1 ต.ค. 2022 เวลา 02:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ
The rise of uranium, The rise of Kazatomprom
ต้องบอกก่อนว่าผมไม่ได้เป็นนักลงทุนที่เก่งอะไรมาก ผมได้ไอเดียบริษัทนี้มาจากเพื่อน และเริ่มมาสนใจศึกษาได้ไม่นาน ถ้ามีผิดผลาดประการใดขออภัยนะที่นี้
ทำไมต้อง Nuclear Energy ?
ปัญหาหนึ่งของ renewable ไม่ว่าจะเป็น wind solar energy คือ ถ้าเราดูที่ life cycle ของ wind กับ solar energy จริงๆ เราจะเห็นว่ามีปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมอยู่ดีเพราะต้องใช้ เหล็ก คอนกรีต ,polysilicon เป็นจำนวนมากและไม่สามารถ recycle ได้ง่ายมากนัก ต้นทุนในการกำจัดแผงโซ่ลาร์เซลล์นั้นสูงมากทำให้สุดท้าย แผงโซลาร์เซลล์เหล่าก็ถูกนำได้ฝังกลบ ส่วน hydro ก็มีข้อเสียที่ไม่สามารถสร้างไฟฟ้าได้ในจำนวนมากๆได้ และการผลิตไฟฟ้าก็ไม่สม่ำเสมอ
แต่ถ้ามาดูที่พลัังงาน nuclear เป็นอะไรที่น่าสนใจมากกว่า เพราะเป็นแหล่งพลังงานเดียวที่สร้างมลพิษต่ำมาก เป็นพลังงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจริงๆ แล้ว power plant ก็สามารถใช้งานได้ 40-60 ปี บางที 80 ปี และมีประสิทธิภาพสูงมากกว่า ผลิตกระแสไฟฟ้าได้เป็นจำนวนมากๆ อุตสาหกรรม nuclear energy และ uranium เป็นsector hated sector ของชาติตะวันตกเป็นเวลานาน รัฐบาลมีการปิด nuclear reactor จากเหตุการณ์สินามึที่โรงไฟฟ้า Fukushima ญี่ปุ่นตอนปี 2011
แต่ภาพของอุตสาหกรรม nuclear energy และ uranium กำลังจะถูกเปลี่ยนผ่าน ประเทศไม่ว่าจะเป็น จีน อินเดีย UAE หรือประเทศใน แอฟริกาในบางประเทศเริ่มจะมีการ adopt ใช้โรงไฟฟ้า nuclear มากขึ้น ประเทศเหล่านี้เป็นประเทศนำเข้าพลังงาน ไม่ว่าจะเป็น ถ่านหิน แก๊ส และอื่น ซึ่งการใช้ uranium ดีมากกว่าเพราะการใช้ uranium 1 kg สามารถผลิตไฟได้ 24,000,000 kwh ในขณะที่ถ่านหิน 1kg สามารถผลิตได้แค่ 8 kwh
แล้วทำไมสนใจแต่ บริษัท uranium ไม่สนใจ โรงไฟฟ้า nuclear?
คำถามหนึ่งที่เพื่อนๆน่าจะถามคือทำไมสนใจแต่ บริษัท uranium ไม่สนใจ โรงไฟฟ้า nuclear ? ก็เพราะว่าบริษัท ที่ทำโรงไฟฟ้า nuclear จะมีการลงทุน capex ที่สูง หนี้เยอะ ในทางกลับกัน uranium น่าสนใจมากมากกว่าเพราะ เป็นธุรกิจ คอมโมมีวัฏจักรขาขึ้นขาลง ซึ่งจะให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า
Business model Kazatomprom
Kazatomprom เป็นบริษัทอันดับที่หนึ่งของโลกใน ด้าน natural uranium mining และเป็นบริษัทที่มีต้นทุนในการต่ำที่สุดในโลก ปัจจุบันมี 14 mining units และ 2 exploration projects และส่วนแบ่งการตลาดการผลิตคิดเป็น 24% ของโลก นอกจากนี้ยังมี 12 บริษัท JV ใน Kazakhstan ไม่ว่าจะเป็น แคนนาดา จีน ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น รัสเซีย
ปัจจัยในสำคัญในการดู Kazatomprom คือ ราคา spot ของ Uranium โดยธรรมชาติของธุรกิจโรงไฟฟ้า nuclear การทำสัญญากับ supplier เป็น long term contact เพื่อให้มี การันตี supply uranium ซึ่งราคาของ uranium contact จะตามกับราคาของ ร spot ของ uranium เป็นหลัก รูปล่างเป็นรูปแบบของสัญญาต่างๆ
Kazatomprom presentation
The mining of uranium
การขุดยูเรียมในอดีต จะเป็น การขุดแบบ open-pit mining หรือวิธีการขุด underground แต่ในปัจจุบันการขุดยูเรียมใช้วิธี In Situ Leach mining หรือ เรียกว่า In Situ Recovery (ISR) ภาษาไทยคือ เหมืองละลายแร่ โดยในปี 2020 การขุดแร่ยูเรเนียมใช้วิธีนี้มากกว่า 55% โดยสรุปง่าย
วิธีการขุด In Situ Leach ใช้สารละลายฉีด sulfuric acid เข้าไปในดินของพื้นที่ทำเหมืองแล้ว ทำการดูด uranium กลับขึ้นมาที่พื้นดิน ข้อดีของการขุดแบบนี้คือ ความเสี่ยงต่อผู้ปฎิบัติงานต่ำ ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานต่ำ และไม่ทำลายทัศนียภาพ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากกว่าวิธีขุด open-pit mining และวิธีการขุด underground ซึ่ง Kazatomprom ใช้วิธีขุดแบบนี้
Overview of ISR uranium mining
Supply chain of uranium and nuclear power plant
Nuclear Furl cycle
Process Uranium
Uranium mining U308-> Uranium refining -> Yellowcake -> Conversion -> Enrich -> Nuclear Power Plant
ปัญหาปัจจุบัน คือ ปัญหา supply chain ใน ส่วนของการ conversion กับ enrich uranium เพราะมีแค่ไม่กี่ประเทศที่ทำ conversion ได้แก่ Russia France Canada และ US และในส่วนของ enrich มีแค่ Russia, US และบริษัทในยุโรปอีกไม่กี่ประเทศ และ พอมีสงคราม Russia Ukraine
สหรัฐจำเป็นต้องปรับมาเพิ่ม supply ในส่วนนี้ด้วยตัวเองเพื่อลดการพึ่งพาการนำเข้าจากต่างชาติ โดยเฉพาะ Russia ปัจจุบัน US ยังไม่มีการ sanction Russia uranium Enrichment เพราะชาติตะวันตกเองก็ไม่มี capacity มากพอที่ enrichment โดยปริมาณ 40% ของ enrichment uranium serviceของโลก มาจาก รัสเซีย Rosatom
Russia Nuclear Fuel Supply Chain
ข้อมูลเพิ่มเติม
Overview ของอุตสาหกรรม uranium
ข้อมูลเกี่ยวข้องกับ Demand side
1. ในปัจจุบัน nuclear power plant ทั่วโลกมีทั้งหมดประมาณ 440 reactors ผลิตไฟฟ้าได้ 390 Gwe มีความต้องการในการใช้ uranium 62,500 tonnes of uranium (tU)
