24 ก.ย. 2022 เวลา 10:05 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
BigID By nForce Secure
Data Governance คืออะไร? เหตุใดจึงสำคัญกับองค์กร?
เรื่องวิธีหรือแนวทางในการจัดเก็บข้อมูลนั้น เชื่อว่าหลายๆ องค์กรกำลังพบเจอกับปัญหาที่หลากหลาย เพราะก่อนหน้านี้ใช้วิธีการจัดเก็บแบบเดิมๆ ไม่เคยจัดทำ Data Management ไม่รู้ว่าข้อมูลเก็บไว้ที่ไหนบ้าง ข้อมูลกระจัดกระจายไปทั่วองค์กร ข้อมูลชุดเดียวกันแต่เก็บซ้ำซ้อน ไม่รู้ว่าชุดไหนมีความเป็นปัจจุบันมากกว่ากัน
พอถึงเวลาที่จะนำไปใช้ก็จะต้องเจอกับปัญหาที่ว่า “ข้อมูลไม่มีคุณภาพ” ขาดความถูกต้องและครบถ้วน ซ้ำร้ายไปกว่านั้นหากเกิดการรั่วไหลของข้อมูล ก็ไม่สามารถถามหาความรับผิดชอบจากใครได้
จากปัญหาที่กล่าวมาดูเหมือนว่า การสร้างกรอบและแนวคิดสำหรับการจัดการข้อมูลขององค์กรจึงเป็นทางออกที่ดีในการแก้ปัญหา การจัดทำ “Data Governance” หรือ “ธรรมาภิบาลข้อมูล” เป็นสิ่งที่องค์กรต้องหันมาให้ความสำคัญอย่างจริงจัง เพื่อให้สามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
2
คำจำกัดความของ Data Governance
ภาพรวมของการสร้างกรอบและแนวคิดในการดำเนินการเรื่อง Data Governance นั้น หมายถึงการกำหนดสิทธิ์ หน้าที่ความรับผิดชอบในการบริหารจัดการข้อมูล ตั้งแต่ขบวนการจัดทำ วิธีการจัดเก็บ การจำแนกหมวดหมู่ การประมวลผลข้อมูล การเปิดเผยข้อมูล การตรวจสอบ เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่ถูกต้อง ปลอดภัย ปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สำหรับองค์กรในต่างประเทศได้มีการให้คำจัดกัดความของ Data Governance ที่แตกต่างกันไปบ้าง โดยเน้นไปที่การกำกับดูแลข้อมูล ยกตัวอย่างเช่น
  • Enterprise Data Management Council (EDM) - “Data Governance มีหน้าที่กำหนดและดำเนินการควบคุมแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดของการริเริ่มการจัดการข้อมูลให้สอดคล้องกับกลยุทธ์”
  • The Data Governance Institute (DGI) - “Data Governance เป็นการใช้การตัดสินใจและอำนาจในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับข้อมูล”
  • Data Management Association (DAMA) – “Data Governance เป็นการใช้อำนาจ การควบคุม และการตัดสินใจร่วมกัน (การวางแผน การตรวจสอบ และการบังคับใช้) เหนือการจัดการสินทรัพย์ข้อมูล"
จากตัวอย่างของคำจำกัดความของทั้ง 3 องค์กรนี้ จะสังเกตได้ถึงความแตกต่างเล็กน้อย ซึ่ง Data Governance ควรเป็นสิ่งที่องค์กรของเราต้องการให้เป็น สอดคล้องกับการนำไปใช้ ตัวอย่างเช่น เราจะกำหนดให้ Data Governance เป็น “กรอบงานการจัดการข้อมูลที่ขับเคลื่อนการกำกับดูแลข้อมูลแบบอัตโนมัติ ทำให้ข้อมูลสามารถใช้เป็นสินทรัพย์ที่มีคุณค่าได้” คำจำกัดความนี้หลีกเลี่ยงจากคำจำกัดความดั้งเดิมของการควบคุมอำนาจหน้าที่
และการบังคับใช้ ซึ่ง Data Governance ควรได้รับการปรับแต่งให้เข้ากับสิ่งที่จำเป็น เพื่อให้องค์กรของเราเข้าใจ ยอมรับ ปรับใช้ และสนับสนุนแนวทางในการทำ Data Governance เพื่อกำหนดทิศทาง และควบคุมให้ข้อมูลมีคุณภาพที่ดี
ขณะเดียวกัน Data Governance ยังสามารถดำเนินการทั้งในเชิกรุกและเชิงรับ ซึ่งการดำเนินการในเชิงรุกก็คือ เร่งการใช้ข้อมูลเพื่อขับเคลื่อนเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ด้วยการสร้างเครื่องจักรให้มีคุณลักษณะทางด้านสติปัญญาและความฉลาดเหมือนมนุษย์
และ Machine Learning (ML) คือการสอนให้ระบบคอมพิวเตอร์ทำการเรียนรู้ได้ด้วยตนเองโดยการใช้ข้อมูล รวมถึงการวิเคราะห์เพื่อสร้างมูลค่าทางธุรกิจ ส่วนในเชิงรับนั้นคือการปกป้องลูกค้า, บริษัทคู่ค้า และข้อมูลผู้บริโภคขององค์กรนั่นเอง
หากพูดให้เข้าใจง่ายๆ Data Governance ก็คือ “Framework” ซึ่งเป็นกรอบแนวคิด และกระบวนการบริหารจัดการ Data Management ที่มีแบบแผนชัดเจนตั้งแต่ต้นทางทั้งเรื่องที่มาของข้อมูล ผู้ดูแลข้อมูล ความปลอดภัยและสิทธิในการเข้าถึง
การทำ Data Governance ต้องเริ่มต้นจากจุดไหน?
