2 ต.ค. 2022 เวลา 12:00 • สุขภาพ
เมื่ออารมณ์ของเรามักเปลี่ยนปัญหาเล็กเท่า "ยุง" ให้กลายเป็นปัญหาใหญ่เท่า "ช้าง" อย่ารอช้าที่จะรีบสกัดจุดอ่อนก่อนที่สถานการณ์ย่าแย่มากกว่าที่คิด !
1. ควรรู้ตัวว่าเกิดอะไรขึ้นกับตัวเองและสรุปความรู้สึกเป็นถ้อยคา เช่น “เรื่องนี้ทำให้ฉันไม่สบายใจ และไม่มั่นใจตัวเอง”
2. ควรยอมรับความรู้สึกที่เกิดขึ้นในขณะนั้น ไม่จำเป็นต้องแสดงปฏิกิริยาที่มีเหตุผลและควบคุมสถานการณ์ได้ทันที การระบายความรู้สึกโดยไม่ทำร้ายคนอื่น หรือไม่ต้องกลัวว่าใครจะรอเล่นงานคุณ เป็นการปลดปล่อยที่ดีที่สุด ควรหลีกเลี่ยงการแก้แค้นคนอื่น หรือแทนที่จะใช้คำด่า ลองพูดคำแปลก ๆ ที่ไม่มีใครเข้าใจ เช่น คำสบถในภาษาต่างประเทศที่รู้จัก
3. ไม่ควรตั้งความท้าทายสูงเกินเอื้อมให้ตัวเอง โดยมองว่าการทำเช่นนี้แสดงถึงอานาจในตัวหรือดูเท่
4. หลังจากระเบิดอารมณ์ครั้งแรกและกลุ่มควันจางลงแล้ว ลองก้าวออกไปด้านข้างสักก้าวและไตร่ตรองว่าเพิ่งเกิดอะไรขึ้น ลองเดินไปเดินมา หรือเดินออกนอกห้อง นั่นคือการผละจากพื้นที่ที่มีความตึงเครียดและหลีกเลี่ยงความรุนแรงที่ไม่จำเป็น อาจทำแค่อธิบายคู่กรณีว่าคุณต้องการระยะห่างสักครู่และไม่กระแทกประตูตามหลัง หรืออาจหยิบสิ่งของที่มีกลิ่นหอม หลับตาสั้น ๆ สูดหายใจลึก ๆ เอากลิ่นหอมนั้นเข้าไปและนึกถึงช่วงเวลาที่สุขกายสบายใจ
5. ให้คิดเสมอว่าอารมณ์รุนแรงที่มีสาเหตุมาจากคนอื่นเป็นเรื่องของคน 2 คนเสมอ ไม่มีใครผิดอยู่ฝ่ายเดียว แต่ที่ผ่านมาคุณมักระบุเหยื่อและผู้กระทำอย่างไม่สร้างสรรค์ ลองไตร่ตรองวิเคราะห์การมีส่วนรวมของทั้งคุณและคนอื่น รวมถึงแสดงความรับผิดชอบในส่วนของคุณ นั่นเป็นหลักฐานแสดงความเป็นตัวของตัวเองอย่างหนึ่ง
6. เอาใจใส่กับความคิดที่มุ่งหาทางแก้ปัญหา เพื่อคัดค้านความเชื่อฝังลึก ไม่ว่าจะเป็นความคิดไหนก็ตาม เราจะค่อย ๆ จัดการภายหลัง เลิกใช้ต้นแบบพฤติกรรมในอดีตซึ่งไม่ได้ให้ผลดีกับคุณพยายามเปิดตนเองแทนที่จะหลีกเลี่ยง พยายามอธิบายให้กระจ่างแทนที่จะหลับหูหลับตาเล่นงานและโทษคนอื่น
7. สื่อสารกับความรู้สึกและความต้องการต่าง ๆ ของตนเองตลอดเวลา และจดจ่อจุดแข็งของคุณ แล้วคุณจะยอมรับนับถือตนเองมากขึ้น ซึ่งเป็นความต้องการพื้นฐานสาคัญที่สุดในยามรู้สึกเจ็บปวด
ข้อมูลดี ๆ จากหนังสือ จงมองหา "ช้าง" ที่อยู่ข้างหลัง "ยุง"
แอร์นสท์ฟรีด ฮานิช ร่วมกับ เอวา วุนเดริเลอร์ เขียน
สุดาวรรณ สินธุประมา แปล
สำนักพิมพ์ Amarin HOW-TO
โฆษณา