Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
การขนส่งสินค้าทางอากาศ
•
ติดตาม
20 ก.ย. 2022 เวลา 13:50 • การศึกษา
ค่าขนส่งสินค้าทางอากาศ ตอนที่ 11
ค่าขนส่งสินค้าทางอากาศ ตอนที่ 11
สินค้าที่รัฐบาลส่งเสริมและเป็นที่นิยมใช้ในประเทศไทย
อัตราค่าระวางขนส่งสินค้าประเภทระบุชนิดสินค้า (Specific Commodity Cargo Rate-SCR)
วันนี้เรามาดูประเภทที่ 2 จากอัตราค่าขนส่งสินค้าทางอากาศ มีทั้งหมด 4 ประเภท (ต่อ)
1.
อัตราค่าระวางขนส่งสินค้าทั่วไป (General Cargo Rate-GCR)
2.
อัตราค่าระวางขนส่งสินค้าประเภทระบุชนิดสินค้า (Specific Commodity Cargo Rate-SCR)
3.
อัตราค่าระวางขนส่งสินค้าประเภทระบุกลุ่มสินค้า (Commodity Class Rate-CCR)
4.
อัตราค่าระวางขนส่งตามชนิดของภาชนะบรรทุกสินค้า (ULD RATE)
จากสองครั้งที่ผ่านมา เราได้ทราบเกี่ยวกับอัตราค่าระวางขนส่งสินค้าทั่วไป (General Cargo Rate-GCR)และอัตราค่าระวางขนส่งสินค้าประเภทระบุชนิดสินค้า (Specific Commodity Cargo Rate-SCR) ไปแล้วบางส่วน โดยเฉพาะการใช้ SCR Item No. ที่เป็นตัวเลข 4 ตำแหน่งสำหรับการกำกับประเภทสินค้าทั้ง 10 กลุ่ม และแต่ละกลุ่มเป็นสินค้าประเภทใด
สำหรับตอนนี้เราจะมาดูว่าสินค้าที่รัฐบาลส่งเสริมและเป็นที่นิยมใช้ในประเทศไทย โดยใช้อัตราค่าระวางขนส่งสินค้าประเภทระบุชนิดสินค้า (Specific Commodity Cargo Rate-SCR) มีประเภทใดบ้าง ติดตามต่อไปครับ..
การนำอัตราค่าระวางขนส่งสินค้าประเภทระบุชนิดสินค้า (Specific Commodity Cargo Rate-SCR) ไปใช้งาน ด้วยเป็นอัตราค่าระวางขนส่งสินค้าแบบพิเศษที่ IATA กำหนดอัตราค่าระวางขนส่งสินค้าขึ้นมาในลักษณะเฉพาะตามประเภทของสินค้า ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นชิ่งทางให้กับรัฐบาลนไปใช้ในการสนับสนุนนโยบายเพื่อการส่งออกของประเทศ โดยใช้กับสินค้าที่ประเทศนั้นสามารถผลิตได้จำนวนมาก เช่น ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม
อัตราค่าระวางขนส่งประเภทนี้ก็จะถูกนำมาใช้กับสินค้าที่เป็นผลผลิตทางการเกษตรเป็นหลัก สายการบินแห่งชาติก็จะเป็นผู้นำในการกำหนดราคาค่าขนส่งแต่ละ SCR Item No.
เพื่อการแข่งขันกับสายการบินอื่นๆ ที่ให้บริการเส้นทางเดียวกัน จนทำให้มีการเกิดขึ้นของ “อัตราค่าขนส่งแบบ Market Driven Rate” เป็นอัตราราคาค่าขนส่งที่แต่ละสายการบินกำหนดราคาเพื่อแข่งขันกัน เพื่อแย่งส่วนแบ่งของการตลาดในการให้บริการและสร้างรายได้ให้กับตนเอง จนส่งผลประโยชน์สูงสุดกับผู้ใช้บริการที่สามารถส่งสินค้าได้ในราคาที่ถูกลง เพิ่มปริมาณการขนส่งได้มากขึ้น และสามารถสร้างรายได้ให้กับประเทศได้มากขึ้นตามไปด้วย
สินค้าจากผลิตผลทางการเกษตรที่ประเทศไทยให้การส่งเสริม และมีอัตราค่าขนส่งถูกกว่าราคาค่าขนส่งสินค้าทั่วไป สามารถสรุปและนำมายกตัวอย่างได้ ดังนี้
SCR. Item No.
