30 ส.ค. 2022 เวลา 10:50 • ธุรกิจ
สรุปโมเดล ร้านทอง ทำไมรายได้เยอะ แต่กำไรบาง
1
รู้ไหมว่า บริษัทค้าทองรายใหญ่ของไทยนั้น
มีรายได้กันปีละ หลักแสนล้านบาท
แต่กลับมีกำไรสุทธิ หลักสิบล้านบาท
2
แล้วโมเดลของร้านทอง เป็นอย่างไร ? ทำไมรายได้เยอะ แต่กำไรบาง
BrandCase จะสรุปให้ฟัง แบบเข้าใจง่าย ๆ
1
ลองมาดู ผลประกอบการ ของบริษัทค้าทองรายใหญ่ของไทย ปี 2564
2
- บริษัท ฮั่วเซ่งเฮง คอมโมดิทัซ จำกัด
ปี 2564 รายได้ 737,393 ล้านบาท ต้นทุนขาย 737,173 ล้านบาท กำไร 79 ล้านบาท
5
- บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด (ห้างทองแม่ทองสุก)
ปี 2564 รายได้ 439,665 ล้านบาท ต้นทุนขาย 439,175 ล้านบาท กำไร 21 ล้านบาท
1
- บริษัท วาย แอลจี บูลเลี่ยน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด
ปี 2564 รายได้ 455,035 ล้านบาท ต้นทุนขาย 454,679 ล้านบาท กำไร 67 ล้านบาท
1
จะเห็นว่า แม้ธุรกิจค้าทองจะมีรายได้สูง แต่อัตรากำไรนั้นต่ำมาก
เนื่องจากธุรกิจค้าทองนั้น เป็นธุรกิจที่มีต้นทุนขายที่สูงตามไปด้วย โดยจะเห็นว่า ทุกบริษัทที่ว่ามานี้ มีต้นทุนขายราว 99% ของรายได้รวม
2
ที่เป็นแบบนี้ ก็เพราะว่า
ธุรกิจค้าทองทำรายได้มาจากส่วนต่างราคาทอง พูดง่าย ๆ ก็คือ “ซื้อมา-ขายไป”
1
เช่น รับซื้อทองจากนาย A มา หลังจากนั้นก็นำไปขายให้กับลูกนาย B โดยมีส่วนต่างของราคารับซื้อและราคาขาย
1
โมเดลธุรกิจแบบนี้ จะคล้าย ๆ กับธุรกิจรับแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ หรือธุรกิจซื้อขายหลักทรัพย์
ที่เป็นการจับคู่ระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย โดยมีรายได้จากส่วนต่างของราคาซื้อขาย หรือค่าคอมมิชชัน
1
ส่วนต่างของการซื้อขายทองคำนั้น เราเรียกกว่า “ค่ากำเหน็จ”
ซึ่งเป็นค่าแปรรูป และผลิตทองรูปพรรณ
โดยค่ากำเหน็จนี้ อาจมีความแตกต่าง ขึ้นอยู่กับลวดลาย และความยากง่ายในการผลิต
3
ส่วนการซื้อขายทองคำแท่ง ทางร้านทองก็จะคิดค่าบล็อก ซึ่งถือเป็นค่าใช้จ่ายในการหลอมทองคำให้ออกมาเป็นแท่ง
1
คำถามต่อมาคือ แล้วรายจ่ายของธุรกิจค้าทองคำที่มากนั้น ส่วนสำคัญประกอบไปด้วยอะไรบ้าง ?
1
- ค่าใช้จ่ายในการซื้อทองคำ
1
ซึ่งมีทั้งค่าซื้อทองรูปพรรณใหม่ ค่าซื้อทองรูปพรรณเก่าที่ลูกค้านำทองมาขายที่ร้านทอง และค่าซื้อทองคำแท่ง
โดยในส่วนของทองคำแท่งนั้น นอกจากปัจจัยเรื่อง การเปลี่ยนแปลงของราคาทองในตลาดโลก
ก็ยังมีค่าใช้จ่ายสำคัญอย่างอื่น เช่น ค่าประกันภัยในการนำเข้า-ส่งออก ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน
4
ซึ่งหากร้านทองไม่ได้เป็นคนนำเข้าด้วยตัวเอง ราคาต้นทุนของทองคำ ก็จะสะท้อนไปอยู่ในราคาที่รับซื้อมาอีกที
- เงินเดือนพนักงาน
ต้นทุนพนักงานถือเป็นต้นทุนคงที่อีกตัว ที่ร้านค้าทองต้องแบกรับ
ไม่ว่าจะมีลูกค้าเข้าร้านมาก หรือน้อยแค่ไหน รวมไปถึงค่าจ้างช่างทำทอง ซึ่งขึ้นอยู่กับความยากง่ายในการทำ ลวดลายทอง และความต้องการซื้อ ณ เวลานั้น ๆ
4
แต่บางร้านก็อาจเลือกจ้างช่างทำทองเป็นงาน ๆ ไป แล้วจ่ายค่าส่วนแบ่งให้ เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายที่เป็นเงินเดือน
- ดอกเบี้ยจ่าย
ร้านทองหลายแห่ง อาจมีการกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินต่าง ๆ มาเป็นทุนหมุนเวียนในกิจการ ซึ่งช่วงอัตราดอกเบี้ยเป็นขาขึ้น ร้านค้าทองต่าง ๆ ก็ต้องแบกรับภาระดอกเบี้ยจ่ายที่มากขึ้นตามไปด้วย
- ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ
ร้านค้าทองหลายแห่ง โดยเฉพาะธุรกิจค้าทองคำขนาดใหญ่ มีการเช่าสถานที่ตามศูนย์การค้า หรือตามแหล่งชุมชน ทำให้มีภาระค่าเช่าสถานที่ รวมไปถึงค่าขนส่งทองคำไปตามสาขาต่าง ๆ
1
นอกจากนี้ ร้านค้าทองมักจะมีการทำประกันภัยร้านทอง เพื่อเป็นหลักประกันของความปลอดภัยของธุรกิจ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็ถือเป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่น้อยเช่นกัน
2
นอกจากนั้น ร้านทองยังมีความเสี่ยงอื่น ที่ต้องแบกรับไม่น้อยเหมือนกัน
เช่น ลองนึกภาพง่าย ๆ เวลาที่ราคาทองขึ้น คนส่วนใหญ่มักจะแห่นำทองออกมาขาย และไม่มีคนมาซื้อ
พอเป็นแบบนี้ ร้านทองหลายที่ ก็ยังต้องเจอปัญหาขาดสภาพคล่อง จนหลายร้านต้องประกาศปิดชั่วคราวในหลาย ๆ ครั้ง
ซึ่งถ้าเป็นแบบนี้ ก็อาจทำให้ลูกค้าขาดความเชื่อมั่นในตัวร้านได้
2
และทั้งหมดนี้ก็คือ สรุปเหตุผลที่ร้านทอง รายได้เยอะ แต่อัตรากำไรต่ำ นั่นเอง..
โฆษณา