13 ก.ย. 2022 เวลา 09:30 • หุ้น & เศรษฐกิจ
เรื่องควรรู้ เกี่ยวกับการแตกพาร์
การแตกพาร์คืออะไร และถ้าเรามีหุ้นที่แตกพาร์ หุ้นนั้นในพอร์ตเราจะเป็นยังไง ใครสงสัยเรื่องการแตกพาร์ มาอ่านโพสนี้กัน...
ราคาพาร์ คือ มูลค่าเริ่มต้นของกิจการ โดยไปจดทะเบียนว่า มีทุนจดทะเบียนเท่าไหร่ และจะมีกี่หุ้น
ดังนั้นราคาพาร์ จะคิดมาจาก ทุนจดทะเบียน/ จำนวนหุ้น
เช่น บริษัทชูใจ ทุนจดทะเบียน 1,000,000 บ. มี 100,000 หุ้น ราคาพาร์ = 1,000,000 บ./ 100,000 หุ้น = 10 บ.
(ถ้าบริษัทชูใจจะมี 1,000,000 หุ้น ราคาพาร์ก็จะเท่ากับ 1 บ. แทน)
1
ต่อมาราคาหุ้นของบริษัท เป็นหุ้นละ 400 บ.
บริษัทแตกพาร์ จากพาร์ 10 บ. เป็น 1 บ. ทำให้เดิม 100,000 หุ้น เป็น 1,000,000 หุ้น (เพิ่ม 10 เท่า เพราะทุนจดทะเบียนเท่าเดิม) จึงทำให้ราคาหุ้น 400 บ. ก็เหลือ 40 บ./หุ้น (หารด้วย 10 เหมือนกัน)
ถ้าเรามีหุ้นชูใจ 100 หุ้น ราคาหุ้นเดิมก่อนแตกพาร์ 400 บ. มูลค่าหุ้นนี้ในพอร์ต 40,000 บ.
หลังแตกพาร์
หุ้นชูใจในพอร์ตจะเป็น 1,000 หุ้น และราคาหุ้นเป็น 40 บ. จะเห็นว่ามูลค่าหุ้นเท่าเดิม คือ 40,000 บ.
ข้อสังเกต
1.การแตกพาร์ทำให้ราคาต่อหุ้นลดลง จำนวนเงินที่ต้องใช้ในการซื้อขายหุ้นแต่ละครั้งลดลง เพื่อเพิ่มสภาพคล่องในการซื้อขายหุ้นให้ง่ายขึ้น
2. มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (market cap) เท่าเดิม หลังแตกพาร์
3. ราคาต่อหุ้นในพอร์ตเราจะลดลง แต่มูลค่าหุ้นนั้นที่มีการแตกพาร์จะเท่าเดิม เพราะเราจะได้จำนวนหุ้นมาเพิ่มอัตโนมัติ
4. ในการดูราคาต่อหุ้น อาจเข้าใจว่าราคาหุ้นตกลง ดังนั้นควรดู market cap ร่วมด้วย เพราะการแตกพาร์จะทำราคาต่อหุ้นลดลง แต่ market cap ไม่เปลี่ยนจากเดิม
ตัวอย่างหุ้นในรูป เคยมีการแตกพาร์จาก 5 บ. เป็น 1 บ. ทำให้ราคาต่อหุ้นลดลงจากเดิมประมาณ 5 เท่า ซึ่งจะสังเกตเห็นว่า ขณะที่ราคาต่อหุ้นลดลง มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด ( market cap) ไม่ได้ลดลง
ดังนั้นการแตกพาร์นั้น เพียงแค่ทำให้ราคาหุ้นซื้อขายกันได้คล่องกว่าเท่านั้นเอง ไม่ได้ทำให้มูลค่าหุ้นเดิมที่เราถืออยู่ต่างไปจากเดิม
#หมอยุ่งอยากมีเวลา
#หุ้น
#งบการเงินรวม
#ราคาพาร์
#การแตกพาร์
#ลงทุนหุ้น
#หุ้นแตกพาร์
#แตกพาร์ทำไม
#ทำไมต้องแตกพาร์
โฆษณา