7 ก.ย. 2022 เวลา 13:36 • การศึกษา
SWISS CHEESE MODEL🧈
สวิสชีสโมเดล
แนวคิด “โมเดลเนยแข็งสวิส” มาจากศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาชื่อ เจมส์ รีสัน (James Reason) มหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ ที่เขียนไว้ในหนังสือ Human Error เกี่ยวกับอุบัติเหตุร้ายแรงที่เคยเกิดขึ้นมา เช่น การระเบิดของกระสวยอวกาศ และการระเบิดของโรงงานไฟฟ้าปรมาณูเชอร์โนบิล แนวคิดนี้เป็นที่รู้จักกันในนามของ “โมเดลเนยแข็งสวิสเรื่องอุบัติเหตุ” แต่ละช่องโหว่ของแผ่นเนยแข็ง คือ “ความผิดพลาด” เมื่อความผิดพลาดเกิดการสะสมขึ้นมา ก็นำไปสู่อุบัติเหตุที่ร้ายแรง
ต่อมา โมเดลเนยแข็งสวิสกลายมาเป็นโมเดล ที่ใช้ในการวิเคราะห์และบริหารความเสี่ยงในด้านการบิน การบริการสาธารณสุข และการให้บริการฉุกเฉิน ฯลฯ แนวคิดนี้เปรียบเทียบระบบการทำงานในด้านต่างๆ ของมนุษย์เรา เป็นเหมือนกับแผ่นเนยแข็งสวิส ที่แนบติดกันอยู่หลายแผ่น ความเสี่ยงจะลดน้อยลง เมื่อช่องโหว่ในแผ่นเนยแข็งไม่ได้อยู่ในตำแหน่งจุดเดียวกัน ช่องโหว่หรือจุดอ่อนในแผ่นเนยแข็งแผ่นหนึ่ง ไม่สามารถทำให้เกิดความล้มเหลว เพราะจะถูกเนยแข็งอีกแผ่นที่อยู่ถัดมาสกัดไว้
เจมส์ รีสัน ตั้งสมมติฐานไว้ว่า อุบัติเหตุส่วนใหญ่มีสาเหตุ ที่เราสามารถสอบสวนไปถึงความล้มเหลว ที่เกิดขึ้นจากสาเหตุใดสาเหตหนึ่งที่มาจาก 4 ด้านด้วยกัน คือ ด้านองค์กร การกำกับควบคุม เงื่อนไขก่อนเกิดเหตุการณ์ และการกระทำเฉพาะอย่าง เช่น สาเหตุการเกิดอุบัติเหตุด้านการบิน ด้านเงื่อนไขก่อนเกิดเหตุการณ์ เช่น ความอ่อนล้าของนักบิน หรือด้านการกำกับควบคุม ได้แก่ การจัดนักบินที่ขาดประสบการณ์ ทำการบินในช่วงกลางคืนที่มีอากาศแปรปรวน ฯลฯ
ประสิทธิผลของโมเดลเนยแข็งสวิส
ตามโมเดลเนยแข็งสวิส มาตรการที่ใช้ป้องกันไม่ให้เกิดความล้มเหลว คือการสร้างสิ่งขวางกั้น แผ่นเนยแข็งสวิสแต่ละแผ่น จะทำหน้าที่ดังกล่าว ส่วนช่องโหว่ในแผ่นเนยแข็งสวิสคือ จุดอ่อนที่มีอยู่ในแต่ละภาคส่วนของระบบทั้งหมด ตัวระบบเองจะทำให้เกิดความล้มเหลวขึ้นมา เมื่อช่องโหว่ในเนยแข็งแต่ละแผ่น อยู่ในตำแหน่งที่สอดคล้องกัน ทำให้สิ่งที่เป็นอันตรายสามารถผ่านทะลุได้ตลอดแผ่นเนยแข็ง
