7 ก.ย. 2022 เวลา 11:50 • ธุรกิจ
ทำไม “ธุรกิจโรงไฟฟ้า” ถึงรุ่งเรืองในไทย
ช่วงหนึ่งของปีนี้ คุณสารัชถ์ รัตนาวะดี ได้ก้าวขึ้นมาเป็นมหาเศรษฐี ที่รวยที่สุดในประเทศไทย
เคียงข้างคุณธนินท์ เจ้าของซีพี และคุณเจริญ เจ้าของเบียร์ช้าง
2
โดยทรัพย์สินหลัก ๆ ของคุณสารัชถ์ มาจากการเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในธุรกิจโรงไฟฟ้า บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ GULF ปัจจุบัน มีมูลค่ามากถึง 600,000 ล้านบาท
ซึ่งนอกจาก GULF แล้ว ก็ยังมีอีกหลายบริษัท
ที่เป็นผู้ผลิตไฟฟ้าและมีมูลค่าเกือบแสนล้านบาท อย่างเช่น
3
- บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) มูลค่าบริษัท 96,000 ล้านบาท
- บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) มูลค่าบริษัท 94,000 ล้านบาท
จะเห็นได้ว่าธุรกิจโรงไฟฟ้าในประเทศไทย
สามารถเติบโตจนกลายมาเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ได้
แล้วทำไม อุตสาหกรรมนี้ จึงเติบโตได้ดีในบ้านเรา ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
2
การผลิตไฟฟ้าของไทยตั้งแต่อดีตนั้น มีการผลิตร่วมกัน
ระหว่างหน่วยงานของรัฐ และเอกชนที่ได้รับสัมปทาน
โดยเริ่มเป็นรูปเป็นร่างก็ตอนที่บริษัทจากประเทศเดนมาร์ก ขอสัมปทานผลิตไฟฟ้า
เพื่อใช้ในกิจการเดินรถราง เมื่อราว 135 ปีก่อน หรือในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5
1
แต่หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศไทยมีความเจริญมากขึ้นในทุก ๆ ด้าน
ความต้องการใช้ไฟฟ้าของไทย จึงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
จนในเวลาต่อมา เกิดปัญหาไฟฟ้าไม่เพียงพอ
2
รัฐบาลในขณะนั้น จึงเร่งขยายกำลังการผลิตไฟฟ้า
ทำให้เกิดโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ขึ้นหลายแห่งทั่วประเทศ
โดยโรงไฟฟ้าของไทยส่วนใหญ่ ใช้พลังงานไฟฟ้าจากถ่านหิน และน้ำมันเชื้อเพลิง
เช่น น้ำมันเตา หรือน้ำมันดีเซลมาโดยตลอด เพราะสามารถหาซื้อได้ง่าย
2
แม้ว่าถ่านหินจะให้พลังงานความร้อนต่อหน่วยสูง
แต่ก็มีข้อเสียตรงที่มันสร้างปัญหาด้านมลภาวะ และก่อให้เกิดมลพิษต่อสุขภาพของเราสูงเช่นกัน
2
ถึงแม้ว่าเทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหิน จะพัฒนาไปมากแล้ว
แต่ที่ผ่านมา ในไทยก็มีความกังวล ในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าที่ใช้ถ่านหินอยู่เรื่อยมา
การก่อสร้างโรงไฟฟ้าของไทยในระยะหลัง จะเน้นการลงทุนไปที่พลังงานจากแก๊สธรรมชาติ
