6 ก.ย. 2022 เวลา 00:41 • หุ้น & เศรษฐกิจ
เงินเดือนท่าไหร่ เสียภาษีเท่าไหร่ ??
มนุษย์เงินเดือน รายได้ที่ได้รับมาจากเงินเดือนที่ในแต่ละเดือนนั้นจะเป็นรายได้ 40(1) เป็นรายได้ที่หักค่าใช้จ่ายได้น้อย จึงเสียภาษีแบบเต็มๆ ซึ่งภาษีถือเป็นค่าใช้จ่ายที่เราต้องเสียไปพอสมควร มาดูตัวอย่างกันว่า เงินเดือนท่าไหร่ เสียภาษีเท่าไหร่
มนุษย์เงินเดือนนั้น รายได้จะเป็น 40(1) ซึ่งหักเหมาได้เท่านั้น หักได้ 50% เงินได้ แต่ไม่เกิน 100,000 บ. (ข้อจำกัดตรงเพดานการหักค่าใช้จ่ายตรงนี้ เป็นเรื่องสำคัญที่ทำให้มนุษย์เงินเดือนเสียภาษีเต็มๆ)
พอเราหักค่าใช้จ่ายแล้ว ก็จะนำมาหักค่าลดหย่อนต่างๆ เช่น ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บ. (ค่าลดหย่อนส่วนตัวตรงนี้ ทุกคนจะได้รับ เวลาเรายื่นภาษีออนไลน์ ระบบจะคำนวณให้อัตโนมัติ), PVD, ประกันชีวิต, SSF, RMF เป็นต้น
ซึ่งก็จะเป็นแบบนี้ รายได้ - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน = เงินได้สุทธิ
ตรง “เงินได้สุทธิ” นี้เองที่เราจะนำเข้ามาคำนวณอัตราภาษี ซึ่งอัตราภาษีของเมืองไทย จะใช้เป็นแบบขั้นบันได ตามรูปนะ ในรูปตารางอัตราภาษี จะมีเขียนอัตราภาษีในแต่ละขั้น และภาษีที่ต้องเสียถ้าเรามีช่วงเงินได้สุทธิเต็มขั้นในช่วงนั้น
การคำนวณอัตราภาษีนี้ เราต้องดูว่าเงินได้แต่ละฐานของเรา เป็นบันไดแต่ละขั้นที่ต้องก้าวไปจากขั้นแรก และบวกสะสมแต่ละขั้นกันไปเรื่อยๆ แบบนี้...
ตัวอย่าง
มนุษย์เงินเดือนคนหนึ่งโสด พ่อแม่ยังมีเงินได้จึงไม่สามารถนำของค่าเลี้ยงดูพ่อแม่มาลดหย่อนได้ มีเงินเดือน 50,000 บ. ต่อเดือน
มีค่าลดหย่อนเพิ่มแค่เรื่องของประกันสังคม ซึ่งปี 65 นี้รัฐมีการปรับลดเงินที่หักเข้าประกันสังคม ซึ่งปกติประกันสังคมจะหักได้ 9,000 บ.ต่อปี ของปี 65 สูงสุดก็จะเป็นแค่ 7,200 บ. ลองดูกันว่า จะเสียภาษีเท่าไหร่
เงินได้ทั้งปี 50,000 บ. X 12 เดือน = 600,000 บ. ต่อปี เป็นรายได้ 40(1)
หักค่าใช้จ่ายได้ 50% ของรายได้ แต่ไม่เกิน 100,000 บ. ดังนั้นจะหักค่าใช้จ่ายได้สูงสุด ตรงนี้ แค่ 100,000 บ.
ค่าลดหย่อน
ค่าลดหย่อนส่วนตัว รัฐกำหนดให้ลดหย่อนได้ 60,000 บ.
ประกันสังคม 7,200 บ.
เงินได้สุทธิที่ต้องนำไปคำนวณอัตราภาษี คือ
600,000 – 100,000 – 60,000 -7,200 บ. = 432,800 บ.
มาดูกันที่อัตราภาษีแบบขั้นบันไดกัน ที่ต้องเริ่มกันที่ตั้งแต่ก้าวแรก หรือขั้นแรก แล้วบวกขึ้นไปเรื่อยๆ
เริ่มกันที่ขั้นที่ 1 จากตาราง เงินได้ในขั้นแรก 150,000 บ. แรก ไม่เสียภาษี เพราะฉะนั้น 150,000 บ. แรกของเรา ขั้นนี้ ภาษีที่ต้องเสีย คือ 0
มาขั้นที่ 2 เงินได้ที่มากกว่า 150,000 จนถึง 300,000 บ. เสีย 5% ซึ่งช่วงนี้ ก็คือเงินได้ของเราในช่วงนี้ทั้งหมด คือ 150,000 บ. ก็ต้องถูกนำมาคิดภาษี ในอัรา 5% ขั้นที่ 2 นี้ เราจะเสียภาษี = 150,000 X 5% = 7,500 บ. (เสียเต็มขั้นในขั้นนี้)
มาขั้นที่ 3 เงินได้ที่เกิน 300,000 บ. ถึง 500,000 บ. เสีย 10% ซึ่งช่วงนี้ ก็คือเงินได้ของเราในช่วงนี้ทั้งหมด คือ 132,800 บ. ก็ต้องถูกนำมาคิดภาษี ในอัตรา 10% ขั้นที่ 3 นี้ เราจะเสียภาษี = 132,800 X 10% = 13,280 บ.
จะเห็นว่าเงินได้เราสุดอยู่ตรงขั้นนี้ ก็ไม่ต้องเดินต่อไปในขั้นถัดไป ทีนี้เราก็เอาแต่ละขั้นที่เราสะสมไว้ในทั้ง 3 ขั้น มาเป็นภาษีที่เราต้องจ่าย แบบนี้
= 0 บ. + 7,500 + 13,280 = 20,780 บ.
ยิ่งถ้าเรามีรายได้สูง โดยเฉพาะลักษณะรายได้ที่เป็น 40(1) หรือเงินเดือน จะยิ่งทำให้เราต้องเสียภาษีสูง จะเห็นว่า เงินเดือน 50,000 บ. เสียภาษีประมาณเงินครึ่งหนึ่งของเงินเดือนของเรา แต่ถ้าเราเงินเดือน 100,000 บ. เราจะเสียภาษีประมาณเงินเดือนของเรา 1 เดือนกว่า เลยทีเดียว
รายได้ 40(1) เป็นรายได้ที่หักค่าใช้จ่ายได้น้อย จึงเสียภาษีแบบเต็มๆ ถ้าเปลี่ยนลักษณะรายได้ไม่ได้ ควรหาค่าลดหย่อนมาเพิ่มเติม เพื่อประหยัดภาษี
สรุป!! รายการลดหย่อนภาษีปี 65
#หมอยุ่งอยากมีเวลา
#อัตราภาษี
#ภาษี
#มนุษย์เงินเดือน
#เสียภาษี
#คิดภาษี
#คำนวณภาษี
โฆษณา