จากตารางแสดง SCR. Item No. ข้างบนเป็นตัวอย่างพียงบางรายการเท่านั้น ซึ่งเป็นสินค้าที่พบมากในการส่งออกสินค้าระหว่างประเทศของไทย ต่อไปเรามาดู อัตราค่าขนส่งเปรียบเทียบกันระหว่าง อัตราค่าขนส่งแบบ GCR และ SCR จากกรุงเทพฯ (BKK) ไปไต้หวัน (TPE)
ตารางอัตราค่าขนส่งเปรียบเทียบกันระหว่าง อัตราค่าขนส่งประเภท GCR และประเภท SCR
อัตราค่าขนส่งประเภท GCR และประเภท SCR
จากตารางอัตราค่าขนส่งเปรียบเทียบกันระหว่าง อัตราค่าขนส่งประเภท GCR และประเภท SCR จะแสดงให้เห็นถึงรายละเอียด ดังนี้
Note 1. เป็นราคาค่าขนส่งขั้นต่ำในการขนส่งสินค้าจากกรุงเทพไปไต้หวัน (700 THB/Shipment)
Note 2. เป็นอัตราค่าขนส่งประเภท GCR แบบ N-Rate เมื่อขนส่งสินค้าจากกรุงเทพไปไต้หวัน ที่มีน้ำหนักรวมของสินค้าในครั้งนั้นน้อยกว่า 45 กิโลกรัม หมายเหตุ ผลคูณต้องนำไปเปรียบเทียบกับ M (Note 1.) ว่ามีราคามากกว่าหรือไม่ ถ้าน้อยหว่าต้องใช้ M (73 THB/Kg.)
Note 3. เป็นอัตราค่าขนส่งประเภท GCR แบบ Q-Rate เมื่อขนส่งสินค้าจากกรุงเทพไปไต้หวัน ที่มีน้ำหนักรวมของสินค้าในครั้งนั้นตั้งแต่ 45 กิโลกรัมขึ้นไป (55 THB/Kg.)
Note 4. เป็นอัตราค่าขนส่งประเภท SCR รหัสสินค้า 0006-อาหาร/เครื่องปรุง/เครื่องดื่ม เมื่อขนส่งสินค้าจากกรุงเทพไปไต้หวัน ที่มีน้ำหนักรวมของสินค้าในครั้งนั้นตั้งแต่ 100 กิโลกรัมขึ้นไป (35 THB/Kg.)
Note 5. เป็นอัตราค่าขนส่งประเภท SCR รหัสสินค้า 0007-ผัก/ผลไม้ เมื่อขนส่งสินค้าจากกรุงเทพไปไต้หวัน ที่มีน้ำหนักรวมของสินค้าในครั้งนั้นตั้งแต่ 100 กิโลกรัมขึ้นไป (28 THB/Kg.)
Note 6. เป็นอัตราค่าขนส่งประเภท SCR รหัสสินค้า 0006-ผัก/ผลไม้ เมื่อขนส่งสินค้าจากกรุงเทพไปไต้หวัน ที่มีน้ำหนักรวมของสินค้าในครั้งนั้นตั้งแต่ 250 กิโลกรัมขึ้นไป (25 THB/Kg.)
Note 7. เป็นอัตราค่าขนส่งประเภท SCR รหัสสินค้า 0300-ปลากิน/อาหารทะเล เมื่อขนส่งสินค้าจากกรุงเทพไปไต้หวัน ที่มีน้ำหนักรวมของสินค้าในครั้งนั้นตั้งแต่ 100 กิโลกรัมขึ้นไป (36 THB/Kg.)
Note 8. เป็นอัตราค่าขนส่งประเภท SCR รหัสสินค้า 1401-ต้นกล้าของพืช/หน่อของพืช/เมล็ด/พืช/ ดอกไม้ เมื่อขนส่งสินค้าจากกรุงเทพไปไต้หวัน ที่มีน้ำหนักรวมของสินค้าในครั้งนั้นตั้งแต่ 45 กิโลกรัมขึ้นไป (40 THB/Kg.)
Note 8. เป็นอัตราค่าขนส่งประเภท SCR รหัสสินค้า 1401-ต้นกล้าของพืช/หน่อของพืช/เมล็ด/พืช/ ดอกไม้ เมื่อขนส่งสินค้าจากกรุงเทพไปไต้หวัน ที่มีน้ำหนักรวมของสินค้าในครั้งนั้นตั้งแต่ 100 กิโลกรัมขึ้นไป (36 THB/Kg.)
จากแต่ละรายการข้างต้นจะเห็นว่า สินค้าแต่ละประเภทที่แตกต่างกันจะมีอัตราค่าขนส่งต่อกิโลกรัมแตกต่างกัน ดังนั้น เวลาที่จะส่งออกสินค้าหรือคำนวณต้นทุนสินค้าในการค้าขายระหว่างประเทศจะต้องพิจารณาประเภทสินค้าให้ถูกต้อง ถ้าไม่เข้าใจสามารถสอบถามจากบริษัทสายการบินหรือบริษัทตัวแทนได้ครับ นอกจากนั้น ในแต่ละเมืองที่เราจะส่งสินค้าไปก็จะมีการกำหนดราคาแตกต่างกัน ประเภทสินค้าแตกต่างกัน
โปรดติดตามตอนต่อไป....อัตราค่าระวางขนส่งสินค้าประเภทระบุกลุ่มสินค้า (Commodity Class Rate-CCR)
ติดตามความรู้ ข่าวสาร และกิจกรรมเพิ่มเติมได้ที่ :
เพจ การขนส่งสินค้าทางอากาศ
https://web.facebook.com/aircargo.th
Facebook Public Group : AC TEAM : ชุมชนการขนส่งสินค้าทางอากาศ
https://web.facebook.com/groups/ac.team.group/
1 บันทึก
2
1
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย