทุนที่บริษัทรายงานต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
บริษัทมีต้นทุนขาย กับค่าใช้จ่ายในการขายและบริการ ที่ไม่ได้เพิ่มขึ้นมากอย่างมีนัยสำคัญ
โดยกลยุทธ์ที่ทาง ร็อคส์ พีซี นำมาใช้ จน Potato Corner เติบโตอย่างรวดเร็ว คือ
- ทำการตลาดให้ตรงกับกลุ่มลูกค้า
โดยผู้บริหารของ ร็อคส์ พีซี บอกว่า ที่ผ่านมา จะเน้นทำการตลาดออนไลน์ โดยโฟกัสไปที่กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย อย่างกลุ่มวัยรุ่น เพราะเป็นกลุ่มที่ชอบแชร์ และชอบบอกต่อ ๆ กัน
ทำให้สามารถช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายด้านการตลาดได้มาก
เพราะลูกค้ากลุ่มนี้จะโพสต์ และแชร์โปรโมชัน หรือแคมเปญของแบรนด์ต่อ ๆ ไปในโลกโซเชียลมีเดีย ทำให้แบรนด์ Potato Corner เป็นที่รู้จัก และติดตลาดได้เร็วขึ้น
- เลือกทำเลในการเปิดร้าน
ปัจจุบัน เราจะพบว่า สาขาส่วนใหญ่ของ Potato Corner มักตั้งอยู่ตามศูนย์การค้า ซึ่งเป็นสถานที่ที่คนส่วนใหญ่มักมาเดินเที่ยว จับจ่ายซื้อของ ซึ่งจะช่วยให้ร้านมีโอกาสขายสินค้าได้มากขึ้น
ทางผู้บริหารของ ร็อคส์ พีซี บอกว่า บริษัทจะพิถีพิถันในการเลือกทำเลอย่างมาก แม้ว่าบางครั้งเมื่อไปติดต่อกับศูนย์การค้าเป้าหมายแล้ว ได้รับแจ้งว่ายังไม่มีพื้นที่ว่าง จนต้องรอถึง 3 เดือน
ซึ่งทางบริษัทก็เต็มใจที่จะรอ เพื่อรอให้ได้พื้นที่หรือทำเลที่ดี ดีกว่ารีบไปเปิดสาขา แล้วทำเลไม่ดี ซึ่งจะส่งผลต่อยอดขายของบริษัทในระยะยาว
- ใช้วัตถุดิบพรีเมียม มานำเสนอลูกค้า
หลายคนอาจไม่รู้ว่า เฟรนช์ฟรายส์ที่ Potato Corner นำมาทอดขายนั้น เป็นวัตถุดิบพรีเมียมที่นำเข้ามาจากประเทศเบลเยียม ผ่านการควบคุมอุณหภูมิที่เหมาะสม
เนื่องจากบริษัทต้องการให้ เฟรนช์ฟรายส์ที่ขายนั้น สดและกรอบ เพื่อการันตีคุณภาพ และทำให้ลูกค้ารู้สึกคุ้มค่ากับเงินที่ต้องจ่าย
1
ยังไม่รวมการที่ Potato Corner ได้นำเสนอเฟรนช์ฟรายส์ ที่มีรสชาติแปลกใหม่และหลากหลาย แตกต่างจากเฟรนช์ฟรายส์ในอดีตที่เราเคยทานกันมา
โดยมีถึง 7 รสชาติ และมีรสชาติพิเศษ คือ มะเขือเทศรสเผ็ด, ข้าวโพดหวาน, ทรัฟเฟิล
1
และยังมีเมนูอื่นเพิ่มขึ้นมา นอกจากเฟรนช์ฟรายส์ เช่น ข้อไก่ทอด, ไก่ซุปเปอร์ป๊อป
ทั้งหมดนี้ ก็เลยทำให้ Potato Corner
เติบโตมาจนเป็นที่รู้จัก และสามารถสร้างรายได้ทะลุ 400 ล้านบาท ในไทย ในระยะเวลาเพียงแค่ 6 ปี เท่านั้นเอง..
1
References
-
https://en.wikipedia.org/wiki/Potato_Corner
-
https://www.potatocornerthailand.com/location
-
https://amarinacademy.com/2842/interview-review/potato-corner/
-
https://salehere.co.th/articles/review-potato-corner
1
ร้านอาหาร
เซ็นทรัล
7 บันทึก
29
1
11
7
29
1
11
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย