30 ส.ค. 2022 เวลา 02:09 • ถ่ายภาพ
กลุ่มเมฆฝนคิวมูโลนิมบัส (Cumulonimbus)
29/8/2022
☁ ⚡
มวลเมฆหม่นมืดมิดมัวทั่วท้องฟ้า
พายุฝนร่วงหล่นมาน่าใจหาย
ยิ่งลมหวนป่วนปั่นพรั่นกายใจ
ป่านฉะนี้เป็นไฉนฤทัยเรียม
😯
เมฆอาร์คัส" ซึ่งเป็นเมฆประเภทก่อตัวต่ำ เกิดเมื่อมวลอากาศเย็นปะทะมวลอากาศอุ่นชื้น จึงผลักมวลอากาศอุ่นชื้นขึ้นไปด้านบน จากนั้นกระแสลมแรงทำให้เมฆม้วนตัวเป็นทางยาวขนานไปกับพื้นผิวโลก เมฆดังกล่าวถือว่ามีความเสี่ยงจากฟ้าผ่าแฝงอยู่ โดยเฉพาะฟ้าผ่าแบบบวก ซึ่งสามารถผ่าออกมาไกลจากตัวเมฆได้หลายกิโลเมตร อย่างไรก็ตาม บริเวณฐานกลุ่มเมฆจะเป็นลมกด ซึ่งปรากฏการณ์อาร์คัสก็ไม่ได้เกิดขึ้นอย่างง่าย ๆ
29 สิงหาคม 2565 ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล รองคณบดีคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โพสต์ภาพเมฆทะมึนที่เกิดขึ้นเมื่อเช้านี้ เปลี่ยนยามเช้าของกรุงเทพฯ ให้เป็นเหมือนกลางคืน พร้อมชี้ว่านี่คือเมฆโลกร้อน และเป็นการเริ่มยุค Extreme Weather ซึ่งจะไม่หมดไป มีแต่จะแรงขึ้นเรื่อย ๆ แต่จะเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับความร่วมมือของเราทุกคน
ดร.ธรณ์ได้อธิบายว่า
“ภาพเมฆดำทะมึน เปลี่ยนกรุงเทพตอนเช้าให้เป็นเหมือนตอนกลางคืน นั่นคือเมฆโลกร้อน เกิดจากทะเลร้อน น้ำระเหยเยอะ อากาศร้อน จุไอน้ำได้มากขึ้น กลายเป็นเมฆจุน้ำมหาศาล พร้อมจะเททะลักลงมากลายเป็นฝนห่าใหญ่
เคราะห์ดีที่หนนี้ลมพัดผ่านไป ฝนตกไม่มาก แต่ยังมีหนหน้าและหนต่อไป เพราะนี่คือการเริ่มต้นของยุค extreme weather
สภาพภูมิอากาศสุดขั้วเกิดจากความแปรปรวนของโลก หลังจากที่มนุษย์ปล่อยก๊าซเรือนกระจกไปสะสมกันมานาน และยังคงปล่อยต่อไป
กลายเป็นภัยพิบัติที่จะสร้างผลกระทบสาหัส โดยเฉพาะประเทศที่กำลังเปราะบางทางเศรษฐกิจ
ตัวอย่างเห็นชัด ปากีสถาน เจอมหาอุทกภัย จากสภาพอากาศเช่นนี้
ไม่ใช่เพียงฝนตกหนัก 8 สัปดาห์รวด ปริมาณน้ำจากฟ้ามากกว่าค่าเฉลี่ยเป็นเท่าๆ ยังรวมถึงธารน้ำแข็งบนหิมาลัยที่ละลายแบบไม่เคยเกิดมาก่อน
ปากีสถานเป็นประเทศที่มีธารน้ำแข็งมากที่สุดในโลก (ไม่นับแถบขั้วโลก) น้ำจากยอดเขาไหลทะลักมารวมน้ำฝน เกิดเป็นอุทกภัยทำให้ผู้เสียชีวิตนับพัน คน 33 ล้านคนเดือดร้อน แหล่งเกษตรเสียหายยับเยิน
ความเสียหายที่เกิดขึ้นนับว่าเกินความสามารถประเทศที่กำลังอยู่ในสถานการณ์ทางการเงินไม่ดี ไม่สามารถรับมือได้
เมืองไทยเองก็กำลังเกิดน้ำท่วมใหญ่หลายแห่ง น้ำทางเหนือกำลังมา
ในขณะที่ลำธารและน้ำตกใกล้ภูเขา บางแห่งเจอน้ำป่าฉับพลัน ต้องปิดการท่องเที่ยวบางจุด
รวมไปถึงเมฆสีดำทะมึน ฝนตกรุนแรงในพื้นที่เล็กๆ เกิดน้ำท่วมรวดเร็ว
คนเมืองเหนื่อยเหลือเกินกับการไปทำงาน/กลับบ้าน รถติด/น้ำเข้าบ้าน
นั่นคือบางตัวอย่างของ extreme weather ที่เราเจอและจะเจอต่อไป
มันไม่หายไปหรอก แต่มันจะแรงขึ้นไปเรื่อยๆ ก็ขึ้นกับว่าจะแรงขึ้นเร็ว/ช้า ทั้งหมดอยู่ที่เราในวันนี้
ปรากฏการณ์ #หมวกเมฆสีรุ้ง สุดสวยงาม เหนือท้องฟ้าประเทศจีน
.
