Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
optimus7shine
•
ติดตาม
6 ก.ย. 2022 เวลา 14:27 • ยานยนต์
เกร็ดความรู้คู่รถ by Optimus
วันนี้เสนอ " ประเภทของสีพ่นรถยนต์ "
โดยทั่วไปสีที่ใช้ในการพ่นรถยนต์มี 3 ประเภท คือ
1. สี OEM
หรือเรียกอีกชื่อว่าสีอบ (Bake Paint) คือสีที่ใช้ในโรงงานประกอบรถยนต์ สีชนิดนี้มีเพียงองค์ประกอบเดียว การทำสีจะต้องผ่านการอบด้วยอุณหภูมิสูงประมาณ 120-170 องศาเซลเซียส เมื่อสีแห้งตัวแล้วชั้นสีจะมีความทนทานสูง มีการยึดเกาะของสีที่ยอดเยี่ยม ทนแดด ทนฝน ทนร้อน ทนหนาว ทนต่อการกัดกร่อนของน้ำมันดีเซลและเบนซิล สี OEM จึงเป็นสีที่ทนทานที่สุด
2. สี 1K (สีแห้งเร็ว)
เป็นสีที่มีองค์ประกอบเดียว คือมีแต่ตัวเนื้อสีเพียงอย่างเดียว ในการใช้งานอาจนำมาผสมกับตัวทำละลาย (Solvent) เช่นทินเนอร์เพื่อเจือจาง และให้สะดวกต่อการใช้งานมากขึ้น แต่ตัวทำละลายที่นำมาผสมนี้ จะไม่นับเป็นองค์ประกอบ เนื่องจากตัวทำละลายจะระเหยตัวออกไปจนหมดหลังการใช้งาน เหลือเพียงฟิล์มสีที่แห้งตัวแล้วเท่านั้น
เมื่อก่อนสี 1K เป็นสีที่นิยมใช้กันมาก เพราะมีต้นทุนที่ต่ำ แห้งเร็ว แต่มีข้อเสียคือความเงางามอยู่ได้ไม่กี่ปีก็ซีด ไม่ทนต่อตัวทำละลาย หากโดนน้ำมัน ทินเนอร์โดยตรง สีอาจจะหลุดร่อนได้ ปัจจุบันจึงไม่นิยมนำมาพ่นรถยนต์ แต่อาจจะยังใช้ในการพ่นชิ้นงานทั่วไป เช่น เหล็ก
3. สี 2K (สีแห้งช้า)
เป็นสีที่มี 2 องค์ประกอบ คือตัวสีและตัวเร่งปฏิกิริยา (Hardener) ก่อนใช้งานต้องนำทั้ง 2 องค์ประกอบมาผสมกันตามอัตราส่วน เพื่อให้เกิดการทำปฏิกิริยาทางเคมีกับเรซิ่นในเนื้อสี ซึ่งจะทำให้สีเกิดการแห้งตัว ข้อดีของสี 2K คือชั้นฟิล์มสีสูงมีความแข็งแรง เนื้อสีมาก ยึดเกาะดีเยี่ยม ความทนทานต่อตัวทำละลายเช่นทินเนอร์ น้ำมัน และสารเคมีต่าง ๆ ได้ดีมาก ทนแดดทนฝนได้ดี ไม่ซีดจางง่าย
โดยรวมแล้วสี 2K มีความคงทนสูงและคงสภาพเดิมได้นานมาก คุณสมบัติใกล้เคียงกับสี OEM ในปัจจุบันนี้อู่รถยนต์หรือศูนย์ซ่อมสีชั้นนำจะหันมาใช้สีระบบ 2K
สี 2K ที่ใช้ในงานสีรถยนต์ แบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ
- แอลคิด (Alkyd)
- อะคริลิค (Acrylic)
- โพลียูรีเทน (Polyurethane)
สี 2K มีส่วนประกอบที่สำคัญอยู่ 2 ส่วนหลักคือ
1. เนื้อสี สามารถแบ่งย่อยเป็น 4 ส่วนด้วยกันคือ
1.1 เนื้อสี กาวหรือเรซิ่น (Resin)
ทำหน้าที่เป็นตัวยึดเกาะของส่วนประกอบอื่นๆ ของ สี เมื่อสีแห้งแล้ว เรซิ่นจะเกาะตัวเข้าด้วยกันเกิดเป็นเนื้อฟิล์มขึ้น ซึ่งเรซิ่นที่ใช้ในสีประเภทนี้คือ โพลียูรีเทน ที่มีคุณสมบัติเด่นหลายอย่าง เช่น ความเงา ความแข็ง การยึดเกาะ การทนต่อสารเคมี ทนต่อความชื้น เป็นต้น
1.2 ผงสี (Pigment)
เป็นสารที่ทำหน้าที่ในการปกปิดพื้นผิว และทำให้เกิดสีสันต่างๆ เช่น สีดำ สีแดง สีเหลือง สีน้ำเงิน หรืออาจใช้กันสนิมได้อีกด้วย
1.3 ตัวทำละลาย (Solvent)
ทำหน้าที่ในการช่วยให้ผงสีและเรซิ่นกระจายตัวเข้าเป็นเนื้อเดียวกัน และยังเจือจางหรือปรับความข้นเหลวของสีให้เหมาะสมสำหรับการใช้งานด้วย
1.4 สารปรับแต่ง (Additive)
เป็นส่วนประกอบที่หน้าที่เพิ่มคุณสมบัติหรือลดข้อด้อยบางอย่างของสี เช่น ช่วยให้ฟิล์มเรียบขึ้น ช่วยป้องกันแสงอุลตร้าไวโอเลตจากแสงอาทิตย์ ช่วยป้องกันการแยกตัวของผงสีและเรซิ่น ป้องกันการตกตะกอน เป็นต้น
2. ตัวเร่งที่ทำให้สีแข็งตัว (Hardener)
ส่วนนี้จะแยกออกจากส่วนแรกโดยสิ้นเชิง เมื่อจะนำสีไปใช้งานจึงค่อยผสมส่วนนี้ลงไป และน้ำยานี้ก็เป็นส่วนที่ขาดไม่ได้ เนื่องจากถ้าไม่ใส่น้ำยานี้เข้าไปในสีและนำสีไปใช้ สีจะไม่แห้งแข็งเป็นฟิล์ม ซึ่งน้ำยานี้ส่วนใหญ่จะมีส่วนผสมของไอโซไซยาเนท (Isocyanate)
สรุปเหตุผลที่ควรใช้สี 2K แทนสี 1K
* Durability – ความทนทานไม่ต่ำกว่า 5 ปี
* Weather resistance – ความคงทนต่อสภาพดินฟ้าอากาศ ทนแดด ทนฝนได้ดี
* Chemical resistance – ทนทานต่อสารเคมีต่าง ๆ ได้ดี เช่น ทินเนอร์ น้ำมันเบนซิล ดีเซล น้ำมันเบรก
* Color retention – สามารถคงสภาพสีเดิม ไม่ซีดจางจากเดิมง่าย
* Gloss – มีความเงางามสูงคุณสมบัติเหมือนหรือใกล้เคียงกับสี O.E.M.
หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์แก่ใครหลายๆคนนะครับ
ออพติมัส ที่สุดแห่งหารปกป้องฟื้นฟู
ความรู้รอบตัว
ข่าวรอบโลก
เทคโนโลยี
บันทึก
1
1
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย