7 ก.ย. 2022 เวลา 02:50 • หุ้น & เศรษฐกิจ
สรุป หุ้นบุริมสิทธิ หุ้นกู้ หุ้นสามัญ คืออะไร ? แบบเข้าใจง่าย ๆ
ที่ผ่านมา เราน่าจะรู้จักหุ้นกู้และหุ้นสามัญกันมาพอสมควรแล้ว
แต่ก็มีหุ้นอีกประเภทหนึ่งที่เราควรรู้จัก นั่นก็คือ “หุ้นบุริมสิทธิ”
1
หุ้นบุริมสิทธิคืออะไร
แล้วมันแตกต่างจากหุ้นกู้ และหุ้นสามัญตรงไหน ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
เรามาเริ่มกันที่หุ้นกู้ และหุ้นสามัญ
สรุปง่าย ๆ ก็คือ
หุ้นกู้ เป็นตราสารหนี้ ที่ออกโดยบริษัทเอกชน
บริษัทที่ออกหุ้นกู้ จะมีสถานะเป็นลูกหนี้ ส่วนผู้ซื้อหุ้นกู้ จะมีสถานะเป็นเจ้าหนี้
โดยบริษัทมีหน้าที่ต้องจ่ายดอกเบี้ยและเงินต้น ตามที่ตกลงกับเจ้าหนี้ไว้
ในขณะที่หุ้นสามัญ เป็นตราสารทุน ที่ออกโดยบริษัทเอกชน
โดยผู้ซื้อหุ้นสามัญ จะอยู่ในสถานะร่วมเป็นเจ้าของบริษัท
ซึ่งสัดส่วนความเป็นเจ้าของ จะขึ้นอยู่กับจำนวนหุ้นสามัญที่เราถืออยู่
1
ผู้ถือหุ้นสามัญ มีสิทธิในการออกเสียงลงมติในที่ประชุมผู้ถือหุ้น ตามสัดส่วนของหุ้นที่ถือครองอยู่
มีสิทธิในการรับเงินปันผล และสิทธิประโยชน์อื่น ๆ ตามที่กฎหมายระบุไว้
ความแตกต่างระหว่างหุ้นกู้และหุ้นสามัญก็คือ “สถานะและการรับผลประโยชน์”
โดยผู้ซื้อหุ้นกู้ จะมีสถานะเป็นเจ้าหนี้ และจะได้รับผลตอบแทนในรูปของดอกเบี้ย
ไม่ว่าบริษัทจะมีกำไรหรือขาดทุน รวมทั้งเงินต้นก็ต้องคืนตามเวลาที่กำหนด
ในขณะที่ผู้ซื้อหุ้นสามัญนั้น จะมีสถานะเป็นเจ้าของบริษัท และอาจจะได้รับผลตอบแทน ในรูปของการเปลี่ยนแปลงของราคาหุ้นและเงินปันผล กรณีที่บริษัทมีกำไร แต่ถ้าบริษัทขาดทุน ก็อาจจะไม่ได้รับเงินปันผลได้เช่นกัน
อย่างไรก็ตาม มีหุ้นอีกประเภทหนึ่ง ที่มีลักษณะเป็นลูกผสม ระหว่างหุ้นกู้และหุ้นสามัญ
โดยที่บอกว่าเป็นลูกผสม เนื่องจากเป็นหุ้นที่มีลักษณะเป็นกึ่งเจ้าหนี้ และกึ่งเจ้าของบริษัท
ซึ่งหุ้นประเภทนี้ มีชื่อเรียกว่า “หุ้นบุริมสิทธิ”
เรามาดูกันว่า หุ้นบุริมสิทธิมีลักษณะที่แตกต่างจากหุ้นกู้และหุ้นสามัญ อย่างไร ?