การกำหนดแนวทาง Data Governance นั้นเป็นสิ่งที่เราสามารถเชื่อมโยงจุดต่างๆ ในการกำกับดูแลข้อมูลความปลอดภัยของข้อมูล และนโยบายความเป็นส่วนตัว ให้สอดคล้องกับรูปแบบในการดำเนินธุรกิจขององค์กร เพราะการทำ Data Governance ไม่ได้มีรูปแบบที่ตายตัว ขึ้นอยู่กับการกำหนดทิศทางขององค์กร
ดังนั้นทุกๆ ฝ่ายในองค์กรที่มีความเกี่ยวข้องกับการจัดเก็บข้อมูลต้องร่วมมือกันในการทำ Data Governance ซึ่งเป็นแนวทางที่จะช่วยลดปัญหาที่เกิดขึ้น โดยสิ่งสำคัญที่จะช่วยจัดการข้อมูลได้นั้น ประการแรกคือเราจะต้องรู้จักข้อมูลที่มีอยู่ในองค์กร ว่าข้อมูลที่มีอยู่หรือข้อมูลที่ต้องการจะเก็บนั้นเป็นข้อมูลประเภทไหน เพื่อที่จะได้คัดแยก หาวิธีจัดเก็บ และแบ่งหน้าที่รับผิดชอบ
ขณะเดียวกันต้องคำนึงถึงข้อกำหนดด้านความเป็นส่วนตัว เพื่อให้เจ้าของข้อมูลเกิดความมั่นใจในการนำข้อมูลไปใช้ ที่สำคัญก่อนที่เราจะจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคล ก็ต้องขอความยินยอมเสียก่อน พร้อมทั้งแจ้งจุดประสงค์การขอใช้หรือขอเก็บข้อมูล และต้องคุ้มครองดูแลข้อมูลนั้นไม่ให้รั่วไหล
โดยสรุปแล้ว Data Governance ก็คือกรอบแนวคิดในการบริหารจัดการข้อมูลตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง เพื่อผลลัพท์ที่ตอบโจทย์กับองค์กรในการนำข้อมูลที่มีคุณภาพไปใช้ มีความถูกต้องครบถ้วน และปลอดภัยกับเจ้าของข้อมูล ซึ่งการทำ Data Governance ให้ประสบความสำเร็จนั้น ผู้เชี่ยวชาญอย่าง BigID สามารถช่วยคุณเริ่มต้นการทำงานด้วยแพลตฟอร์ม Data Intelligence ช่วยให้องค์กรสามารถดำเนินธุรกิจบนโลกที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
บริษัท เอ็นฟอร์ซ ซีเคียว จำกัด (มหาชน) (SECURE) ผู้เชี่ยวชาญในด้านผลิตภัณฑ์รักษาความปลอดภัยทางเทคโนโลยีไซเบอร์ (Cyber Security) ในฐานะตัวแทนจำหน่ายและผู้ให้บริการอย่างครบวงจร โดยนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและมีชื่อเสียงระดับโลก เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าในด้านการรักษาความปลอดภัยทางเทคโนโลยีไซเบอร์
สามารถติดตามโซลูชั่นอื่นๆ ได้ทาง
โฆษณา