26 ก.ย. 2022 เวลา 02:13 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
#ตรรกะกับความอยากรู้อยากเห็น
[ คุยกันก่อนหน้าถึงเรื่อง บางคนไม่อายที่จะบอกว่าตัวเองไม่รู้ ไม่สนใจคณิตศาสตร์ หรือแม้แต่จะภูมิใจด้วยซ้ำ ]
นีล เดอแกรส ไทสัน (NDT): บางคนภูมิใจที่ไม่รู้แบบนั้นด้วยนะครับ แสดงว่าคุณก็ยอมรับใช่ไหมครับว่า ก่อนหน้าพวกเรานี่ ต้องมีมนุษย์หรือสิ่งมีชีวิตอื่นที่รู้สึกท้าทายที่ต้องคิดอย่างมีเหตุผล, แบบมีตรรกะ หรือแบบวิทยาศาสตร์
ริชาร์ด ดอว์กินส์ (RD): ใช่ คุณตั้งข้อสังเกตได้น่าสนใจมากว่า คนเราอาจจะไม่ได้เกิดมาพร้อมกับตรรกะในตัว ยังไงก็ตาม คุณกล่าวรวมๆ ถึงคณิตศาสตร์ ไปจนถึงตรรกศาสตร์
แต่ผมคิดว่าประเด็นสำคัญน่าจะเป็นว่า บรรพบุรุษในป่าของพวกเราเอาตัวรอดจากสิงโต ความแห้งแล้ง ความอดอยาก และเรื่องอื่นๆ มาได้ ... คุณคงคิดว่าถึงจะไม่ใช่คณิตศาสตร์ แต่ตรรกะก็จะต้องสำคัญไม่น้อย
NDT: ก็นั่นแหละครับ อาจจะมีพวกคนสมัยก่อนที่บอกว่า "เอาละ มีไอ้ตัวฟันใหญ่อยู่ตรงนั้น ข้าจะไปตรวจดูสักหน่อย..."
RD: ใช่ครับ ที่คุณพูดมาก็ถูก การอยากรู้อยากเห็นในแง่หนึ่ง ก็อาจจะเป็นเรื่องแย่ก็ได้
.
NDT: ความอยากรู้อยากเห็นก็ไม่ใช่ว่าจะดีเสมอไปสินะครับ
.
RD: ผมมีญาติอยู่คน ตอนที่ยังเด็กอยู่ เขาจิ้มนิ้วใส่รูปลั๊กไฟแล้วก็เลยโดนช็อต เขาก็เลยจิ้มดูอีกทีเพื่อความแน่ใจ! เขามีความเป็นนักวิทยาศาสตร์อยู่ก็จริง แต่อาจไม่ดีนักสำหรับความอยู่รอด
.
จาก Book Furnish A Life โดย Richard Dawkins
ภาพจาก Wikimedia Commons, ในภาพ RD อยู่ซ้ายมือ
โฆษณา