24 ก.ย. 2022 เวลา 03:50 • ธุรกิจ
เซ็นทรัลเวิลด์ ในวันแรก ไม่ได้เป็นของ เซ็นทรัล
3
รู้ไหมว่า เซ็นทรัลเวิลด์ เคยชื่อ เวิลด์เทรดเซ็นเตอร์
แต่เจ้าของเดิมมีปัญหาด้านการเงิน จนสุดท้าย กลุ่มเซ็นทรัล มาเทกโอเวอร์ และสร้างโครงการใหม่ คือ เซ็นทรัลเวิลด์
5
เรื่องราวนี้ มันเป็นมาอย่างไร ?
BrandCase จะเล่ามุมนี้ที่หลายคนยังไม่รู้ให้อ่านกัน
1
เซ็นทรัลเวิลด์ ปัจจุบัน มีพื้นที่ศูนย์การค้าประมาณ 550,000 ตารางเมตร
ซึ่งถูกจัดว่ามีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก
7
แรกเริ่มนั้น พื้นที่แห่งนี้เคยเป็นที่ของวังเพ็ชรบูรณ์
1
โดยจุดเริ่มต้นของยุคศูนย์การค้า ณ พื้นที่แห่งนี้เริ่มต้นขึ้นเมื่อ นักธุรกิจชาวญี่ปุ่นได้เข้ามาใช้ที่ดินบริเวณดังกล่าว เพื่อก่อสร้างห้างสรรพสินค้า “ไทยไดมารู”
6
ไทยไดมารู เป็นห้างสรรพสินค้าสมัยใหม่ ที่มีการติดตั้งบันไดเลื่อนและเครื่องปรับอากาศ เป็นที่แรกของประเทศไทย โดยเปิดให้บริการในปี 2507
4
และในปีเดียวกัน กลุ่มเซ็นทรัล ก็มาเช่าที่ดินบริเวณข้าง ๆ กันนั้นเปิดเป็น เซ็นทรัล ราชประสงค์
โดยเปิดเป็นห้างชั้นเดียว ข้าง ๆ กันกับห้างไทยไดมารู
13
ต่อมาห้างสรรพสินค้าไทยไดมารู ย้ายไปอยู่ฝั่งตรงข้าม ซึ่งเป็นที่ตั้งของ Big C ราชดำริในปัจจุบัน
7
และในปี 2525 มีบริษัทชื่อ วังเพชรบูรณ์ ของนายอุเทน เตชะไพบูลย์ มาเช่าที่ดินระยะยาวในบริเวณนั้น
เพื่อที่จะพัฒนาโครงการมิกซ์ยูสโครงการใหญ่
2
โครงการนั้นชื่อว่า “เวิลด์เทรดเซ็นเตอร์”
ที่ตามแผนนั้นจะมีทั้งศูนย์การค้า อาคารสำนักงาน และโรงแรม ตั้งอยู่รวมกัน
1
เวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ สร้างส่วนของศูนย์การค้าเสร็จในปี 2532
และก็ได้มีห้างสรรพสินค้า ไปเช่าพื้นที่ในศูนย์การค้า นั่นคือ “ห้างเซน (Zen)” ที่เป็นห้างสรรพสินค้าของกลุ่มเซ็นทรัล
4
และในช่วงเดียวกัน ก็มีห้างสรรพสินค้าจากญี่ปุ่นชื่อ “อิเซตัน (Isetan)” มาเปิดสาขาแรกในประเทศไทย เมื่อปี 2535 บริเวณอีกฝั่งของเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์
แต่ปัจจุบัน อิเซตัน ไม่อยู่แล้ว เพราะเพิ่งไม่ต่อสัญญาเช่า และปิดตัวไปในปี 2563 ที่ผ่านมา
7
จุดเปลี่ยนสำคัญมาถึงในช่วงปลายปี 2545
เมื่อบริษัท วังเพชรบูรณ์ เจ้าของ เวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ ประสบปัญหาด้านการเงิน ไม่สามารถก่อสร้างโครงการส่วนที่เหลือ คือโรงแรม และอาคารสำนักงานได้สำเร็จ
จึงเป็นโอกาสให้บริษัทอื่นเข้ามาประมูล และทำกิจการต่อจากศูนย์การค้า เวิลด์เทรดเซ็นเตอร์
2
โดยมีบริษัทที่ให้ความสนใจอยู่ 2 บริษัท คือ
- เซ็นทรัลพัฒนา
- เดอะมอลล์ กรุ๊ป
3
ผลคือ เซ็นทรัลพัฒนา หรือ CPN ได้สิทธิบริหารเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ไป
1
