5 ก.ย. 2022 เวลา 10:07 • ความคิดเห็น
ตามพระวินัยบวชได้ครับ แต่เหมือนว่าตาม กม. ทางโลกจะไม่ให้และพระวินัยที่มาบัญญัติกันขึ้นเองในภายหลังจะห้ามไว้
การบวชภิกษุณีในวันนี้เท่าที่เคยสดับมา... ก็ไม่ได้บวชตามพระวินัยที่พระศาสดาบัญญัติ ที่เห็นได้ชัดคือ ยังไม่เคยสดับมาว่าที่ใดในโลกที่มีการบวชภิกษุณีใช้ "ครุธรรม 8" อันเป็น "ก้าวแรก" ที่สตรีต้องยอมรับก่อนจะทำการบวชตามพระวินัย (มีประเด็นสำคัญอีก 4-5 ข้อที่ไม่เคยสดับว่ามีการใช้กันในที่ใดเช่นกัน อาทิ ต้องบวชในสงฆ์ทั้ง 2 ฝ่าย (ภิกษุ-ภิกษุณี), ต้องอยู่ในเขตอาวาสเดียวกัน ฯลฯ) และเป็นข้อสำคัญที่สุดคือ "ห้ามละเมิดตลอดชีวิต" ขาดข้อใดข้อหนึ่งถือว่าขาดจากการเป็นสมณะทันที
(ลองหาพระสูตรเรื่องพระนางมหาปชาบดีมาทูลขอบวชแล้วทรงห้ามถึง 3 ครั้ง ต่อมาอานนท์ภิกขุไปทูลขอก็ทรงห้ามอีก จนอานนท์ภิกขุต้องใช้ปัญญาตั้งคำถามทูลถามพระองค์ สุดท้ายจึงทรงบัญญัติ "ครุธรรม 8 ประการ" นี้ แล้วทรงตรัสสรุปได้ว่า การที่สตรีจะเข้ามาบวชนั้นเปรียบเหมือนเขื่อน, ทำนบกั้นน้ำเกิดการแตก, รั่วไหล ข้อธรรมที่ทรงบัญญัตินี้ "จักเป็นเหมือนการซ่อมอุดรอยรั่วของเขื่อนหรือทำนบนั้นให้คงอยู่ต่อไปได้")
ซึ่งถ้าจะบวชแล้วไม่มีที่ใดใช้พระวินัยที่ทรงบัญญัติดังกล่าวข้างต้น ก็คงจะบวชไม่ได้อยู่แล้ว หรือถ้าจะไปบวชแบบที่เห็นในข่าวบ่อยๆคือไปบวชที่ ตปท. อาจจะบวชได้ แต่ก็ไม่ได้ทำตามขั้นตอนที่ทรงบัญญัติอยู่ดี ซึ่งก็ไม่เป็นไปตามพุทธประสงค์ หรือจะกล่าวว่าไม่ได้เป็นภิกษุณีในแบบพุทธบัญญัติก็คงจะได้เช่นกัน
จุดประสงค์การบวชนั้น ที่ทรงตรัสสรุปโดยรวมได้คือเพื่อ "ว่างเว้น" จากกิจการใดๆทางโลก เพื่อจะได้มีเวลาศึกษาและเพียรภาวนาตามธรรมนั้นได้อย่างเต็มกำลัง เพื่อบรรลุถึงสิ่งที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าไม่ได้บวชแล้วจะบรรลุใดๆไม่ได้
แม้แต่ภิกษุที่ต้องปาราชิก นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าปิดประตูนิพพาน หากยังเพียรศึกษาและเพียรปฏิบัติตามธรรมสมควรแก่ธรรมนั้น ก็ย่อมสำเร็จได้ในวันใดวันหนึ่งข้างหน้าต่อไปเช่นกันครับ
1
โฆษณา