2. ทุกคนเริ่มมองเรื่องการปัญหาสิ่งแวดล้อม ทำให้หลายๆประเทศมีการเปลี่ยนมาใช้ renewable กันมากขึ้น แต่เหมือนที่ได้อธิบายไปคือ renewable ให้พลังงานได้ไม่สม่ำเสมอและก็ไม่เพียงพอ ซึ่ง nuclear เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง
3. Japan nuclear restarted
หลังจากเหตุการณ์ โรงไฟฟ้า Fukushima Daiichi ตอนปี 2011 ญี่ปุ่นได้มาใช้พลังงาน ถ่านหิน แก๊ส และพลังงานสะอาด เช่น solar โดยก่อนที่จะมีเหตุการณ์ Fukushima หนึ่งในสามของพลังงานมาจาก nuclear 54 reactors ตอนนี้มี operate แค่ 4 แต่พอปัจจุบัน มีสถานการณ์ Russia Ukranie ก็ทำให้ญี่ปุ่นไม่มีทางเลือกที่จะต้องมาใช้พลังงาน nuclear
เพราะ russia เป็น supplier coal และ แก๊สหลักของญี่ปุ่น ไม่กี่เดือนมานี่ Fumio Kishida นายกของญี่ปุ่นได้มีแผนที่จะ restart 9 nuclear reactorsใน ฤดูหนาวนี้ซึ่งตอนนี้กลับมา operate แล้ว 5 และมีแผนที่จะที่ให้พลังงาน nuclear กลับมาเป็น 20%-22% ของพลังงานไฟฟ้าทั้งหมดในญี่ปุ่นในปี 2030 จากปัจจุบันอยู่ที่ 5-6%
4. Germany U turn
เยอรมันเป็นยังประเทศที่มีปัญหาขาดแคลนพลังงาน ไม่ต่างจากญี่ปุ่น และต้องการที่จะเป็นอิสระจากพลังงานของ รัสเซีย เยอรมันเป็นประเทศที่เกลียด nuclear มาก แต่ก็ไม่มีทางเลือกเช่นกัน ตอนนี้มี 3 nuclear reactor ที่ยังทำงานอยู่ ตอนแรกจะปิด reactor ในปลายปี 2022 แต่ตอนนี้ ก็ต้องหยุดไอเดียเรื่องการปิด nuclear ไปก่อน เพราะ ปัญหา Russia Ukranie ทำให้ พลังงานขาดแคลน
5. นโยบายของจีน carbon peak 2030 zero carbon 2060, coal to gas
ปัจจุบันประเทศทั่วโลก ได้เห็นความสำคัญของสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยรัฐบาลจีนได้มีนโยบายว่า จะปล่อยคาร์บอน peak ในปี 2030 และอีก 30 ปี (2060) จะ net zero carbon โดย 80% ของพลังงานมาจาก net free carbon resource โดยในปี 2030 จีนมีแผนที่มีการผลิตไฟฟ้าที่มาจาก solar และ wind 1.2 terawatts แต่ก็ยังไม่เพียงพอกับความต้องการ หนึ่งในการที่ จีนจะ success net zero carbon 2060 ได้คือ พลังงาน nuclear โดยจีนมีแผนในการสร้าง 150 nuclear reactor ในอีก 15 ปีข้างหน้า
6. ยุโรปได้เปลี่ยนมุมมองต่อภาพของอุตสาหกรรม nuclear หลังจากไม่เห็นด้วยมาเป็นเวลานาน และได้จัด Gas และ nuclear ให้อยู่ใน green list of green energy และจะมีการ adopt ใช้ 1 มกราคม 2023
7.Biden’s Infrasturcture bill
รัฐบาลสหรัฐเริ่มมีการ สนับสนุน โครงสร้างพื้นฐานของ nuclear energy โดยมีดังนี้
1. Production tax credit to support at-risk power plants ($6B through 2026)
2. Funding secured for $3.5B of advanced nuclear power
3. $8B to support hydrogen which may include nuclear power
8. Small Modular Reactors
Small Modular Reactors หรือ SMR คือ nuclear reactor ขนาดเล็ก ปัจจุบัน มี บริษัทในอเมริกา Nuscale ได้รับการอนุมัติจาก regulator ของอเมริกาในการเผยแพร่สู่สาธารณะ แล้ว ข้อดีของ SMR คือ ขนาดเล็กขนาดที่สามารถขนด้วยรถบรรทุกได้ ใช้ใน scale ขนาดเล็กๆได้ เช่นโรงงานเป็นต้น ตอนนี้ เรื่องความปลอดภัย ปัจจุบัน Nuscale ได้ออกแบบให้สามารถปิดการทำงานของ reactor ได้ด้วยตัวเอง โดยไม่ใช้ พลังงานไฟฟ้า แต่อันนี้คงได้แค่หวัง คงไม่เห็น demand มากๆในเร็วๆนี้
