29 ส.ค. 2022 เวลา 12:47 • ธุรกิจ
ค้าปลีก-ค้าส่งต้องมี จป. แล้ว ... รู้หรือยัง ?
คำถามติดชาร์จทุกวันนี้สำหรับธุรกิจและสถานประกอบการ
สถานประกอบกิจการหรือบริษัทไหนต้องมี จป บ้าง
ศูนย์การค้า ธุรกิจค้าปลีก ธุรกิจค้าส่ง อยู่ในเกณฑ์ที่ต้องมี จป. กับเขาด้วยหรือ ?
กฎกระทรวง การจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน (จป.) 2565
“กฎกระทรวง พ.ศ. 2565กำหนดให้เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงาน หรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัย ในสถานประกอบกิจการ” และได้ออกประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2565 โดยกฎกระทรวงฉบับนี้จะบังคับใช้เมื่อพ้น 60 วันนับจากวันที่ประกาศ ซึ่งจะตรงกับวันที่ 16 สิงหาคม 2565 กฎหมายดังกล่าวได้ออกประกาศ และ ยกเลิก! “กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 “
“นายจ้างของสถานประกอบกิจการตามบัญชี ๑ และบัญชี ๒ ห้างสรรพสินค้า (ศูนย์การค้า) ธุรกิจค้าปลีก หรือธุรกิจค้าส่ง อยู่ในบัญชี ๒) ที่มีลูกจ้างจำนวนสองคนขึ้นไป ต้องจัดให้ลูกจ้างระดับหัวหน้างานซึ่งมีคุณสมบัติครบเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน (จป.) ระดับหัวหน้างานของสถานประกอบกิจการ และ จป. ระดับผู้บริหารซึ่งมีคุณสมบัติครบ เป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการท างานระดับบริหารของสถานประกอบกิจการ ดังตาราง แสดงเปรียบเทียบกฎกระทรวงปี 2549 และกฎกระทรวงปี 2565 ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม 2565
“ จป คือใคร ? มีกี่ประเภท ? แต่ละประเภทมีหน้าที่ต่างกันอย่างไร”
จป คือ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานวิชาชีพ ซึ่งแต่ละส่วนแต่ละฝ่ายนั้นจะต้องมีการแยกสัดส่วนกันอย่างชัดเจน ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้ว จะมีการแบ่งหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ออกเป็น 5 ระดับคือ
1 เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย ระดับบริหาร 2 เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย ซึ่งทั้งสองระดับนี้ เป็นการแต่งตั้งโดยนายจ้างจากตำแหน่งงานในหน้าที่ ซึ่งต้องผ่านการอบรมหลักสูตรตามที่เกณฑ์กำหนดระดับละ 2 วัน
สำหรับระดับหัวหน้างาน 3 เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย ระดับเทคนิค 4 เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย ระดับเทคนิคขั้นสูง 5 เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย ระดับวิชาชีพโดยแต่ละส่วนนั้นจะมีหน้าที่และความรับผิดชอบที่แตกต่างกันไป ซึ่งจะมีการแบ่งไปทางสาขาอาชีพที่ได้ร่ำเรียนและได้เรียนรู้กันมา แต่ละสาขานั้นจะมีการทดสอบและมีการปรับระดับเรียนรู้ของตัวเองอยู่เสมอ ซึ่งระดับ 3 ต้องผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค
ส่วนระดับ 4 ต้องทำงานเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีและผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคขั้นสูงและผ่านการประเมิน
และระดับ 5 ระดับสูงสุด จป.วิชาชีพ สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรีสาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย หรือเทียบเท่าตามที่อธิบดีประกาศกำหนด และเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคขั้นสูงมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีและผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพและผ่านการประเมิน
 
หน้าที่ความรับผิดชอบของ จป.โดยตำแหน่ง มีดังนี้
1. จป.ระดับหัวหน้างาน มีหน้าที่ดังนี้
(1) กำกับดูแลลูกจ้างในหน่วยงานที่รับผิดชอบให้ปฏิบัติตามคู่มือว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบกิจการ (2) วิเคราะห์งานในหน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อค้นหาความเสี่ยงหรืออันตรายเบื้องต้นจากการทำงาน (3) จัดทำคู่มือว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของหน่วยงานที่รับผิดชอบ โดยนายจ้างต้องกำหนดให้มีการทบทวนอย่างน้อยทุก 6 เดือน
