2 ก.ย. 2022 เวลา 08:41 • การตลาด
𝟯 วิธีการหา 𝗙𝗶𝗿𝘀𝘁-𝗽𝗮𝗿𝘁𝘆 𝗱𝗮𝘁𝗮 สำหรับการตลาด
สำหรับบางสินค้าในบางอุตสาหกรรม การขายผ่านตัวแทนจำหน่าย ผ่านซูเปอร์มาร์เก็ต และห้างฯ เป็นไปได้มากที่เจ้าของแบรนด์จะไม่สามารถเก็บ First party data ได้ โดยเฉพาะถ้าเป็นสินค้าชิ้นเล็ก มีราคาไม่สูง แม้จะเป็นสินค้าที่ต้องซื้อซ้ำบ่อยๆ ก็ตาม หากไม่มีกลยุทธ์ CRM ต่างๆ ช่วย หรือทำกิจกรรมส่งเสริมการขายบางอย่างร่วมกับคนกลางตัวแทนจำหน่าย ก็จะเป็นเรื่องยากมากๆ ที่เจ้าของแบรนด์จะเก็บ first party data เหล่านั้นได้เอง
บทความนี้จึงมี 3 วิธีการที่จะแนะนำเพื่อเป็นแนวทางให้แบรนด์ทื่มีข้อจำกัดดังกล่าว สามารถเก็บข้อมูล first-party data ได้
Photo Credit: Egor Myznik @vonshnauzer
🌧1. จัดกิจกรรมชิงโชค
เรียกได้ว่าน่าจะเป็นท่ามาตรฐานเลยทีเดียวสำหรับแบรนด์ที่ขายของผ่านตัวกลาง หากต้องการรู้จักและมีข้อมูลลูกค้าเอง การจัดพวกกิจกรรมชิงโชคก็เป็นหนึ่งแทคติกที่ใช้ได้ผลเสมอ โดยเฉพาะยุคนี้ทำง่ายมากยิ่งขึ้นผ่านสื่อดิจิตอลได้เลย ลูกค้าซื้อสินค้า ถ่ายรูปใบเสร็จหรือรูปสินค้า ลงทะเบียนเข้ามาผ่าน mobile site ใส่ชื่อ ข้อมูลติดต่อ แล้วรอลุ้นรับของรางวัล อย่างไรก็ดี หากจะทำวิธีนี้ ต้องอย่าลืมขออนุญาติเจ้าพนักงาน กรมการปกครอง ให้เรียบร้อย ใส่รายละเอียดครบถ้วนรัดกุม ไม่โดนผู้บริโภคเอาไปฟ้อง สคบ. ได้
🌧2. ลงทะเบียนรับสินค้าทดลอง
อีกหนึ่งวิธีที่ใช้ได้ผลเสมอเช่นกัน การลงทะเบียนเพื่อแลกรับสินค้าทดลอง ซึ่งโดยปกติแล้ว จะให้ลงทะเบียนบนเว็บไซต์หรือบางแบรนด์นำ chatbot มาใช้ก็มี เมื่อทางแบรนด์ได้รับข้อมูลแล้วก็จะส่งสินค้าไปให้ตามที่อยู่ที่ลูกค้าแจ้งไว้ ทางแบรนด์ได้ first-party data เอามาทำการตลาดต่อ ฝั่งผู้บริโภคก็ได้รับของฟรีไปใช้แลกกับการให้ข้อมูล
จากประสบการณ์ ข้อมูลคนที่ลงทะเบียนรับสินค้าทดลองนี้ ได้ผลมากในการนำมาทำ conversion campaign อย่างเช่นการนำไป optimize สำหรับ double day sale (9.9 11.11) บน e-marketplace อย่าง Shopee และ Lazada ไม่ว่าจะผ่าน Facebook, email marketing, SMS หรือ​ Line