1
- ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ มีส่วนร่วมเป็นเจ้าของกิจการ เช่นเดียวกับหุ้นสามัญ
แต่ไม่มีสิทธิออกเสียงในการประชุมผู้ถือหุ้น เช่นเดียวกับหุ้นกู้
2
- ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ จะได้รับเงินปันผล เช่นเดียวกับหุ้นสามัญ
แต่โดยส่วนใหญ่แล้ว จะเป็นเงินปันผลในอัตราคงที่ เช่นเดียวกับหุ้นกู้ กรณีที่จ่ายดอกเบี้ยคงที่ให้ผู้ถือหุ้นกู้
ซึ่งเงินปันผลที่ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิได้รับนั้น อาจจะมากหรือน้อยกว่าผู้ถือหุ้นสามัญก็ได้
- กรณีที่บริษัทต้องขายสินทรัพย์เพื่อมาชำระหนี้ ลำดับการรับชำระหนี้ของผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ จะมาหลังผู้ถือหุ้นกู้ แต่มาก่อนผู้ถือหุ้นสามัญ
- หุ้นบุริมสิทธิมักจะไม่มีวันครบกำหนดไถ่ถอน หรือการชำระคืนเงินต้น ดังนั้น การลงทุนในหุ้นบุริมสิทธิจึงถูกมองว่า เป็นการลงทุนระยะยาว คล้ายกับหุ้นสามัญ
1
แล้วหุ้นบุริมสิทธิ สำคัญต่อบริษัทในมุมไหน ?
อย่างที่บอกไว้ว่า นอกจากการไม่ต้องก่อหนี้ จนนำมาซึ่งภาระดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายแล้ว
ประเด็นสำคัญก็คือ โดยทั่วไปแล้วผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ จะไม่มีสิทธิออกเสียงในการประชุมผู้ถือหุ้น เหมือนผู้ถือหุ้นสามัญ ทำให้ผู้ถือหุ้นสามัญนั้น ไม่ต้องกังวลเรื่องสัดส่วนการถือหุ้นของตนเอง ว่าจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร เมื่อออกเสนอขายหุ้นบุริมสิทธิ
อีกประเด็นก็คือ การออกหุ้นกู้ จะทำให้หนี้สินนั้นเพิ่มขึ้น
ซึ่งถ้าส่วนของผู้ถือหุ้นมีจำนวนเท่าเดิม จะทำให้สัดส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น หรือ Debt-to-Equity Ratio นั้นเพิ่มสูงขึ้น
ซึ่งการเพิ่มขึ้นของสัดส่วนดังกล่าว เป็นสัญญาณว่า บริษัทกำลังก่อหนี้เพื่อใช้จ่ายมากขึ้น และอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงด้านการเงินตามมาได้
ในขณะที่หุ้นบุริมสิทธินั้นเป็นตราสารทุน ดังนั้น การออกหุ้นบุริมสิทธิเพิ่ม จะทำให้ส่วนของผู้ถือหุ้นเพิ่มขึ้น และถ้าส่วนของหนี้สินมีจำนวนเท่าเดิม
การออกหุ้นบุริมสิทธิเพิ่ม จะทำให้สัดส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น หรือ Debt-to-Equity Ratio นั้นลดลงได้
ซึ่งหลายครั้งช่วยให้บริษัทสามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขต่าง ๆ ของเจ้าหนี้ ที่ต้องการให้บริษัทคงสัดส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น ไม่ให้สูงมากจนเกินไป
อ่านมาถึงตรงนี้ เราน่าจะเข้าใจลักษณะการลงทุน ในหุ้นบุริมสิทธิไปบ้าง ไม่มากก็น้อย
ในอนาคต ถ้าเรากำลังคิดที่จะไปลงทุนในหุ้นบุริมสิทธิ หรือเป็นเจ้าของกิจการที่กำลังจะเพิ่มทุน
เราก็น่าจะมีตัวเลือกสำหรับการตัดสินใจมากขึ้น..
2
หนังสือ BRANDING THE NATION หนังสือที่เล่าถึงการสร้างแบรนด์ของแต่ละประเทศที่ทำให้ แต่ละประเทศเป็นแบบทุกวันนี้
เช่น ทำไมเยอรมนีเป็นประเทศแห่งรถยนต์ ทำไมฝรั่งเศสเป็นประเทศแห่งแบรนด์หรู สั่งซื้อเลยที่
-<4D6963726F736F667420576F7264202D20E0B9D7CDCBD2BBC3D0A1CDBAA1D2C3BAC3C3C2D2C2E1C5D0B7B4CACDBA204E45572031302D372D3537> (asco.or.th)
โฆษณา