17 ก.ย. 2022 เวลา 10:08 • ยานยนต์
อุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้า ไทยยังเนื้อหอมไม่หยุด
ผู้บริหารฟอร์ดประกาศชัดเจน ไทยเป็นศูนย์กลางผลิตรถ EV
ทั้งรุ่น Ranger ute และ Everest SUV นอกสหรัฐฯ
ประเทศไทยยังคงเนื้อหอมอย่างมากสำหรับอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้า (EV) เพราะนอกจากจะมีค่ายรถยนต์จากประเทศจีนและเยอรมนีต่างตบเท้าดาหน้าเข้ามาตั้งโรงงานเพื่อเป็นศูนย์กลางการผลิตรถ EV ของภูมิภาคอาเซียนและเอเชียแล้ว ล่าสุดค่ายรถยนต์ที่ใหญ่ที่สุดจากสหรัฐฯ อย่าง ‘ฟอร์ด มอเตอร์’ ก็ประกาศชัดเจนแล้วว่าจะใช้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าของค่ายนอกสหรัฐฯ เพื่อส่งขายทั่วเอเชียและทั่วโลก
จอห์น ลอว์เลอร์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินของฟอร์ดทั่วโลก กล่าวกับสำนักข่าวต่างประเทศที่เข้าร่วมงานแสดงรถยนต์ดีทรอยต์เมื่อวันที่ 15 กันยายนที่ผ่านมาว่า ประเทศไทยซึ่งเป็นสถานที่ผลิตระบบขับเคลื่อนสี่ล้อของ Ranger ute และ Everest จะกลายเป็น "ศูนย์กลาง" สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าในอนาคต
"ประเทศไทยจะเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ เมื่อการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เกิดขึ้นทั่วโลก เราจะเป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรม ซึ่งคุณจะเห็นว่ามาจากนวัตกรรมของฟอร์ด
ระบบขับเคลื่อนสี่ล้อของ Ford Everest ยังสามารถใช้พลังงานไฟฟ้าได้เนื่องจากมันขึ้นอยู่กับรากฐานเดียวกันกับ Ford Ranger และผลิตในโรงงานเดียวกัน
อย่างไรก็ตาม ผู้บริหารระดับสูงที่สุดของฟอร์ดยังคงไม่ระบุรายละเอียดในการประมาณการว่า Ranger ute จะอยู่ในโชว์รูมได้เมื่อใด
แม้ว่าจะยังไม่ได้รับการยืนยันเรื่องการเริ่มต้นการผลิต แต่ Ford Ranger ute คาดว่าจะมีบทบาทสำคัญในแผนการลงทุนของยักษ์ใหญ่ด้านยานยนต์ของสหรัฐฯ สำหรับรถยนต์ที่ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ซึ่งคิดเป็นประมาณ 1 ใน 3 ของปริมาณการขายทั่วโลกภายในปี 2030
ทั้งนี้ Ford ได้เปิดตัวและจำหน่ายรถกระบะฟูลไซส์ F-150 Lightning ไปแล้วในสหรัฐอเมริกา ซึ่งถือเป็นรถกระบะไฟฟ้ารุ่นแรกของ Ford
สำหรับโรงงานของ Ford ในประเทศไทยมี 2 แห่ง ตั้งอยู่ที่อำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง ได้แก่โรงงานฟอร์ด ไทยแลนด์ แมนูแฟคเจอร์ริ่ง ซึ่งเป็นโรงงานของ Ford เอง และโรงงานออโต้ อัลลายแอนซ์ ประเทศไทย เกิดจากการร่วมทุนของ Ford และ Mazda
ทั้งนี้ข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ได้รายงานความคืบหน้าการส่งเสริมกิจการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วน ตั้งแต่ปี 2560 ถึง 17 ส.ค.65 มีโครงการที่ได้รับส่งเสริมในกิจการดังกล่าวแล้วรวม 26 โครงการ จาก 17 บริษัท ประกอบด้วย
1. โครงการผลิต Hybrid Electric Vehicle (HEV) จำนวน 7 โครงการ ได้แก่ GWM, Honda, Mazda, MG, Mitsubishi, Nissan, Toyota
1
2. โครงการผลิต Plug-in Hybrid Electric Vehicle (PHEV) จำนวน 8 โครงการ ได้แก่ BMW, BYD, GWM, Mercedes Benz, Mazda, MG, Mitsubishi, Toyota
3. โครงการผลิต Battery Electric Vehicle (BEV) จำนวน 15 โครงการ ได้แก่ BYD, FOMM, GWM, Honda, Horizon, Mazda, Mercedes Benz, MG, Mine Mobility (2 โครงการ), Mitsubishi, Nissan Skywell, Takano, Toyota
4. โครงการผลิตรถบัสไฟฟ้า (E-bus) จำนวน 2 โครงการ ได้แก่ Absolute Assembly และสกุลฎ์ซี มีมูลค่าการลงทุนรวม 80,208.6 ล้านบาท (ไม่รวมค่าที่ดินและเงินทุนหมุนเวียน) กำลังการผลิตจำนวน 838,775 คัน แยกเป็น HEV 38,623.9 ล้านบาท 440,955 คัน, PHEV 11,665.6 ล้านบาท 137,600 คัน, BEV 27,745.2 ล้านบาท 256,220 คัน และ Battery Electric Bus 2,173.8 ล้านบาท 4,000 คัน
โดยบริษัทที่เริ่มการผลิตเพื่อจำหน่ายเชิงพาณิชย์แล้ว ได้แก่ Absolute Assembly, BMW, FOMM, GWM, Honda, Mercedes Benz, MG, Mitsubishi, Nissan, Takano, Toyota และยังมีอีกหลายโครงการที่มีแผนที่จะผลิตเพื่อจำหน่ายเชิงพาณิชย์ในปี 2566 และ 2567 ตามลำดับ
นอกจากนี้ ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าหลายโครงการมีแผนจะดึงซัพพลายเออร์จากต่างประเทศมาลงทุนในประเทศไทยเพิ่มเติมอีกในอนาคตอันใกล้ โดยบีโอไอรายงานว่าในปัจจุบันมีการอนุมัติส่งเสริมการลงทุนโครงการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไฟฟ้าแล้ว 35 โครงการ จาก 26 บริษัท มูลค่ารวม 15,410.2 ล้านบาท ระบบระบายความร้อนของแบตเตอรี่ และอุปกรณ์สำหรับสถานีอัดประจุไฟฟ้า เป็นต้น
╔═══════════╗
ไม่พลาดบทความสาระดีๆ ที่ Reporter Journey ตั้งใจสร้างสรรเพื่อผู้ติดตามทุกท่าน อย่าลืมกดติดตามเพจ ติดตาม Reporter Journey ได้ทุกช่องทางที่
╚═══════════╝
.
ติดตาม Reporter Journey ได้ทุกช่องทางที่
Line : @reporterjourney
โฆษณา