13 ก.ย. 2022 เวลา 15:32 • ครอบครัว & เด็ก
เด็กหญิงวัย 3 ขวบกว่า หายจากปอดบวมจาก RSV มาตรวจซ้ำ อาการที่คงเหลือคือ ….
.
.
จับน้องตุ๊กตามาล้างจมูก พ่นยา แล้วเคาะปอดดูดเสมหะ โอ๋น้องไม่ให้ร้องไห้
2
คุณพ่อ คุณแม่เล่าให้ฟังแบบขำๆค่ะ หมอก็ขำ ได้แต่บอกคุณแม่ว่า ปล่อยให้เล่นให้เต็มที่เลยนะคะ คุณแม่เล่นเป็นคนไข้ให้เขาเลยก็ได้ ให้เขาปลดปล่อยเต็มที่เลย
โดนมาเยอะ กว่าจะหาย 😅
เอาจริงๆนะคะ คนเป็นหมอ ใจแป้ว แม้จะหัวเราและเอ็นดู รู้ว่าเล่นสมมติของเด็กวัยสามสี่ขวบคือเรื่องปกติมาก เป็นพัฒนาการตามวัยที่จะเริ่มมีให้เห็นบ้างตั้งแต่อายุ 12-18 เดือน และจะค่อยๆพัฒนา และสามารถเล่นสมมุติกับเพื่อนได้เมื่ออายุ 3 ปี
ควรส่งเสริมให้ลูกเล่น แต่สิ่งที่เด็กเล่นก็สะท้อนภาพความทรงจำของเด็กๆเช่นกัน
1
เวลาทำหัตถการ ไม่ว่าจะเจาะเลือด ฉีดยา เด็กๆไม่ชอบทั้งนั้นค่ะ ยิ่งมาเจอ พ่นยา ล้างจมูก เคาะปอด ดูดเสมหะ คนสั่ง คนทำก็ต้องใจแข็งพอสมควร หมอนี่ต้องสายแข็งมาเอง เด็กงอแงไม่เท่าไหร่ ถ้าพ่อแม่งอแงเมื่อไหร่ ไอ้นู้นไม่ได้ ไอ้นี่ไม่เอา ลูกร้อง ลูกกลัว ลูกไม่ชอบ
ก็รักษากันลำบากเลยทีเดียว … พ่อแม่ก็ต้องเข้าใจและต้องเข้มแข็งพอด้วย
ถ้าพ่อแม่อ่อน หมอต้องเป็นหลักให้ได้ถ้า …
ต้องชั่งกันเลยทีเดียวว่าระหว่างประโยชน์ที่ได้ กับเสียงร้องไห้และความกลัวของเด็กที่จะเกิดขึ้น มันคุ้มมั้ย….ถ้าไม่ทำลูกนอนไม่ได้นะแม่ น้องจะเหนื่อย หายใจลำบากกว่า…ในการรักาษคนไข้ สิ่งหนึ่งที่หมอต้องอดทนคือ ความสงสาร ความเศร้า ความหวั่นไหว ที่ต้องกระทำการอันทำให้คนอื่นต้องเจ็บ ไปจนถึงความกลัวในใจตัวเองเมื่อตัดสินใจเลือก หรือลงมือ
1
และสิ่งที่จะเยียวยาเด็กได้ คือการดูแลเขาอย่างมั่นคง แต่โอบอุ้มนุ่มนวลจริงๆ
ในทุกๆวันทุกๆครั้ง
1
ที่จริงวันนี้อยากเล่าเรื่องประโยชน์ของการเล่นสมมติของเด็กๆค่ะ
พอเห็นเคสนี้มา หนูเล่นพ่นยา เคาะปอดตุ๊กตาเอาซะเป็นตุเป็นตะ เลยนึกอยากเล่า
การเล่นบทบาทสมมติมี 2ลักษณะ คือ
1.สร้างจากจินตนาการและสมมติบทบาทขึ้นมาเอง เป็นการสร้างเพื่อนในจินตนาการ โดยเด็กๆอาจเคยเห็นหรือไได้รับประสบการณ์นั้นมาแล้ว ถ้าในกลุ่มแม่ๆที่มีลูกเล็กๆ บางครั้งถึงขั้นหลอนกับเพื่อนลูกเลยทีเดียว อาจถึงขั้นต้องมาเม้าท์กันว่า ลูกเธอมีเพื่อนที่แม่มองไม่เห็นกี่คน บางครั้งลูกคุยกับเพื่อนจนแม่ชักจะกลัวๆ 😅