จากนั้น CPN จึงได้มีการเปลี่ยนชื่อศูนย์การค้าเป็น “Central World Plaza” และ CPN ก็ได้ต่อเติมอาคารส่วนที่เหลือ ที่ยังสร้างไม่เสร็จ รวมถึงวางแผนก่อสร้าง และปรับปรุงอาคารต่าง ๆ
ตัวอย่างโครงการที่ทำขึ้นมาใหม่ หลังจาก CPN เข้ามาพัฒนา เช่น
- สร้างอาคารสำนักงาน The Offices at CentralWorld สูง 45 ชั้น พื้นที่ใช้สอย 80,000 ตารางเมตร
และหลังจากสร้างเสร็จในปี 2547 ทาง CPN ก็ได้ย้ายออฟฟิศ จากเดิมอยู่ที่เซ็นทรัลลาดพร้าว มาอยู่ที่นี่
3
- สร้าง Sky Walk จากสำนักงานและศูนย์การค้า ให้ไปเชื่อมกับ BTS สถานีสยาม และสถานีชิดลม
1
- ขยายศูนย์การค้าให้มีพื้นที่เช่าเพิ่มขึ้นอีก 70,000 ตารางเมตร
- ปรับปรุงห้างสรรพสินค้า Zen พร้อมสร้างอาคารทรงรีสูง 20 ชั้น เพื่อให้เป็นพื้นที่ อย่างเช่น โรงเรียนสอนภาษา สถาบันความงาม และร้านอาหารต่าง ๆ ซึ่งแล้วเสร็จในปี 2551
- สร้างโรงแรม 5 ดาว ขนาด 509 ห้อง ซึ่งก็คือ โรงแรม เซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์ เปิดให้บริการในปี 2551 บริหารโดย CENTEL ในเครือเซ็นทรัล
1
เมื่อโครงการต่าง ๆ เริ่มเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น
ในปี 2550 Central World Plaza ก็ใช้ชื่อใหม่คือ “CentralWorld”
6
ต่อมา กลุ่มเซ็นทรัล ก็ได้ตัดสินใจเปลี่ยนห้างสรรพสินค้า Zen ให้เป็น Central @CentralWorld
เนื่องจากแบรนด์ห้าง Central คุ้นหูคนไทยมากกว่า
ภาพรวมทั้งหมดในปัจจุบัน
ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ มีพื้นที่ศูนย์การค้าประมาณ 550,000 ตารางเมตร
ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก ตามการจัดอันดับของเว็บไซต์ Touropia
มีร้านค้าที่เช่าพื้นที่เกือบ 500 ร้าน บนพื้นที่กว่า 187,000 ตารางเมตร
8
โดยหลายแบรนด์ที่มาเช่าพื้นที่ของ Central World มักมาเปิดในรูปแบบสาขาใหญ่สุดในไทย ใหญ่สุดในภูมิภาค หรือบางแบรนด์ก็มาเปิดเป็นรูปแบบของร้านแฟลกชิปสตอร์
1
เช่น
- UNIQLO และ H&M ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
- MUJI, SWATCH ที่เปิดเป็นรูปแบบร้าน แฟลกชิปสตอร์ ภายในศูนย์การค้า
3
ที่สำคัญคือ เป็นที่ตั้งของ Apple Central World ที่เป็นแฟลกชิปสตอร์ ใหญ่สุดในไทย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อีกทั้งยังเป็นสาขาแรกของโลก ที่ใช้บานกระจกล้อมรอบทั้งอาคาร
3
สรุปแล้วเดิม เซ็นทรัลเวิลด์ ชื่อ เวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ แต่กลุ่มเซ็นทรัล ได้เข้ามาพัฒนาพื้นที่นี้ต่อ จึงเปลี่ยนชื่อมาเป็น เซ็นทรัลเวิลด์ แบบที่เราได้ยินกัน ในทุกวันนี้..
1
References
- รายงานประจำปี บมจ. เซ็นทรัลพัฒนาปี 2546
- รายงานประจำปี บมจ. เซ็นทรัลพัฒนาปี 2547
- เอกสารนำเสนอ บมจ. เซ็นทรัลพัฒนา ไตรมาส 2 เดือนสิงหาคมปี 2565
5
โฆษณา