18 ก.ย. 2022 เวลา 08:18 • การศึกษา
[ตอนที่ 75] Review คอร์สเรียนออนไลน์ “อักษรล้านนาขั้นกลาง” ของโฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา จ.เชียงใหม่
**หมายเหตุ**
บทความนี้เป็น Customer Review (CR) ที่เจ้าของบล็อกไม่ได้รับสิ่งตอบแทนในการเขียนรีวิว หรือได้รับการสนับสนุนใด ๆ จากทางโฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา จ.เชียงใหม่ แต่เป็น Review ในฐานะที่เจ้าของบล็อกสมัครลงทะเบียนเรียนเอง
1
เนื่องจากช่วงกลางปีนี้ ผมได้ไปสมัครลงคอร์สเรียนอักษรล้านนาขั้นกลาง (สำหรับผู้มีพื้นฐานมาบ้างแล้ว) จากศูนย์การเรียนรู้เอกชนในเชียงใหม่ เลยเขียน Review หลังจบคอร์สครับ
1
ส่วนเนื้อหาตอนนี้จะเป็นอย่างไรนั้น...เชิญอ่านได้เลยครับ
**Review คอร์สเรียนออนไลน์ “อักษรล้านนาขั้นพื้นฐาน” สามารถดูได้ที่
ทางโฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา จ.เชียงใหม่ ได้เปิดคอร์สเรียนอักษรล้านนาขั้นกลาง (แบบเรียนออนไลน์) เมื่อเดือนมิถุนายน - สิงหาคม ค.ศ.2022 ที่ผ่านมา ซึ่งเจ้าของบล็อกก็มีโอกาสสมัครลงเรียน สำหรับเนื้อหาตอนนี้จึงจะกล่าวถึง “คอร์สอักษรล้านนาขั้นกลาง” เท่านั้นครับ
1) จำนวนคนเรียนในคอร์ส :
จำนวนคนเรียน 1 คน
2) อาจารย์ผู้สอนและภาษาที่ใช้ในการสอน :
อาจารย์ผู้สอนในคอร์สนี้เป็นอาจารย์คนไทย และใช้ภาษาไทยในการสอน
3) โปรแกรมที่ใช้เรียนออนไลน์ : ใช้โปรแกรม Zoom และไม่มีการอัดวีดีโอให้ดูย้อนหลัง
4) เอกสารหรือหนังสือที่ใช้ประกอบการเรียน :
คอร์สนี้มีเอกสารประกอบ โดยทางครูผู้สอนจะส่งให้ทางอินเตอร์เนต แต่เนื้อหาส่วนหนึ่งจะเน้นให้ผู้เรียนจดในคาบเรียนเอง
5) ขอบเขตของเนื้อหาของคอร์ส :
เนื้อหาในคอร์สอักษรล้านนาขั้นกลาง จะครอบคลุมเรื่องของคำยืมภาษาบาลี-สันสกฤตที่เขียนด้วยอักษรล้านนา และการฝึกถอดเนื้อหาที่เขียนในอักษรล้านนาที่ยาวขึ้น โดยเป็นประโยค ย่อหน้า หรือยาวในระดับหลายหน้า (ต่างจากคอร์สอักษรล้านนาขั้นพื้นฐาน ที่เน้นถอดเนื้อหาที่เป็นคำสั้น ๆ)
บันทึกของ "หนุ่มมาเก๊า" จากเนื้อหาเรื่องการสะกดอักษรล้านนาในคำยืมจากภาษาบาลี
บันทึกของ "หนุ่มมาเก๊า" จากเนื้อหาเรื่องการสะกดอักษรล้านนาในคำยืมจากภาษาบาลี
6) เนื้อหาที่เรียนในคอร์สอักษรล้านนาขั้นกลาง
- การสะกดอักษรล้านนาในคำยืมจากภาษาบาลี
- การสะกดอักษรล้านนาในคำยืมจากภาษาสันสกฤต
- การฝึกถอดอักษรล้านนาในคำยืมทั้งจากภาษาบาลี-ภาษาสันสกฤต
- คำยืมภาษาบาลี-สันสกฤต ในวลี/ประโยคยาว
- การฝึกถอดอักษรล้านนาจากเนื้อความตามตำราเก่าของล้านนา บทสวดมนต์และบทกรวดน้ำแบบล้านนา (เนื้อหาที่แปลยาวหลายหน้า)
บันทึกของ "หนุ่มมาเก๊า" จากเนื้อหาเรื่องการสะกดอักษรล้านนาในคำยืมจากภาษาสันสกฤต
บันทึกของ "หนุ่มมาเก๊า" จากเนื้อหาเรื่องการสะกดอักษรล้านนาในคำยืมจากภาษาบาลี (แบบวลียาว ๆ)
ภาพจากหน้าจอระหว่างที่ "หนุ่มมาเก๊า" กำลังฝึกถอดเนื้อหาในอักษรล้านนาตามเอกสารเก่า ในคอร์สอักษรล้านนาขั้นกลาง
7) สิ่งที่เจ้าของบล็อกชอบในคอร์สอักษรล้านนาคอร์สนี้ :
- อาจารย์ผู้สอนมีจังหวะให้ผู้เรียนฝึกออกเสียงตามภาษาล้านนา (กำเมือง) และมีเวลาเว้นช่วงให้ฝึกแกะฝึกแปลคำในอักษรล้านนาพอสมควร
- อาจารย์เข้าใจข้อจำกัดของนักเรียนที่ไม่ได้มีภูมิลำเนาอยู่ในภาคเหนือ (อย่างเรื่องการออกเสียง สำเนียง หรือการติดกับอักษรไทยที่เคยชิน)
- เนื่องจากมีนักเรียนลงเรียนในคอร์สน้อย หากอาจารย์ติดธุระอื่นหรือผู้เรียนไม่สามารถเข้าเรียนในคาบได้ ก็สามารถนัดเรียนในวันอื่นได้ตามที่ตกลง
- ช่วงเวลาที่เรียนต่อสัปดาห์ สัปดาห์ละ 1 วัน วันละ 2 ชั่วโมง ถือว่าเหมาะสม
8) การสอบเพื่อวัดผลการเรียนในคอร์สและใบประกาศนียบัตร :
ไม่มีการสอบวัดผล และทางโฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา จะส่งใบประกาศนียบัตร (จะเรียกว่า “ใบป่าว”) ทางไปรษณีย์
9) จำนวนชั่วโมงและค่าเรียน :
16 ชั่วโมง 1,500 บาท (รวมค่าส่งใบป่าว และไม่รวมค่าอุปกรณ์การเรียน)
หวังว่า Review คอร์สเรียนออนไลน์ “อักษรล้านนาขั้นกลาง” ของโฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา จ.เชียงใหม่ จะเป็นข้อมูลสำหรับผู้ที่สนใจมองหาคอร์สเรียนเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นในประเทศไทย ในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ครับ
สำหรับเพจ Facebook ของโฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา ที่จะมีประกาศและรายละเอียดคอร์สต่าง ๆ ทางด้านศิลปวัฒนธรรม สามารถดูได้ที่ https://www.facebook.com/โฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา-Lanna-Wisdom-School-432389553594249/
โฆษณา