1
2.การเล่นสมมติในสถานการณ์จำลองให้เสมือนจริง มีการต่อยอดความคิดและจินตนาการเด็ก มีการจัดสิ่งแวดล้อม สภาพการณ์ให้เหมือนจริง
การเล่นบทบาทสมมติมีประโยชน์ไม่น้อย
1.ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ ตรงไปตรงมานะคะ การเล่นบทบาทสมมติบทบาท คำพูดการสื่อสาร เกิดจากความคิดและจินตนาการของเด็กๆในขณะนั้นๆเลยค่ะ มันสดมาก นี่คือเสน่ห์ 🙂
2.ส่งเสริมด้านความจำ การเล่นบทบามสมมติ เด็กๆต้องจำบทบาท รายละเอียดของตัวละครที่จะต้องทำ ต้องพูด ลำดับขั้นการกระทำ ซึ่งจะช่วกระตุ้นความจำจากสิ่งที่เด็กๆเคยได้ยิน เคยเห็น
3.ส่งเสริมพัฒนาการทางด้านภาษา ไม่ว่าจะเล่นคนเดียวหรือเล่นกับคนอื่น การเล่นบทบาทสมมติต้องมีการสื่อสาร หากคุณพ่อคุณแม่มีโอกาสได้เล่นสมมติกับลูก จะทำให้เด็กๆได้มีโอกาสเรียนรู้การใช้ศัพท์ หรือวิธีการพูดใหม่ๆ จะช่วยพัฒนาทักษะทางด้านภาษาได้อย่างดีค่ะ
1
4.ส่งเสริมการพัฒนาทักษะด้านสังคมและอารมณ์จะมีการเรียนรู้การเห็นอกเห็นใจ และเข้าใจอารมณ์ในสถานการณ?ต่างๆ ซึ่งเราสามารถสอนให้เด็กๆเรียนรู้อารมณ์ต่างๆได้ผ่านทางการเล่นบทบาทสมมุติ เช่น พี่ตุ๊กตาหมีเสียใจเลยร้องไห้ พี่หมาโกรธเลยไล่กัด
 
อย่างเคสที่เล่าให้ฟัง เค้าโอ๋น้องตุ๊กตาที่ร้องไห้ ….เห็นภาพหนูน้องร้องไห้้ด้วยอารมณ์มากมายแล้วหมอ พยาบาล คุณพ่อ คุณแม่ปลอบโยนไหมคะ …..
สิ่งเหล่านี้ทำให้เด็กๆได้เรียนรู้อารมณ์ขอตนเอง
1
5.ส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างการ การเล่นสมมติมีกรขยับการเคลื่อนไหวร่างกาย มีการหยิบจับ มีการใช้มือ ตามบทบาทต่างๆนั่นคือการกระตุ้นพัฒนาการกล้ามเนื้อมัดเล็กมัดใหญ่ ไปจนถึง hand eye coordination ได้เลยทีเดียว
เป็นอย่างไรบ้างคะ …..หมอเด็กเอง จะสื่อสารกับเด็กหลายครั้งเราก็ใช้ผ่านการเล่นสมมติ
วันนี้ป้าเล่นเป็นหมอ หนูเล่นเป็นคนไข้นะคะ ไหนไม่สบายตรงไหน ป้าขอตรวจหน่อย เปิดพุงซิ
1
ป้าขอตรวจพี่หมีได้ไหมคะ พี่หมีไม่สบายตรงไหนหนูถึงอุ้มมาหาหมอ…..โอ้โห พี่หมีไม่ร้องไห้เลยตอนหมอตรวจ เก่งมากๆ แถมแข็งแรงด้วยนะ ไหนป้าตรวจหนูบ้าง….
เอวังก็มีประการฉะนี้ ….
หลอกเด็กวนไปค่ะ 😁
2
https://images.app.goo.gl/SP1bpNkvWSEeg9sn9
โฆษณา