ข้อมูลเกี่ยวกับ Supply
1. มีการเพิ่มของ supply คงยังเพิ่มไม่ได้มากเพราะ การขุด uranium ใหม่ของที่ แอฟริกา และอเมริกายังไม่สามารถทำกำไรได้เพราะ เหมือง uraniumใหม่นี้ ยังต้องการ 50-60$/pound เพื่อที่จะ Break even
2. หลังจากเหตุการณ์ Fukushima ใน ปี 2011 ญีปุ่นก็ปิดโรงไฟฟ้า nuclear ไป 46 โรงจาก 50 โรง ทำให้ inventory เหลือ ราคา uranium เลยลดลงจาก 70$/pound เหลือ 18$/pound ทำให้ miner หลายๆ รายมีปัญหาเรื่องของต้นทุนการผลิตไม่สามารถ cover ที่ขายได้ miner เลยต้องยุติ supply ส่วนนี้ลดตัวลง มาเรื่อยๆ
SPUT ETF
จากข้อมูลภาพ สองภาพบนจะเห็นได้ว่า uranium demand มีแนวโน้มที่จะ เพิ่มมากขึ้นในขณะที่ supply มีแน้มโน้มที่จะลดลงจากการที่ เหมืองขาดทุนและปิดตัวกันไป
Overview ของอุตสาหกรรม โรงไฟฟ้า
ในปัจจุบันโลกสร้างพลังงาน โดยใช้พลังงานหลักๆ มาจาก ถ่านหิน แก๊ส ซึ่งไม่ได้ environment friendly เท่ากับ solar wind ข้อดีของถ่านหิน แก๊ส คือความสม่ำเสมอของการสร้างพลังงานไฟฟ้า ในขณะที่ solar กับ wind environment friendly มากกว่า ถ่านหิน แก๊ส แต่ก็ขนาดในแง่ของ การผลิตไฟฟ้า ใน scale ที่ใหญ่มากๆ นอกจากนี้ solar กับ wind ยังขาดเร่ื่องความต่อเนีืองในการผลิตไฟฟ้า
electricity production by source,World
Cost of electricity from renewable energy sources
ในการเปรียบเทียบ ต้นทุนในการผลิตพลังงานไฟฟ้า เราจะใช้ Levelized cost of energy (LCOE) ซึ่งสิ่งที่น่าสนใจคือ ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าของ solar กับ wind ถูกลงมากในตลอดสิบกว่าปีที่ผ่านมา ซึ่งต้นทุนsolar wind ได้ถูกกว่าถ่านหินแล้ว ภาพนี้เห็นได้ชัดเจนว่าอนาคตของ ถ่านหินยังไงก็จะไม่ดีแน่นอนเพราะ นอกจาก ต้นทุนต่อหน่วยสูงกว่าแล้ว ยังเป็นมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมด้วย
ส่วน nuclear ต้นทุนและการลงทุนสูงกว่า solar และ wind แต่ผลิตพลังงานปริมาณที่มากกว่า มีความสม่ำเสมอมากกว่า และก็เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วย โดยสรุปแล้ว อนาคตสิ่งที่เราจะเห็นคือ การกลับมาของพลังงาน renewable มากขึ้น ถ่านหินจะมีการใช้งานน้อยลง แก๊สน่าจะคงไปเรื่อยๆ เพราะ แก๊สมีความแน่นอนที่ดีกว่า renewable ที่ขึ้นอยู่กับ แสง หรือ ลม
หลายๆคน เข้าใจว่า พลังงาน nuclear เป็นอะไรที่อันตรายแต่จาก ปัจจุบันมัน safe มาก ข้อมูล our world data เห็นได้ชัดว่า อัตราการตายจาก โรงไฟฟ้า Nuclear ต่ำมากแค่ 0.03 คน/1Terawatt เทียบกับ พลังงาน coal ที่ 24.6 คน/ Terawatt นอกจากนี้ ปริมาณของรังสีที่เราได้รับจาก อุตสาหรกรรม Nuclear คิดเป็นแค่ 1% ในขณะที่เราได้รับรังสีจากธรรมชาติไม่ว่าจะ แสง ดิน น้ำมากกว่า 80% ของปริมาณ uraniumที่เราได้รับทั้งหมด และอีก 18-19% มาจากการที่มนุษย์สร้างไม่ว่าจะเป็น x-ray โทรศัพท์และอื่นๆ
Why Kazatomprom ?
