23 ก.ย. 2022 เวลา 09:32 • หุ้น & เศรษฐกิจ
ทำไมแบงก์ชาติไม่ควรตรึงค่าเงิน
(หรือถ้าจะทำก็ทำได้ไม่นานถ้าไม่ปรับนโยบาย)
1
🚀ระยะหลังเราเห็นแนวโน้ม #ค่าเงินบาท อ่อนค่าลงไปค่อนข้างมาก เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ล่าสุดหลุดไปเกิน 37 บาทต่อดอลลาร์แล้ว อ่อนที่สุดตั้งแต่ปี 2006
2
🎢จนมีข้อเสนอให้แบงก์ชาติกลับไป #ตรึงค่าเงิน ที่ 35 บาทต่อดอลลาร์ เพราะกลัวว่าค่าเงินจะไหลไปเกิน 50 บาทเหมือนยุคต้มยำกุ้ง ข้อเสนอดังกล่าวค่อนข้างน่าเป็นห่วง ถ้ามีแรงกดดันจากฝ่ายการเมืองแบบนั้นจริงๆ
2
ลองมาไล่กันนิดนึงว่านโยบายแบบนั้นทำได้จริงหรือไม่?
3
💸อัตราแลกเปลี่ยนคือ ราคาเปรียบเทียบของเงินสกุลหนึ่งเทียบกับเงินอีกสกุลหนึ่ง และเป็นเครื่องมือสำคัญในการรองรับ shock ที่เกิดขึ้นกับเศรษฐกิจ การไปพยายามตรึงค่าเงินจึงเป็นการสะสมความไม่สมดุล และอาจจะนำไปสู่การปรับครั้งใหญ่ คล้ายๆที่เกิดกับวิกฤตต้มยำกุ้งได้
5
ค่าของเงินถูกกำหนดโดย demand และ supply ของเงินสกุลนั้น
💰เช่น demand เงินบาทก็คือความต้องการซื้อเงินบาท เช่น การส่งออกสินค้าและบริการ หรือ #เงินทุนเข้าประเทศ ที่อาจจะเข้ามาลงทุนหรือเก็งกำไร
1
💰ส่วน supply ก็คือความต้องการเอาเงินบาทออก เช่น การนำเข้าสินค้าและบริการ หรือ #เงินทุนไหลออก
ถ้าอัตราแลกเปลี่ยนตามตลาดอยู่ที่ 37 แปลว่า demand และ supply ตกลงราคากันอยู่แถวนั้น การตรึงค่าเงินที่แข็งกว่าที่ตลาด (เช่น 35) คือให้แบงก์ชาติไปตั้งโต๊ะเงินซื้อบาท ในราคาที่แพงกว่าตลาดอยากจะขาย (หรือ ขายดอลลาร์ในราคาถูกกว่าที่ตลาดอยากจะซื้อ)
1
แน่นอนก็คงตรึงอัตราแลกเปลี่ยนได้ในระยะสั้น แต่ถ้าปัจจัยพื้นไม่เปลี่ยน คงมีคนเอาเงินบาทมายกให้ แลกกับดอลลาร์ จน reserves หมดหน้าตักได้กันง่ายๆ
ปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญต่อค่าเงินบาทก็เช่น ดุลบัญชีเดินสะพัด ที่สะท้อนดุลการค้าสินค้าและบริการ (รวมถึงการท่องเที่ยว) และดุลบัญชีทุน ที่สะท้อนความน่าสนใจของต่างชาติมาลงทุนในไทย และคนไทยไปลงทุนต่างประเทศ (ทั้งลงทุนทางตรง เงินกู้ ลงทุนในหุ้นและพันธบัตร)
3
ซึ่งแม้จะมีคนบอกว่า #ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย ไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่มีผลต่ออัตราแลกเปลี่ยน แต่ทั้งในทฤษฎีและปฏิบัติก็ต้องยอมรับว่า ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยมีความสำคัญต่ออัตราแลกเปลี่ยนแน่ๆ โดยเฉพาะถ้าส่วนต่างนั้นใหญ่และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
1
💵นึกภาพว่าวันนี้ ใครเอาเงินไปฝากสามเดือนดอลลาร์ได้เกิน 3% แล้ว ฝากเงินบาทได้ 0.55% แม้จะมีความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน ถ้าไม่คิดว่าบาทจะแข็ง เอาเงินไปฝากดอลลาร์น่าสนใจมาก ถ้าคนเอาออกเยอะๆบาทก็อ่อน ยิ่งส่วนต่างตรงนี้ใหญ่ขึ้น ยิ่งทำให้ทางเลือกนี้เย้ายวนขึ้นไปอีก
1
ถ้าถามว่าเราตรึงค่าเงินให้นิ่งนานๆ ได้ไหม คำตอบก็คือได้ แต่แบงก์ชาติคงต้อง #แทรกแซงค่าเงิน กันมากกว่านี้ และเราต้องยอมเห็นทุนสำรองระหว่างประเทศขึ้นลงตามการเปลี่ยนแปลงของสภาพตลาดและปัจจัยพื้นฐาน
3
ในประเทศที่ตรึงค่าเงินไว้กับเงินสกุลใดสกุลหนึ่ง ก็ต้องยอมสละอัตราดอกเบี้ยให้ขยับตามดอกเบี้ยของประเทศนั้น เช่น ถ้าจะยึดค่าเงินไว้กับดอลลาร์สหรัฐ ในสถานการณ์ปัจจุบันก็ต้องเห็นอัตราดอกเบี้ยปรับขึ้นไปตาม Fed จะมานั่งคิดนั่งเลือกคงไม่ได้
3
ดังนั้น ถ้าวันนี้เราอยากเห็นค่าเงินแข็งขึ้น เราก็คงต้องลุ้นให้การท่องเที่ยวกลับมาเยอะๆเร็วๆ เร่งเสริมสร้างการแข่งขันของประเทศ ทำประเทศให้น่าสนใจ น่าลงทุน หรืออาจจะต้องปรับดอกเบี้ยขึ้นไม่ให้ส่วนต่างใหญ่ขนาดนี้
1
การแทรกแซงค่าเงินทำได้แค่ชะลอ หรือลดความผันผวนระยะสั้นเท่านั้น แต่จะยืนท้าลมแรงๆนานๆคงไม่ได้ โดยเฉพาะถ้าปัจจัยพื้นฐานไม่สอดคล้องกัน
นี่คือหลัก impossible trinity เลย
3
หรือไม่งั้นก็ต้องใช้ capital control ปิดประเทศกันไปเลย แต่ต้นทุนคงใหญ่มหาศาลทีเดียว และไม่ work ในระยะยาวอยู่ดี
#เพราะโลกนี้ไม่มีอะไรฟรี นโยบายทุกอย่างมีต้นทุนเสมอ
3
โฆษณา