เอียน แม็กเคย์ (Ian M. MacKay) นักไวรัสวิทยา มหาวิทยาลัยควีนสแลนด์ ออสเตรเลีย ยกตัวอย่างว่า การสวมหน้ากากคือแผ่นเนยแข็งแผ่นหนึ่ง ที่ทำหน้าที่เป็นสิ่งกีดขวางการแพร่ระบาดของโควิด-19 หน้ากากช่วยลดความเสี่ยงที่จะติดเชื้อจากคนอื่น แต่หากสวมใส่ไม่ดี หรือหน้ากากไม่มีคุณภาพ สิ่งเหล่านี้คือ “ช่องโหว่” ของแผ่นเนยแข็ง ดังนั้น เพื่อให้เกิดความปลอดภัยมากที่สุด จึงต้องใช้แผ่นเนยแข็งมากขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้ช่องโหว่ของแต่ละมาตรการ อยู่ในตำแหน่งเดียวกัน ป้องกันไม่ให้ไวรัสหลุดออกแพร่ระบาดได้
เอียน แม็กเคย์ กล่าวให้คำแนะนำว่า บทเรียนจากเดือนมีนาคมเป็นต้นมา การเว้นระยะห่างเป็นมาตรการป้องกันที่ได้ผลมากที่สุด เพราะไวรัสไม่สามารถเดินทางได้เอง การเว้นระยะห่างจากคนอื่น ทำให้เราสามารถหลีกเลี่ยงการสัมผัสโดยตรงและจากละอองฝอย หลังจากนี้ เราก็มาพิจารณาเรื่องการอยู่ภายในสถานที่แห่งใดแห่งหนึ่ง
เช่น รถโดยสาร โรงยิม ที่ทำงาน หรือภัตตาคาร เพราะเรารู้ว่า ละอองลอย (aerosol) ของโควิด-19 ทำให้คนเราสามารถติดเชื้อได้ และตัวละอองลอยเป็นสาเหตุทำให้เหตุการณ์ใดหนึ่ง เกิดการระบาดครั้งใหญ่
ส่วนความสำเร็จจากประสิทธิผลของอินโฟกราฟิกเนยแข็งสวิส ไม่ได้อยู่ที่มาตรการป้องกันโควิด-19 อย่างใดอย่างหนึ่ง
แต่เป็นความสำเร็จที่มาจากการใช้มาตรการป้องกันหลายอย่างพร้อมกัน หรือแผ่นเนยแข็งสวิสหลายแผ่นที่ประกบกันอยู่
ตัวอย่างเช่น ในระบบการบิน การท่ีเครื่องบินจะสามารถบินได้อย่างปลอดภัยเดินทางถึงจุดหมาย อย่างสวัสดิภาพนั้น ประกอบไปด้วยปัจจัยหลายอย่าง เริ่มตั้งแต่แต่ การออกแบบเครื่องบิน วัสดุ อุปกรณ์ การประกอบ วิศวกรการบิน ช่างดูแลนักบิน แอร์โฮสเตส พนักงานภาคพื้น เจ้าหน้าที่ ควบคุมการจราจรทางอากาศ (ATC) ผู้โดยสาร รวมถึงไปสภาพอากาศ และมีอีกมากมายหลากหลาย ปัจจยั ที่อาจก่อให้ เกิดความผดิ พลาดข้ึนได้
อย่างไรก็ตาม Swiss Cheese Model นั้น เป็นเพียงทฤษฎีที่มาอธิบายความผิดพลาด หรือความ เสี่ยงต่างๆ ท่ีเกิดข้ึน หรืออาจจะเกิดข้ึนเท่าน้ัน และหลังจากน้ี หน้าท่ีการออกกฎระเบียบด้านความ ปลอดภัยในแต่ละขั้นตอนกระบวนการน้ัน จะสำคัญอย่างยิ่งยวด เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดเหตุ ผิดพลาดหรือโศกนาฏกรรมข้ึนมาได้นั่นเอง
ขอบคุณข้อมูล : 
The Swiss Cheese Model of Pandemic Defense, Dec. 5. 2020, nytimes.com
Swiss cheese model, wikip
#เด็กการบิน
โฆษณา