22 ก.ย. 2022 เวลา 12:25 • สุขภาพ
#บ่าลิดไม้​ หรือ​ ลิ้นฟ้า​ หรือ เพกา
กับการลดไขมัน
เพกา (Oroxylum indicum (L.) Vent.)
สรรพคุณ : ช่วยบำรุงร่างกาย บำรุงธาตุ ขับลม ช่วยย่อยอาหาร ลดโคเลสเตอรอล เพิ่มการไหลเวียนของเลือด
?? เพกากับฤทธิ์ลดไขมัน ??
- มีการศึกษาในระดับเซลล์ พบว่าสาร Oroxylin A ในเพกาสามารถกดการสะสมไขมันในเซลล์ได้อย่างมีนัยสำคัญ และสามารถสลายเซลล์ไขมันได้
- นอกจากนี้ฝักเพกายังประกอบด้วยสาร Flavonoids ชนิด Baicalein และ Chrysin และพบว่าสารสกัดเพกาความเข้มข้น 200 ไมโครกรัม/มล. มีฤทธิ์ต้านการสร้างเซลล์ไขมัน สามารถลดระดับไขมันในเซลล์ไขมันได้ โดยไม่ก่อให้เกิดพิษ โดยสารสกัดเพกาจะสามารถลดการแสดงออกของตัวรับ PPAR-gamma2 และยีนที่ควบคุมการสร้างไขมันได้
- การศึกษาในมนุษย์ที่เปรียบเทียบการรับประทานแคปซูลเพกาวันละ 3.6 กรัมเป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ ในผู้ป่วยที่มีระดับ LDL คอเรสเตอรอล 130-190 มก./ดล พบว่าสามารถลด LDL โคเลสเตอรอลได้ประมาณ 7 มก./ดล โดยลดลงมากกว่ากลุ่มยาหลอกอย่างมีนัยสำคัญ
**ดังนั้นสารสกัดเพกาอาจเป็นตัวเลือกหนึ่งในการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ลดไขมันได้ในอนาคต
ข้อควรระวัง : ระวังการใช้ร่วมกับยากลุ่มต้านการแข็งตัวของเลือด เช่น วาร์ฟาริน ,แอสไพริน เนื่องจากอาจเสริมฤทธิ์กัน หญิงตั้งครรภ์ไม่ควรรับประทาน เพราะมีฤทธิ์ร้อน อาจทำให้แท้งบุตรได้ ฤทธิ์ร้อน อาจระคายเคืองกระเพาะอาหาร เมล็ดแก่มีพิษ ห้ามรับประทานดิบ
บอกลาไขมันในเลือด ด้วย 12 ผักพื้นบ้านใกล้ตัว
.
.
🔹 1.) มะเขือเทศ
เป็นผักที่มีไลโคปีนสูง มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและสามารถลดระดับไขมันชนิดเลวได้ดี จากการศึกษาพบว่า หากรับประทานมะเขือเทศเป็นหลักอย่างสม่ำเสมอ สัปดาห์ละ 7-10 มื้อ จะลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดได้
.
🔹2.) กระเทียมสด
มีสารอัลลิซินและอะโจอิน ซึ่งมีฤทธิ์ยับยั้งกระบวนการสร้างสารคอเลสเตอรอลในร่างกาย และมีฤทธิ์ต้านการก่อไขมันอุดตันในหลอดเลือดได้
.
🔹3.) พริกไทยดำ
มีสารสำคัญคือ "ไปเปอรีน" ที่สามารถลดการซึมผ่านของคอเลสเตอรอลจากลำไส้เล็กเข้าสู่กระแสเลือดได้
.
🔹4.) ข่า
มีสารกลุ่มแทนนิน ช่วยต้านกระบวนการย่อยสลายไขมันในลำไส้ ทำให้ไขมันที่บริโภคไม่สามารถดูดซึมเข้ากระแสเลือดได้ และถูกขับออกมากับกากอาหารอื่น อีกทั้งยังช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ ฟอสโฟไลปิด และเพิ่มระดับไขมันชนิดดี (HDL)
.
🔹5.) เหง้าขิง
มีสารสำคัญกลุ่มน้ำมันหอมระเหยและยางเรซิน สามารถลดคอเลสเตอรอลได้ โดยไขมันจะถูกขับออกมาพร้อมกับกากอาหารอื่นเพิ่มขึ้น แต่ไม่มีผลลดระดับไตรกลีเซอไรด์
.
🔹6.) พริกชี้ฟ้า
มีสารสีแดงกลุ่มแคโรทีนอยด์ชื่อ “แคปแซนติน” ซึ่งช่วยให้ระดับไขมันชนิดดีสูงขึ้นได้
.
🔹7.) ใบมะรุม
ออกฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ เช่นเดียวกับยาลดไขมันกลุ่มสแตติน เช่น พราวาสแตติน ทำให้การสังเคราะห์คอเลสเตอรอลในร่างกายลดลง
.
🔹8.) ใบตะไคร้
จากการทดลองทานน้ำต้มใบตะไคร้ พบว่าส่งผลให้ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดและไขมันชนิดไม่ดีลดลงตามขนาดที่กินได้ แต่ไม่มีผลลดระดับไตรกลีเซอร์ไรด์
.
🔹9.) ผักบุ้ง
จากการทดลองพบว่า สามารถช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ที่ทำให้มีไขมันสูงได้ทั้งในเลือด ตับ ไต และหัวใจได้อย่างมีนัยสำคัญ
.
🔹10.) มะขามป้อม
มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงมาก และมีสารออกฤทธิ์กลุ่มฟลาโวนอยด์และโพลีฟีนอล ช่วยลดการสังเคราะห์ไขมันและเสริมการทำลายคอเลสเตอรอในร่างกาย ช่วยลดระดับโคเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์และ LDL ลงได้ด้วยกลไกลดการดูดซึมในระบบทางเดินอาหาร และเพิ่มการขับถ่ายไขมันออกมาพร้อมกับกากอาหารอื่น
.
🔹11.) มะระขี้นก
ออกฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ที่ทำให้การสังเคราะห์คอเลสเตอรอลในร่างกายลดลง
.
🔹12.) ลูกเดือย
จากผลการวิจัยพบว่าในลูกเดือยมีสารกลุ่มโพลีฟีนอล ซึ่งออกฤทธิ์ลดคอเลสเตอรอล ต้านอนุมูลอิสระ และลดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดได้
.
พืชผักหรือเครื่องเทศของบ้านเรานั้นมีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย หากินได้ง่าย ราคาไม่แพง จึงเป็นส่วนประกอบสำคัญที่เราควรเลือกใช้ในการประกอบอาหาร เพื่อให้ได้ประโยชน์ที่ดีต่อสุขภาพ ห่างไกลโรค และห่างไกลหมอได้ด้วยนะคะ สิ่งดีๆ หาได้รอบตัวเราค่ะ : )
POSTED 2022.09.22
โฆษณา