อย่างไรก็ดี วิธีนี้มีข้อระวังอยู่นิดหน่อย เพราะเราอาจจะเจอคนที่ตั้งใจมาเอาเปรียบ เช่น การลงทะเบียนซ้ำๆ หลายๆ รอบ โดยเปลี่ยน email และเบอร์มือถือ วิธีแก้คือ เขียนโค้ดในการเช็คที่อยู่ หากพบว่ามีการลงทะเบียนด้วยที่อยู่ที่ซ้ำกันแล้ว ให้ระบบแจ้งว่าไม่สามารถลงทะเบียนซ้ำได้ เพราะการหาที่อยู่ปลอมมาลงทะเบียนย่อมทำยากกว่าการป้องกันด้วยเบอร์โทรและ email ที่สามารถจัดหามาได้ง่าย
🌧3. จัดเก็บข้อมูล ณ จุดขาย
วิธีนี้ค่อนข้างต้องใช้พลังมนุษย์เยอะและมีความ manual สูงหน่อยแต่หากเรามีการนำ technology มาช่วยในหน้างาน ก็จะสามารถลดความผิดพลาดได้ดีมากยิ่งขึ้น เพียงแต่ต้องมีการเทรนและให้รางวัลตอบแทนกับผู้ที่อยู่หน้างานเพื่อเป็นแรงจูงใจในการช่วยเก็บข้อมูลลูกค้าให้กับแบรนด์เรา ยกตัวอย่างเช่น เราจัดทำ mobile site ให้ยี่ปั๊วซาปั๊วตัวแทนจำหน่าย สามารถเข้าผ่านมือถือหรือ tablet เพื่อเก็บข้อมูลที่ต้องการจากลูกค้าที่มาซื้อของที่หน้าร้านได้ทันทีจากการถามแบบตัวต่อตัว
เมื่อตัวแทนจำหน่ายเหล่านั้น เก็บข้อมูลได้ตามเป้า ก็อาจจะได้รับของรางวัลหรือส่วนลดพิเศษเพิ่มเติมได้ หรือ ณ ร้านค้าจุดจำหน่ายต่างๆ มีพนักงานหน้าร้านช่วยเชียร์ให้ลูกค้าสแกน QR code เพื่อเข้า mobile site ลงทะเบียนเพื่อลุ้นรับของรางวัลหรือของแจกเล็กๆน้อยๆ ที่สามารถรับได้ ณ จุดขายเลย ก็เป็นอีกวิธีที่จะเชิญชวนโน้มน้าวให้คนอยากใส่ข้อมูลให้ได้
ข้อมูล first-party data เหล่านี้ นอกจากการนำไปต่อยอด retargeting สำหรับ conversion campaign ต่อ ก็ยังสามารถนำข้อมูลนี้ไปขยายกลุ่มเป้าหมายอย่างการทำ lookalike audience ที่มีคุณภาพได้อีกด้วย เพราะสารตั้งต้นนั้นชัดและเป็นกลุ่มที่เป็นลูกค้าจริงหรือสนใจขื่นชอบสินค้าของเราจริงๆ เมื่อนำไปต่อยอดหา lookalike ต่อ ย่อมได้ผลดีกว่าการนำข้อมูลบางๆ จากแหล่งอื่นได้ดีกว่าแน่นอน
อย่างไรก็ดี ฝากปิดท้ายว่า ทุกครั้งที่จะจัด campaign เก็บ first-party data เหล่านี้ อย่าลืมที่จะขอ consent อย่างถูกต้องด้วย
🔊 podcast: DMN367 https://apple.co/3RkMFjZ
Photo Credit: Egor Myznik @vonshnauzer
DIGITAL MARKETING NOW
If not now, then when?
#digitalmarketingnow #podcast #digitalmarketing #ifnotnowthenwhen #การตลาดออนไลน์ #marketingclass #digitalmarketingclass #คลาสเรียนการตลาดออนไลน์ #instagram
โฆษณา