(4) สอนวิธีการปฏิบัติงานที่ถูกต้องแก่ลูกจ้างในหน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการทำงาน (5) ตรวจสอบสภาพการทำงานของเครื่องจักร เครื่องมือ และอุปกรณ์ให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัยก่อนลงมือปฏิบัติงานประจำวัน (6) กำกับดูแลการใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลของลูกจ้างในหน่วยงานที่รับผิดชอบ
(7) รายงานการประสบอันตราย การเจ็บป่วย เนื่องจากการทำงานของลูกจ้างต่อนายจ้าง (8) ตรวจสอบหาสาเหตุการประสบอันตรายการเจ็บป่วยอันเนื่องจากการทำงานของลูกจ้างร่วมกับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค ระดับเทคนิคขั้นสูง หรือระดับวิชาชีพ และรายงานผลการตรวจสอบ รวมทั้งเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาต่อนายจ้างเพื่อป้องกันการเกิดเหตุโดยไม่ชักช้า
(9) ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมความปลอดภัยในการทำงาน (10) ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในการทำงานอื่นตามที่นายจ้าง หรือจป.ระดับบริหารมอบหมาย
2. จป.ระดับบริหาร มีหน้าที่ดังนี้
(1) กำกับดูแลจป.ทุกระดับที่อยู่ในบังคับบัญชา (2) เสนอแผนงานหรือโครงการด้านความปลอดภัยในการทำงานในหน่วยงานที่รับผิดชอบต่อนายจ้าง
(3) ส่งเสริม สนับสนุน และติดตามการดำเนินงานเกี่ยบกับความปลอดภัยในการทำงานให้เป็นไปตามแผนงานหรือโครงการ เพื่อให้มีการจัดการความปลอดภัยในการทำงานที่เหมาะสมกับสถานประกอบกิจการ (4) กำกับดูแลและติดตามให้มีการแก้ไขข้อบกพร่องเพื่อความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้างตามที่ได้รับรายงานตามข้อเสนอแนะของจป. คปอ. หรือหน่วยงานความปลอดภัย
ต้นทุนที่ต้องเพิ่มขึ้นจากความปลอดภัย
สำหรับศูนย์การค้า (ห้าวสรรพสินค้า) ธุรกิจค้าปลีก ธุรกิจค้าส่ง ที่มีลูกจ้างจำนวนสองคนขึ้นไป ต้องจัดให้มี จป.ระดับหัวหน้างาน และจป.ระดับบริหารซึ่งมีคุณสมบัติครบเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างานของสถานประกอบกิจการ ซึ่งต้องผ่านการอบรมตามหลักสูตร 2 วัน และให้นายจ้างประกาศแต่งตั้งจากพนักงานในตำแหน่ง
จากข้อมูลสถิติค้าปลีกค้าส่ง ธุรกิจค้าปลีก ธุรกิจค้าส่ง ที่มีลูกจ้างจำนวนสองคนขึ้นไป ประมาณการว่า มีสถานประกอบการมากกว่าสี่แสนแห่งที่ต้องมี จป. หัวหน้างานละ จป.บริหาร และหากมีลูกจ้างจำนวน 20 คนขึ้นไปก็ต้องมี จป. โดยเฉพาะหน้าที่ตามแผนภูมิแสดง ยิ่งมีลูกจ้างจำนวนมากขึ้นขึ้นไป ก็ยิ่งต้องมี จป. โดยเฉพาะหน้าที่ระดับสูงเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จป. วิชาชีพต้องผ่านอบรมหลักสูตรถึง 30 วัน ค่าใช้จ่ายต่อครั้งต่อคนไม่น้อยกว่า 3 หมื่นบาท เบ็ดเสร็จประมาณการค่าใช้จ่ายต่อหนึ่งสถานประกอบ
การที่ต้องมีทั้ง จป. หัวหน้างาน และ จป.บริหารก็คงไม่น้อยกว่า 4-5 หมื่นบาทต่อหนึ่งสถานประกอบการ อีกทั้งพนักงานระดับหน้าร้านที่ได้ผ่านการอบรมและแต่งตั้งเป็นจป. หัวหน้างาน และ จป.บริหาร มีอัตรา การ Turnover ราว 40% ต่อปี ดังนั้น ปีหนึ่งก็ต้องจัดอบรมและแต่งตั้งไม่น้อยกว่า 3 รอบเพื่อชดเชยพนักงานที่ลาออกไป
เมื่อพิจารณาการต้องมี จป.ระดับต่างๆ หากเป็นธุรกิจค้าปลีก ค้าส่งขนาดใหญ่ จ้างงานเกินกว่า 50 คนขึ้นไปและมีสาขามากกว่า 100 สาขา ซึ่งต้องมี จป. ครบทุกระดับ คงต้องมีค่าใช้จ่ายไม่น้อยกว่า 100 ล้านบาทต่อปีขึ้นไปในการจัดอบรมและสรรหา จป. ให้ครบตามเกณฑ์ที่กฎกระทรวงกำหนด ส่วนธุรกิจค้าปลีกขนาดกลางขนาดเล็ก ค่าใช้จ่ายก็คงลดลั่นกันไป ลงไปถึงสถานประกอบที่มีการจ้างงานสองคนขึ้นไป แต่ก็คงไม่หนี 1-10 ล้านบาทต่อปี
อย่างไรก็ตาม ความปลอดภัยไม่ใช่เป็นเพียงความรับผิดชอบดูแลของ จป หัวหน้างาน หรือเป็นหน้าที่ของจป บริหาร บุคคลใดบุคคลหนึ่งเท่านั้น จะต้องเป็นการร่วมมือกันทั้งองค์กรไม่ว่าจะเป็นตั้งแต่ผู้บริหารลงมาถึงแม่บ้านทั้งหมด จะต้องมีความเข้าใจในส่วนต่าง ๆ ให้ได้เป็นอย่างดี การทำงานทุกอย่าง ในลักษณะต่อเนื่องอย่างนี้ถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญสิ่งที่จะพัฒนาองค์กรไปได้พร้อมกัน ซึ่งจำเป็นที่ต้องริเริ่มจาก “จิตสำนึกด้านความปลอดภัย” (Safety Mind) ของทุกคนในองค์กร
โฆษณา