2 ก.ย. 2022 เวลา 03:50 • ธุรกิจ
ทำไม makro ขายสินค้าตัวเอง โดยใช้ชื่อแบรนด์ต่างกัน
4
ถ้าเราลองไปเดินในห้างสรรพสินค้า makro จะเห็นว่าสินค้าบางตัวเป็นของ makro เอง
เช่น ขนมปังหรือเบเกอรี ตรา aro, ทิชชู ตรา Savepak วางขายอยู่บนชั้นวางของ
6
แล้วเราเคยสงสัยไหมว่า ทำไม makro
ต้องขายสินค้าตัวเอง ในแบรนด์ที่แตกต่างกัน ?
BrandCase สรุปให้ฟัง แบบเข้าใจง่าย ๆ
2
ที่มาของเรื่องนี้มาจากการที่ makro มีการขายของอยู่ 3 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่
1
- อาหารสด เช่น ผัก ผลไม้ เนื้อหมู เนื้อไก่
- อาหารแห้ง เช่น ขนม อาหารกระป๋อง
- ของใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า เตาย่างหมูกระทะ
1
แต่การขายของหลัก ๆ เหล่านี้ เกิดจากการนำสินค้าจากบริษัทอื่น ๆ เข้ามาขาย
ซึ่งหาก makro ต้องการขายสินค้าในแบบเดียวกัน จะทำอย่างไรถึงจะสามารถเจาะกลุ่มลูกค้าได้อย่างตรงจุด
นี่จึงเป็นที่มาของการขายสินค้าตัวเอง แต่ใช้ชื่อแบรนด์ต่างกัน เพราะต้องการเจาะกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่แตกต่างกันนั่นเอง โดยตัวอย่างเช่น
2
- aro เน้นกลุ่มลูกค้าผู้ประกอบการขนาดใหญ่
- Savepak เน้นกลุ่มลูกค้าที่เพิ่งใช้สินค้าของ makro
- M&K เน้นลูกค้ากลุ่มร้านค้าปลีก
- Q-BIZ เน้นลูกค้ากลุ่มสำนักงาน
16
ซึ่งกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกัน ทำให้รูปแบบของสินค้ามีความแตกต่างกันด้วย เช่น
1
- aro เป็นสินค้าวัตถุดิบสำหรับทำอาหาร
- Savepak เป็นสินค้าชูจุดเด่นคุ้มราคา เพื่อดึงดูดให้กลุ่มเป้าหมายใหม่ ๆ เข้ามาซื้อ
- M&K เป็นสินค้าขนม ต้นทุนไม่สูง เหมาะกับร้านค้าขนาดย่อย
7
นอกจากนี้ ยังมีแบรนด์ที่เจาะกลุ่มลูกค้าตามพฤติกรรมความชอบส่วนตัว เช่น กลุ่มคนเลี้ยงสัตว์
โดยใช้ชื่อแบรนด์อาหารเลี้ยงสัตว์ว่า Petz Friend ซึ่งชูจุดเด่น คุณภาพสูงในราคาที่ประหยัด
3
แต่การเลือกกลุ่มเป้าหมายที่เจาะจง ก็ตามมาด้วยการควบคุมกระบวนการผลิต ตั้งแต่ตอนต้นของสินค้าแต่ละชนิด ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบ และส่วนประกอบของสินค้า ที่ต้องตรงตามความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย
3
และอีกเรื่องหนึ่ง ที่ทำให้กลยุทธ์การขายสินค้าตัวเอง แต่ใช้ชื่อแบรนด์ต่างกันสามารถทำได้
นั่นคือ การวางจุดเด่นของสินค้าที่ทำให้คนนึกถึง
ซึ่ง makro เลือกที่จะใช้จุดเด่นด้านราคาถูก แต่สินค้ามีคุณภาพ ให้กลายเป็นภาพจำ ให้ลูกค้ากลุ่มต่าง ๆ มาใช้บริการ
3
แม้การใช้ชื่อแบรนด์ต่างกัน และเป็นสินค้าของตัวเองทั้งหมด จะทำให้ makro สามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่หลากหลาย
4
แต่ก็อาจมีจุดอ่อนว่า ลูกค้าอาจไม่เห็นความแตกต่างกันของสินค้า และทำให้การแบ่งกลุ่มลูกค้าตามแบรนด์ไม่ชัดเจนได้เช่นกัน
1
แต่ไม่ว่าอย่างไร กลยุทธ์การแบ่งสินค้าตัวเอง ด้วยการใช้แบรนด์ต่างกัน ก็ทำให้ลูกค้ามีทางเลือกที่หลากหลายมากขึ้น
1
และสามารถเลือกซื้อได้ตามความต้องการของตัวเอง
โดยที่ลูกค้าเองก็อาจจะไม่รู้มาก่อนเลยว่า ทั้งหมดนี้คือแบรนด์ ภายใต้เจ้าของเดียวกัน..
7
โฆษณา