- เป็นผู้นำ uranium mining มีต้นทุนการผลิตที่ต่ำสุดในโลก
- ความเสี่ยง Geopolitics ได้ price in ไปในราคาหุ้นแล้ว
- ภาพรวมของอุตสาหกรรมเห็นชัดว่ามีการเพิ่ม Demand ทุกประเทศ กำลังเดินเข้าสู่ clean energy หนึ่งในทางเลือกคือ Nuclear
- supply ยังไม่พอกับความต้องการและมีแนวโน้มที่จะลดลงตัวลงจาก การที่ ราคาขาย uranium ไม่สามารถ cover ต้นทุนการขุดได้
ความเสี่ยง Kazatomprom?
- ความผันผวนของราคา uranium มีผลต่องบการเงินของบริษัท
- Geopolitics ของ Kazakhstan
Kazakhstan เป็นพันธมิตรกับ รัสเซียมีความเป็นไปได้ว่าประเทศ อาจจะถูก sanction ในอนาคต แต่คิดว่า ไม่น่าจะเกิด เพราะ Kazakhstan เป็น supply 40% ของ global uranium supply ยังไงชาติตะวันตกก็ต้องเอาไว้ก่อน เพราะเป็นเรื่องความมั่นคงทางพลังงาน และ เท่าที่ผมเข้าใจจากการอ่านข่าว Kazakhstan ไม่ได้มีท่าทีที่จะสนับสนุนรัสเซีย และปฎิเสธการใช้ Kazaksthan เป็นส่งทหารไป Ukraine
- การขนส่ง uranium ไปทางยุโรป จะต้องผ่านทางรถไฟไปที่ St. Petersberg ของรัสเซีย มีเสี่ยงที่ Russia ไม่ให้ใช้ ปัจจุบันยังใช้งานได้ปกติ ทางบริษัทก็ได้พยายามในการหาเส้นทางทางเลือกใหม่โดยร่วมมือกับบริษัท JV partner เป็นเลือกเพิ่มเติมป้องกันความเสี่ยงนี้ โดยทางใหม่ไม่มีผ่านทางรัสเซีย เป็น Trans-Caspian route (Caspian -> Black Sea -> West)
- ไม่นานมานี้ ก็มีข่าวเรื่อง ปัญหาความขัดแย้งระหว่างประเทศ Azerbaijan กับ Armenia ซึ่ง เป็นทางผ่านของ เส้นทาง Trans-Caspian route.ทางบริษัทให้สัมภาษณ์ ว่าตอนนี้ยังไม่มีปัญหาอะไร
ข้อมูลเพิ่มเติม : https://www.energyintel.com/00000183-3bc6-db0d-afb7-bbde19a60000
- ความเสี่ยงค่าเงิน tenge อ่อนค่า ผมคิดว่าไม่ได้เป็นปัญหาเพราะ รายได้ของบริษัทรับรู้เป็น US dollar แต่ค่าใช้จ่ายของบริษัทเป็น tenge มันจะเป็นปัญหามากกว่าถ้าลงทุนในบริษัท ที่รับรู้รายได้เป็น tenge และ ค่าใช้จ่ายก็เป็น tenge ด้วย
- ภัยธรรมชาติไม่ว่าจะ แผ่นดินไหว สินามึ และอื่นๆ
- ความเสี่ยงเรื่องของ KAP JV กับบริษัท Russian uranium Rosatom โดย uranium มีโอกาสที่จะถูก sanction แต่สัดส่วนตรงนี้คิดเป็นประมาณ 20% ของ KAP ของทั้งหมด ถ้า ชาติตะวันตก sanction อีก 80% ของ KAP ก็ยังอยู่ดี และน่าจะไปประโยชน์จาก ราคา uranium ที่น่าสูงขึ้นไปอีก
Reference
โฆษณา