ภาพที่ปรากฏนี้ถ่ายได้เหนือท้องฟ้ายูนนาน ประเทศจีน โดย Jiaqi Sun ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่เรียกว่า ‘หมวกเมฆสีรุ้ง
(Iridescent Pileus Cloud)
.
ข้อมูลจากสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ เผยว่า ปรากฏการณ์ที่เห็นนี้ เป็นปรากฏการณ์ทางอุตุนิยมวิทยา ที่เกิดขึ้นได้ แม้จะไม่บ่อยนัก เกิดขึ้นจากปรากฏการณ์ที่เรียกว่า "Iridescent Pileus Cloud"
.
หมวกเมฆ (pileus) คือเมฆตัวประกอบ (accessory cloud) ที่เกิดเหนือเมฆก้อน อาจจะลอยอยู่เหนือเมฆก้อนหรือติดกับเมฆก้อนก็ได้ และบางครั้งก็อาจเกิดได้หลายชั้นซ้อนกัน ส่วนปรากฏการณ์สีรุ้งเกิดจากการที่อนุภาคของน้ำในเมฆ (ไม่ว่าหยดน้ำหรือผลึกน้ำแข็ง) ทำให้แสงอาทิตย์เกิดการเลี้ยวเบน (diffraction) หรือการแทรกสอด (interference) แตกออกเป็นสีรุ้ง
.
Pileus Cloud นั้นมาจากภาษาละติน แปลว่า "หมวก" เมฆหมวกเหล่านี้มักจะเกิดขึ้นเมื่อมีอากาศยกตัวขึ้นในแนวดิ่ง เช่น บนยอดเขา หรืออย่างในกรณีนี้ก็เกิดขึ้นจากเมฆ Cumulonimbus ลอยตัวขึ้น เมื่อมีกระแส
อากาศลอยตัวขึ้นในแนวดิ่ง ชั้นอากาศที่มีความชื้นเบื้องบนจึงถูกยกตัวขึ้น และควบแน่นเป็นหยดน้ำ เกิดขึ้นเป็นเมฆที่ดูเหมือนจะ "สวม" อยู่บนเมฆอีกทีหนึ่ง เราสามารถยืนยันได้ว่าเมฆหมวกเหล่านี้อยู่สูงกว่าเมฆเบื้องล่างจากการที่เงาของเมฆเบื้องล่างทอดขึ้นไปบนเมฆหมวกเหล่านี้
.
ส่วนปรากฏการณ์ที่เกิดเป็นสีรุ้งนั้น เรียกว่า "Iridescent Cloud" หรือ "Cloud Iridescence" ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ทางแสงที่เกิดขึ้นในชั้นบรรยากาศ คล้ายกับรุ้งกินน้ำหรือดวงอาทิตย์ทรงกลด แต่ในขณะที่รุ้งกินน้ำนั้นมีรูปแบบสีที่ตายตัวชัดเจน และทำมุมคงที่กับดวงอาทิตย์ เมฆสีรุ้งนี้นั้นซับซ้อนกว่ามาก
.
รุ้งกินน้ำนั้นเกิดขึ้นจากการสะท้อนและหักเหของแสง เมื่อหยดน้ำหรือผลึกน้ำแข็งในอากาศ ทำหน้าที่คล้ายกับปริซึมขนาดเล็กจำนวนมากที่คอยสะท้อนอยู่ สีของแสงที่จะสามารถสังเกตเห็นได้จึงขึ้นอยู่กับดัชนีหักเหของน้ำ รูปทรงเรขาคณิตของหยดน้ำ (ทรงกลม) หรือผลึกน้ำแข็ง และมุมตกกระทบของแสงอาทิตย์กับมุมมองของผู้สังเกต
.
แต่ปรากฏการณ์เมฆสีรุ้งนั้น เกิดขึ้นจากการคุณสมบัติแทรกสอดของแสง โดยจะเกิดขึ้นได้เมื่อหยดน้ำหรือผลึกน้ำแข็งมีขนาดที่เล็กมากๆ มีขนาดที่ค่อนข้างใกล้เคียงกันสม่ำเสมอ และอยู่เป็นแนวบางๆ ไม่หนาจนเกินไป ซึ่งในบางครั้งปรากฏการณ์ที่ทำให้เกิด Pileus Cloud นั้นก็
สร้างสภาพแวดล้อมที่พอเหมาะที่จะเกิดเงื่อนไขเหล่านี้ได้ แสงที่เราเห็นนั้นจึงเกิดขึ้นจากการที่หยดน้ำขนาดจิ๋วเป็นจำนวนมาก มีระยะห่างกันพอดีให้แสงสีใดสีหนึ่งของแสงอาทิตย์เกิดการแทรกสอดกันเสียจนมีเพียงสีเดียวที่สามารถส่องมาทิศทางเราได้ ในขณะที่แสงที่มี
ความยาวคลื่นต่างไปเล็กน้อยจะไปปรากฏที่มุมที่ต่างกันออกไป จึงสร้างภาพปรากฏคล้ายกับสีรุ้ง เช่นเดียวกับที่เห็นบนเปลือกหอยมุก คราบน้ำมันบนผิวน้ำ หรือฟองสบู่
.
ภาพ Jiaqi Sun
.
ในประเทศไทยก็เกิดปรากฏการณ์นี้ให้เห็นบ้างเช่นกัน ดูเพิ่มเติมได้ที่ https://m.facebook.com/NARITpage/photos/a.148308931899396/4617605621636349/?type=3
.
ที่มา
โฆษณา