5
เหตุผลหนึ่งก็คือ “ประเทศไทยสามารถผลิตแก๊สธรรมชาติเป็นของตัวเองได้”
รวมถึงเพื่อเป็นการหลีกเลี่ยง จากกระแสต่อต้านโรงไฟฟ้าถ่านหิน ที่เกิดขึ้นแทบทุกครั้ง
เพราะแก๊สธรรมชาติถือเป็นพลังงานฟอสซิลที่สร้างมลพิษต่ำที่สุด
2
ต่อมาในช่วงปี 2537 รัฐบาลได้ปรับเปลี่ยนนโยบาย การขยายกำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศ
จากเดิมที่หน่วยงานของรัฐจะลงทุน และเป็นเจ้าของโรงไฟฟ้าด้วยตัวเอง กลายเป็นสนับสนุนให้เอกชน เป็นผู้ลงทุนสร้างโรงไฟฟ้า แล้วการไฟฟ้าฝ่ายผลิตจะเป็นผู้รับซื้อไฟฟ้าที่ผลิตได้ มาขายให้แก่ประชาชนต่อไป
5
ซึ่งนโยบายนี้ ก็ได้ทำให้อุตสาหกรรมโรงไฟฟ้าของไทย เฟื่องฟูอย่างมาก
เพราะมีบริษัทหลายแห่ง ทั้งที่ทำธุรกิจด้านพลังงานอยู่แล้ว และที่ไม่เกี่ยวข้อง
ต่างเข้ามาลงทุนเป็นจำนวนมาก
2
เหตุผลสำคัญของนโยบายนี้ ก็คือ “เรื่องของงบประมาณ”
1
เนื่องจากการสร้างโรงไฟฟ้าแต่ละแห่งนั้น ใช้งบประมาณหลักพันถึงหลักหมื่นล้านบาท
ซึ่งถือเป็นภาระค่าใช้จ่ายที่สูงมาก รวมถึงการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทย ที่เติบโตอย่างรวดเร็วเช่นกัน
1
หากต้องรอการลงทุนจากรัฐบาลเพียงอย่างเดียว
ก็จะไม่สามารถรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้า ที่เพิ่มขึ้นได้ทัน
และส่งผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมของประเทศ
3
ทำให้รัฐบาลในขณะนั้น ตัดสินใจให้สิทธิเอกชนเข้ามาเป็นผู้ผลิตไฟฟ้า เพื่อขายให้กับ กฟผ.
1
ในขณะที่การบริหารโครงสร้างพื้นฐานอื่น ๆ อย่างเช่น สายส่งไฟฟ้า และการจำหน่ายไฟฟ้าไปให้ประชาชน ยังคงมีหน่วยงานของรัฐ เป็นผู้ดำเนินการ
ตัวอย่างบริษัทที่ทำให้เห็นภาพ ของเรื่องราวในช่วงเวลานั้นได้ดีที่สุด
ก็คือ กลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้าชื่อดัง ของคุณสารัชถ์ รัตนาวะดี หรือ GULF
1
แม้บริษัทจะก่อตั้งได้เพียงไม่กี่ปี แต่จากนโยบายดังกล่าว
ทำให้ GULF ได้รับสัญญา รับซื้อไฟฟ้าขนาดใหญ่จากรัฐบาล
เช่น โครงการโรงไฟฟ้าบ่อนอก ที่ ต.บ่อนอก จ.ประจวบคีรีขันธ์ ในปี 2540 ซึ่งมีมูลค่าการลงทุน 30,000 ล้านบาท
5
โดยบริษัท กัลฟ์ เพาเวอร์ เจเนอเรชั่น จำกัด ได้เซ็นสัญญากับ กฟผ. เพื่อซื้อขายไฟฟ้า เป็นระยะเวลา 25 ปี
โดยใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง แต่ว่าโครงการก็ถูกคัดค้านจากชาวบ้านในพื้นที่ ทำให้รัฐบาลตัดสินใจยกเลิกโครงการไปในที่สุด
6
