23 ก.ย. 2022 เวลา 04:33 • ข่าว
ข้อสอบที่ไม่ควรมีคำตอบเดียว....
เมื่อวันที่ 21 กันยายนที่ผ่านมา ได้มีการแชร์ ถึงข้อสอบชุดหนึ่งจากโรงเรียน มัธยมวัดธาตุทอง เป็นข้อสอบปลายภาคของวิชา สาระร่วมสมัย ของนักเรยนชั้น ม.6 โดยมีข้อสอบถึง 4 ข้อ ให้นักเรียนเลือกทำ 2 ข้อ ข้อละ 25 คะแนน พร้อมทั้งกติกาอย่างชัดเจน โดยข้อสอบเป็นแบบอัตนัย
cr. เฟสบุ๊ค สรยุทธ สุทัศนะจินดา กรรมกรข่าว
ที่น่าสนใจคือคำถามแต่ละข้อ ซึ่งนำเรื่องที่ ดู sensitive ของสังคมไทยมาตั้งคำถาม
ข้อ 1. ที่พูดถึงประเด็นรักชาติ ว่ามีการนิยามแตกต่างกันในแต่ละช่วงวัย ถามความเห็นผู้ตอบว่าจะอธิบายยังไงถ้ามีคนมาบอกว่าตนไม่รักชาติ เพียงเพราะมีนิยามที่แตกต่างกัน
ข้อ 2. หากได้เป็นตัวแทนไปพูดในที่ประชุม สมัชชาสหประชาชาติ จะหยิบยกประเด็นเร่งด่วนไหนไปพูด ให้กับทุกคน
ข้อ 3. ที่พูดถึงประเด็น ทุจริต คอร์รัปชัน ว่าถ้าหาก บิดา หรือมารดาตน เป็นผู้ทำเสียเอง แต่เป็นการนำเงินนั้นมาส่งเสียเลี้ยงดู จะมีความคิดเห็นอย่างไร
ข้อ 4. ประเทศไทยได้ชื่อว่าเป็นเมืองพุธ แต่ก็มีเปิดโอกาสให้ทุกคนนับถือศาสนาได้อย่างเสรี ในทางกลับกันเมื่อถึงวันสำคัญทางศาสนาพุธ กลับมีการงดจำหน่ายสุรา และแอลกอฮอล์ ซึ่งส่งผลต่อคนศาสนาอื่น นักเรียนมีความคิดเห็นอย่างไร และจะมีวิธีแก้ไขอย่างไร
ต้องบอกเลยว่าเป็นคำถามปลายเปิดที่น่าสนใจมากๆ เพราะเท่าที่อ่านแล้วขนาดผู้เขียนบทความนี้เอง ก็ยังเลือกยากที่จะตอบ และยากกว่าที่จะเขียนคำตอบ เพราะ เป็นประเด็นที่เกี่ยวพันกันไปหลายด้าน ทำให้ต้องคิดและใช้เวลาตอบพอสมควร
1
หลังจากที่ได้มีการเผยแพร่ข้อสอบตัวนี้ ก็มีทั้งคนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยเข้ามา คอมเมนต์ ทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย แต่ส่วนมากก็จะมีในฝั่งที่เห็นด้วยมากกว่า
จากนั้นไม่นานคุณครู ผู้ออกข้อสอบได้มาโพสต์ ชี้แจงเอาไว้ในเฟสบุ๊คส่วนตัวว่า
"ครู" ต้องให้ "พื้นที่" เด็กเขาได้พูด ได้เขียน ได้แสดงความคิดของเขาออกมา จะขาว ดำ เทา ก็เรื่องของเขา มันไม่มี "ผิด" หรือ "ถูก" สำหรับคนที่ถามหา "เฉลย" หรือ "เกณฑ์คะแนน"
เกณฑ์คะแนนมีฮะ - เด็กตอบคำถามที่ถามให้เหตุผล หรือ อภิปรายได้ครบทุกประเด็น ก็ "50 คะแนน" ฮะ
cr. เฟสบุ๊ค สรยุทธ สุทัศนะจินดา กรรมกรข่าว
ส่วนเฉลย "ไม่มี" ฮะ เพราะไม่ได้ตั้งธงอะไรไว้ อยากอ่านในสิ่งที่เด็ก ม.6 คิด หรือ แสดงทัศนคติ ก็เท่านั้นเอง..
"นักเรียน" กับ "ครู" คิดไม่เหมือนกันได้ฮะ เราถกเถียง โต้แย้ง อภิปราย กันได้ ถ้าทำแบบนั้นไม่ได้เลย "ห้องเรียน" จะเป็น "ห้องเรียน" ได้ยังไง
ซึ่งพอคุณครู ออกมาชี้แจงแบบนี้ ก็ทำให้ความคิดเห็นเป็นไปในทิศทางเดียวกันคือ ชื่นชม คุณครู ที่ออกข้อสอบแบบนี้ และมี Mindset ที่เปิดรับกับความคิดเห็นของนักเรียน
สำหรับผมเองพออ่านข่าวนี้แล้วรู้สึกดีมากๆ ที่อย่างน้อยเห็นบุคลากรทางการศึกษาของไทย มีความคิดและกล้าที่จะออกมาทำในสิ่งที่แตกต่าง
ข้อสอบส่วนมากที่นักเรียนเจอ นั่นคือ ข้อสอบที่ถูกกำหนดคำตอบเอาไว้อยู่แล้ว และเมื่อตอบไม่ตรงกับคำตอบ ก็จะถูกตัดสินทันทีว่ามันผิด ทั้งๆ ที่บางข้อ คำถามเองก็ยังไม่ชัดเจน คำตอบเองยิ่งดูรู้สึก "อิหยังวะ" มากขึ้นไปอีก
ข้อสอบทีผมเห็นแล้วรู้สึกหงุดหงิดที่สุด คือของเด็กชั้นประถมและอนุบาล ที่มักจะมีเห็นแชร์อยู่ใน social กับคำตอบที่ดูจะเอาฮาของเด็กนักเรียน
แต่เมื่อคิดดูดีๆแล้วคำตอบเหล่านั้น ล้วนมาจากพื้นฐานทางสังคมและความคิดของเด็กคนนั้น ซึ่งสามารถสะท้อนตัวตนและบุคลิกเด็กได้เป็นอย่างดี
โรงเรียนแทนที่จะเป็นสถานที่ช่วยให้เด็ก มีความคิดสร้างสรรค์ที่มากขึ้น แต่กลับเป็นสถานที่ทำลายความคิดสร้างสรรค์ของเด็กแทน เพราะด้วยคำตอบตายตัวที่ถูกตั้งเอาไว้ ว่าต้องตอบแบบนี้ถึงจะถูก ซึ่งเป็นตัวทำลายความคิดสร้างสรรค์อย่างมาก
ด้วยสาเหตุนี้ผมเลยรู้สึกดีใจที่เห็นการตั้งคำถามแบบปลายเปิด และเปิดรับคำตอบที่ไม่จำเป็นต้องมีเฉลย เกิดขึ้น เพราะนั่นหมายถึงการกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ให้เกิดขึ้นด้วยเช่นกัน
ref. เฟสบุ๊ค สรยุทธ สุทัศนะจินดา กรรมกรข่าว
โฆษณา