4 ก.ย. 2022 เวลา 02:50 • หุ้น & เศรษฐกิจ
รู้จัก “วายุภักษ์” กองทุนแสนล้าน ของรัฐบาลไทย
3
ถ้าเราดูรายชื่อผู้ถือหุ้นของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์จะพบว่า กระทรวงการคลัง เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในบริษัทหลายแห่ง เช่น ปตท. และท่าอากาศยานไทย
แต่หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่า รัฐบาลมีกองทุนเป็นของตัวเอง
ซึ่งก็มีการลงทุนในหุ้นไทยอีกหลายบริษัท รวมมูลค่าหลายแสนล้านบาท
ในนามของ “กองทุนวายุภักษ์”
2
วันนี้ เรามาดูกันว่ากองทุนวายุภักษ์ คืออะไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
1
กองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง หรือที่มักเรียกกันว่า กองทุนวายุภักษ์
ก่อตั้งขึ้นในปี 2546 ตามข้อเสนอของกระทรวงการคลัง
ในสมัยทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ด้วยเงินทุนเริ่มต้น 5 แสนล้านบาท
2
กองทุนดังกล่าวจะถูกบริหารจัดการโดยบลจ.กรุงไทย และบลจ.เอ็มเอฟซี
แบ่งสัดส่วนการจัดการ บลจ.ละ 50%
5
สำหรับวัตถุประสงค์ของการตั้งกองทุนก็เพื่อเพิ่มความคล่องตัว
ในการบริหารจัดการทรัพย์สินของรัฐบาลแทนกระทรวงการคลัง
โดยที่จะช่วยลดการใช้งบประมาณแผ่นดินลง
3
อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มทางเลือกในการลงทุนให้กับประชาชนและนักลงทุนสถาบัน
ในช่วงที่ภาวะดอกเบี้ยกำลังตกต่ำลง
2
กองทุนวายุภักษ์ มีลักษณะเป็นกองทุนผสม แบบไม่กำหนดสัดส่วนการลงทุน
2
โดยมีการลงทุนทั้ง เงินฝาก ตราสารหนี้ หุ้น สินทรัพย์ทางเลือก และสินทรัพย์อื่นทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ทั้งยังสามารถลงทุนในกองทุนรวมอื่น ๆ ได้อีกด้วย เรียกได้ว่าเป็นกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนยืดหยุ่นสูง
1
ในช่วงแรก กองทุนวายุภักษ์ มีสถานะเป็นกองทุนปิด
โดยมีการกำหนดอายุกองทุนเป็นระยะเวลา 10 ปี
และเปิดขายหน่วยลงทุนให้ทั้งนักลงทุนรายย่อย นักลงทุนสถาบัน รวมถึงนักลงทุนภาครัฐ
เช่น กระทรวงการคลัง รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐ
กองทุนวายุภักษ์ ได้เข้าลงทุนในบริษัทไทย และเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในหลายบริษัท โดยเฉพาะรัฐวิสาหกิจ
จากรายงานกองทุนประจำปี 2556 ซึ่งเป็นปีที่กองทุนมีอายุครบ 10 ปี
กองทุนวายุภักษ์สามารถทำผลตอบแทนเฉลี่ย ได้ถึง 14.96% ต่อปี
2
ภายหลังครบอายุ ได้มีการปิดกองทุนและทำการคืนเงินให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนทั้งหมด
โดยหลังจากนั้นได้มีการประกาศ แปรสภาพกองทุน มาเป็นกองทุนเปิด และเปิดขายหน่วยลงทุนอีกครั้ง
แต่ในครั้งนี้กองทุนเปิดขายให้เฉพาะกระทรวงการคลัง และนักลงทุนที่เป็นหน่วยงานภาครัฐเท่านั้น
และยังไม่มีการขายหน่วยลงทุนให้แก่นักลงทุนทั่วไปมาจนถึงทุกวันนี้
1
ส่งผลให้รัฐบาลกลายเป็นผู้ถือหน่วยลงทุนรายใหญ่เพียงรายเดียวของกองทุนผ่านกระทรวงการคลัง
คล้ายกับ Temasek Holdings ของรัฐบาลสิงคโปร์
4
กองทุนวายุภักษ์ได้ถูกพูดถึงอีกครั้งในปี 2563 เมื่อกองทุนได้เข้าซื้อหุ้น
ของ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) จำนวน 3.17% จากกระทรวงการคลัง
ทำให้กระทรวงการคลัง ซึ่งเดิมถือหุ้นในการบินไทยอยู่ 51.03% มีสัดส่วนลดลงเหลือเพียง 47.86%
และส่งผลให้การบินไทย หลุดพ้นจากความเป็นรัฐวิสาหกิจทันที
1
ในขณะที่กองทุนวายุภักษ์ ซึ่งเดิมถือหุ้นในการบินไทยอยู่ 15.12% มีสัดส่วนเพิ่มเป็น 18.29%
3
โดยหนึ่งในเหตุผลของดีลนี้คือ เพื่อให้สามารถฟื้นฟูการบินไทย ซึ่งอยู่ในภาวะใกล้ล้มละลายให้ดำเนินไปได้อย่างสะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ เมื่อมองบทบาทของกองทุนวายุภักษ์ เราจะเห็นได้ว่ารัฐบาลได้ทำให้การบินไทย หลุดจากความเป็นรัฐวิสาหกิจได้ แต่รัฐบาลเองก็ยังคงเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุดของการบินไทย มีสัดส่วนเกินกว่า 50%
เพียงแต่เปลี่ยนมือ จากการถือผ่านกระทรวงการคลัง มาเป็นถือผ่านกองทุนวายุภักษ์แทน เท่านั้น
5
กองทุนวายุภักษ์ จึงถูกมองว่าเป็นอีกเครื่องมือหนึ่งของรัฐบาล ที่ใช้ในการบริหารสินทรัพย์ของตัวเองและเงินในคลัง
โดยที่ไม่จำเป็นต้องดำเนินการผ่านกระทรวงการคลัง ซึ่งอาจใช้ระยะเวลานานกว่า และมีขั้นตอนที่มากกว่า
2
ปัจจุบัน หากเรามาดูสินทรัพย์ที่กองทุนถือ 5 อันดับแรกของพอร์ต
3
หุ้นสามัญ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT
หุ้นสามัญ บริษัท เอสซีบี เอกซ์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB
หุ้นสามัญ ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) หรือ TTB
หุ้นสามัญ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTB
หุ้นสามัญ บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ BCP
4
นอกจากนี้ ก็ยังถือหุ้นไทย เช่น ADVANC, AMATA, AOT, ESSO, IVL, KWC, SCCC, RATCH, SCGP และ THAI
4
เรียกได้ว่าแม้รัฐบาลจะไม่ได้เข้าไปถือหุ้นเหล่านี้โดยตรงผ่านกระทรวงการคลัง แต่ก็มีสถานะความเป็นเจ้าของทางอ้อม ผ่านกองทุนที่ชื่อว่า วายุภักษ์ นั่นเอง..
2
หนังสือ BRANDING THE NATION หนังสือที่เล่าถึงการสร้างแบรนด์ของแต่ละประเทศที่ทำให้ แต่ละประเทศเป็นแบบทุกวันนี้
เช่น ทำไมเยอรมนีเป็นประเทศแห่งรถยนต์ ทำไมฝรั่งเศสเป็นประเทศแห่งแบรนด์หรู สั่งซื้อเลยที่
โฆษณา