อย่างไรก็ตาม คุณสารัชถ์ สามารถเจรจาต่อรอง และขอย้ายโรงไฟฟ้าไปยัง อ.แก่งคอย จ.สระบุรี พร้อมเปลี่ยนเชื้อเพลิงที่ใช้ เป็นแก๊สธรรมชาติ และขอเพิ่มกำลังการผลิตเป็น 2 เท่า เพื่อแลกกับค่าเสียหายที่รัฐบาลต้องจ่าย จากการยกเลิกสัญญา
3
คำถามที่น่าสนใจก็คือ ทำไมเอกชนถึงสนใจการตั้งโรงไฟฟ้า แล้วขายให้แก่ภาครัฐ
แทนที่จะนำเงินไปลงทุนทำธุรกิจอื่น ๆ ที่มีต้นทุนถูกกว่า หรือคืนทุนได้เร็วกว่า
4
คำตอบของเรื่องนี้ ก็คือ “สัญญาการรับซื้อไฟฟ้าของภาครัฐ ที่ทำกับภาคเอกชน” ทำให้มีโอกาสขาดทุนน้อยมาก
6
สำหรับการขายไฟฟ้าของไทยนั้น เอกชนไม่ได้เป็นผู้ขายให้แก่ผู้ใช้โดยตรง
แต่หน่วยงานของรัฐซึ่งก็คือ การไฟฟ้านครหลวง และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จะเป็นผู้ขายแต่เพียงผู้เดียว
1
โดยสัญญาที่ กฟผ. ทำกับผู้ผลิตนั้น มีลักษณะเหมือนสัมปทาน ซึ่งมีอายุของสัญญายาวนาน
โดยเฉพาะสัญญากับผู้ผลิตรายใหญ่ ที่อาจมีอายุสัญญายาวนานถึง 25 ปี
โดยรัฐบาลจะเปิดประมูลสัญญาการรับซื้อไฟฟ้า แล้วให้เอกชนเข้าร่วมการประมูล
จากนั้น กฟผ. ก็จะจ่ายเงินซื้อไฟฟ้า ตามปริมาณที่มีการส่งเข้าระบบ
2
แต่ส่วนสำคัญของสัญญาคือ การจ่ายเงิน “ค่าความพร้อมจ่าย”
โดยค่าใช้จ่ายส่วนนี้จะครอบคลุมค่าก่อสร้าง ค่าบำรุงรักษา ค่าประกัน และค่าใช้จ่ายคงที่อื่น ๆ ซึ่งจะจ่ายให้เหมือนกับค่าเช่าโรงไฟฟ้าให้กับเอกชน
4
อย่างเช่นในปี 2563 ที่ความต้องการใช้ไฟฟ้าลดลง ทำให้โรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ทั้งหมด เดินเครื่องเฉลี่ยเพียง 35% ของเวลาทั้งปี แต่ กฟผ. ยังต้องจ่ายค่าความพร้อมจ่ายดังกล่าว ให้กับผู้ผลิตกว่า 9,166 ล้านบาท
4
ที่ต้องมีค่าความพร้อมจ่ายนี้ ก็เพื่อให้โรงไฟฟ้าต่าง ๆ เตรียมพร้อมสำหรับการจ่ายไฟฟ้า ให้ได้ตามที่ กฟผ. สั่งทุกเมื่อ และหากทำไม่ได้ ก็จะต้องเสียค่าปรับตามสัญญา
3
ยังมีอีกส่วนหนึ่ง ที่ทำให้การเป็นผู้ผลิตไฟฟ้า มีโอกาสขาดทุนต่ำ
ก็เพราะการคิดค่าเชื้อเพลิงตามกำลังการผลิต ที่สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามรอบ
5
หากเชื้อเพลิงหรือต้นทุนผันแปรอื่น ๆ มีการเปลี่ยนแปลง
ซึ่งจะส่งผลต่อค่าไฟฟ้าผันแปร หรือที่เรียกกันว่า ค่า Ft
2
ข้อนี้ เปรียบเสมือนการประกันราคารับซื้อ ว่าผู้ผลิตจะไม่ได้รับผลกระทบ จากราคาเชื้อเพลิงที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น ในช่วงที่ราคาเชื้อเพลิงสูง ราคารับซื้อไฟฟ้าก็จะสูงตาม
10
ในขณะที่ถ้าราคาเชื้อเพลิงลดลง ราคารับซื้อก็จะลดลงตามเช่นกัน
2
แล้วธุรกิจโรงไฟฟ้าเอกชนของไทย เติบโตขนาดไหน ?
2
จากสัญญาเริ่มแรกในปี 2537 ที่มีการซื้อไฟฟ้าจากเอกชนรายใหญ่ หรือ IPP ทั้งสิ้น 5,800 เมกะวัตต์
1
ปัจจุบัน กฟผ. มีกำลังการผลิตไฟฟ้าที่ทำสัญญากับ IPP กว่า 16,123.5 เมกะวัตต์ และเอกชนรายเล็ก หรือ SPP อีก 9,408.95 เมกะวัตต์ คิดเป็น 33% และ 20% ของกำลังการผลิตรวมทั้งระบบ
1
โดยหากไปดูตัวเลขการซื้อไฟฟ้าจากเอกชน ทั้งรายเล็กและรายใหญ่ ของ กฟผ. พบว่า
ปี 2537 (ยังไม่เริ่มซื้อไฟฟ้าจาก IPP) มีปริมาณการซื้อไฟฟ้าจากเอกชนทั้งสิ้น 844.9 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง
ปี 2538 (ปีแรกที่เริ่มซื้อจาก IPP) มีปริมาณการซื้อไฟฟ้าจากเอกชนทั้งสิ้น 7,712.87 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง
ปี 2564 มีปริมาณการซื้อไฟฟ้าจากเอกชนทั้งสิ้น 133,913.92 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง คิดเป็นการเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 11.6% ต่อปี
5
ซึ่งในเดือนกรกฎาคม ปี 2565 ไฟฟ้าที่เราใช้ทั้งประเทศ
ก็เป็นการซื้อจากเอกชนกว่า 71% ของทั้งหมด
3
ถ้าคิดง่าย ๆ ว่า ค่าไฟฟ้าที่ประชาชนจ่ายในปัจจุบันหน่วย (กิโลวัตต์ชั่วโมง) ละ 4-5 บาท และถ้าสมมติให้ราคาเฉลี่ยที่เอกชนขายให้รัฐบาล เป็นหน่วยละ 2-3 บาท
3
ก็จะคำนวณได้ว่ารัฐบาล ต้องจ่ายเงินให้เอกชนประมาณ 260,000-400,000 ล้านบาทต่อปี
ซึ่งก็สอดคล้องกับในงบการเงินปี 2564 ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตว่า มีต้นทุนของการขายไฟฟ้า มากถึง 472,530 ล้านบาท..
2
อ่านถึงตรงนี้ ก็คงเข้าใจกันแล้วว่า ทำไมธุรกิจโรงไฟฟ้าของไทย
ถึงเติบโต และสร้างมหาเศรษฐีแสนล้าน อย่างคุณสารัชถ์ รัตนาวะดี ขึ้นมาได้
4
อย่างไรก็ตาม การรับซื้อไฟฟ้าจากเอกชนถือเป็นเรื่องปกติ
ซึ่งมีหลายประเทศที่ใช้วิธีการนี้ เพราะเป็นการเสริมสร้างความมั่นคงทางพลังงาน
ด้วยการให้เอกชนหลายราย ช่วยกันดูแลระบบการผลิตไฟฟ้าของประเทศ
1
แต่สิ่งที่เราต้องควบคุมคือ กำลังการผลิตส่วนเกิน ที่เกิดจากการที่ภาครัฐ ทำสัญญารับซื้อไฟฟ้าจากเอกชนมากเกินไป ทำให้เราอาจต้องเสียเงินไปให้กับค่าเช่าโรงไฟฟ้า
7
ซึ่งค่าใช้จ่ายดังกล่าว จะถูกรวมมายังค่าไฟฟ้าที่เราใช้กัน
ทำให้เราต้องจ่ายค่าไฟฟ้าแพงขึ้น หรือรัฐบาลต้องเอาเงินภาษีไปอุ้มค่าไฟฟ้ามากขึ้น
แม้เราจะใช้ไฟฟ้าเท่าเดิมก็ตาม..
6
หนังสือ BRANDING THE NATION หนังสือที่เล่าถึงการสร้างแบรนด์ของแต่ละประเทศที่ทำให้ แต่ละประเทศเป็นแบบทุกวันนี้
3
เช่น ทำไมเยอรมนีเป็นประเทศแห่งรถยนต์ ทำไมฝรั่งเศสเป็นประเทศแห่งแบรนด์หรู สั่งซื้อเลยที่
โฆษณา