28 ก.ย. 2022 เวลา 10:00 • ธุรกิจ
5 ภาคีรัฐ-เอกชน ทำตามสัญญาพัฒนานวัตกรรมสเปรย์พ่นจมูกแอนติบอดีเพื่อยับยั้งเชื้อโควิดทางกายภาพ ได้สำเร็จตามเป้า
21
ทั้ง 5 ภาคีเครือข่าย ประกอบด้วย คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร, สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.), องค์การเภสัชกรรม และ บริษัท ไฮไบโอไซ จำกัด (บริษัทย่อยของ บมจ.โรจูคิส อินเตอร์เนชั่นแนล)
13
ในความร่วมมือพัฒนานวัตกรรมจนสามารถผลักดันงานวิจัยและพัฒนาจนเป็นผลิตภัณฑ์ “สเปรย์พ่นจมูกที่เป็นเกราะป้องกันทางกายภาพที่ช่วยดักจับและยับยั้งอย่างจำเพาะต่อเชื้อโควิด 19 ที่บริเวณโพรงจมูก” ภายใต้แบรนด์ เวลล์ โควิแทรป แอนติ-โคฟ นาซอล สเปรย์ สำเร็จได้ในที่สุดและได้รับอนุญาตจาก อย. แล้ว
12
นางวรวรรณ ไชยกำเนิด ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไฮไบโอไซ จำกัด / ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โรจูคิส อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) และ รอ. นพ. นิมิต ประสิทธิ์ดำรง แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ป้องกัน และ ผู้เชี่ยวชาญกิตติมศักดิ์ บริษัท ไฮไบโอไซ จำกัด พร้อมด้วย รศ.นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ นพ.วิฑูรย์ ด่านวิบูลย์ ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม ตัวแทนภาคีเครือข่าย
4
ร่วมแถลงพูดคุยถึง ความสำเร็จในการสร้างนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ “ผลิตภัณฑ์สเปรย์พ่นจมูก เพื่อยับยั้งเชื้อโควิด-19 ทางกายภาพบริเวณโพรงจมูก” ได้สำเร็จ ซึ่งถือเป็นนวัตกรรมระดับโลกจากแพทย์และทีมนักวิจัยไทยในครั้งนี้ โดยได้รับเกียรติจาก นพ.นพพร ชื่นกลิ่น ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) มาเป็นประธานในงาน
2
นพ.นพพร ชื่นกลิ่น ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ได้กล่าวถึง สถานการณ์การระบาดของโควิดในประเทศไทยและของโลกว่าแม้จะมีแนวโน้มคลี่คลายดีขึ้น แต่โควิดก็ยังคงเป็นโรคที่ติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง
2
ทางทีมวิจัยของไทยจากภาครัฐ และเอกชน ได้ร่วมกันดำเนินงานวิจัย พัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์ ไม่ว่าจะเป็น การพัฒนาวัคซีน, ชุดตรวจเชื้อ, เครื่องช่วยหายใจ, รวมถึงการพัฒนาแอนติบอดีที่มีคุณสมบัติดักจับและยับยั้งเชื้อโควิด ทางกายภาพบริเวณโพรงจมูก โดยพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบในรูปแบบของสเปรย์สำหรับพ่นจมูก
3
ซึ่งจะเป็นนวัตกรรมที่สำคัญอีกชิ้นหนึ่งของประเทศไทยที่จะปรากฎสู่สายตาชาวโลก โดยถ่ายทอดองค์ความรู้นี้ไปสู่ภาคเอกชน เพื่อนำไปต่อยอดในการทำการวิจัย สร้างเป็นผลิตภัณฑ์นวัตกรรม ช่วยยับยั้งเชื้อโควิดได้ในที่สุด
3
ทางด้าน รศ.นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงภาพรวมของสถานการณ์โควิดในปัจจุบันว่า แม้สถานการณ์จะมีแนวโน้มคลี่คลายดีขึ้นในหลายประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย ทว่ายังคงเป็นโรคที่ติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง ตลอดจนคอยติดตามข่าวสาร และ งานวิจัยทางการแพทย์อย่างต่อเนื่อง เพราะยังมีงานวิจัยที่ยังคงศึกษาถึงผลกระทบกับสุขภาพในระยะยาวของผู้ติดเชื้อเช่นกัน
3
นอกจากนั้นงานวิจัยและนวัตกรรมของจุฬาฯ ในการป้องกัน และรักษาผู้ป่วยโควิด คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้ร่วมกับคณะต่างๆ ยังมีอย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์สำคัญระดับประเทศต่างๆ เช่น การพัฒนาวัคซีน ChulaCov 19, ชุดตรวจเชื้อ, เครื่องช่วยหายใจ เป็นต้น องค์กรมีความยินดีและภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่จะนำองค์ความรู้จากการทำวิจัย โดยทีมนักวิจัยแพทย์จุฬาฯ คือการพัฒนาแอนติบอดีที่มีคุณสมบัติดักจับและยั้บยั้งเชื้อโควิด 19 ทางกายภาพบริเวณโพรงจมูก
ซึ่งทีมนักวิจัยได้บ่มเพาะและพัฒนามาตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นของการระบาด โดยได้รับการสนับสนุนทั้งจากภาคประชาชน และ ภาครัฐ คือ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) กระทั่งสามารถพัฒนาแอนติบอดีต้นแบบได้และได้ยื่นจดสิทธิบัตรเป็นที่เรียบร้อย และมีความพร้อมที่จะถ่ายทอดองค์ความรู้นี้ไปสู่ภาคเอกชนเพื่อนำไปต่อยอด ในการทำการวิจัยทางคลินิก เพื่อสร้างเป็นผลิตภัณฑ์นวัตกรรมที่น่าจะมีส่วนช่วยป้องกันหรือรักษาโควิด จนเป็นผลสำเร็จได้ในวันนี้
1
พร้อมกันนี้ รศ.นพ.ฉันชาย ได้กล่าวเสริมถึงเทคโนโลยี Human Monoclonal Antibody ว่า เทคโนโลยีดังกล่าวเป็นเทคโนโลยีทางชีวภาพชั้นสูง โดยพัฒนาจากการถอดรหัสแอนติบอดีที่ได้จากอาสาสมัครที่หายดีจากโควิด โดยมีภูมิคุ้มกันในระดับดีเยี่ยม
สำหรับ นพ.วิฑูรย์ ด่านวิบูลย์ ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม กล่าวถึงบทบาทขององค์การเภสัชกรรมในการบริหาร จัดการและช่วยเหลือประชาชนในสถานการณ์โควิดในช่วงที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันว่า องค์การเภสัชกรรมในฐานะองค์กรหลักเพื่อความมั่นคงทางยาและเวชภัณฑ์ของประเทศ ได้ดำเนินการตามภารกิจวิจัย พัฒนา ผลิต จัดหา สำรอง กระจายยา เวชภัณฑ์ อุปกรณ์ป้องกันต่างๆ สนับสนุนให้กับระบบสาธารณสุขของประเทศ
องค์การเภสัชกรรมเป็นองค์กรหลักในการผลิต และจัดหายาและเวชภัณฑ์ในสถานการณ์โควิดมาอย่างต่อเนื่อง และมุ่งส่งเสริมให้มีผลิตภัณฑ์สุขภาพที่เป็นนวัตกรรมสามารถผลิตขึ้นใช้ได้เองในประเทศ ด้วยความเชี่ยวชาญในการผลิตยาและเวชภัณฑ์ ที่มีมาตรฐานยอมรับในระดับสากล องค์การเภสัชกรรมจึงได้ทำหน้าที่ในการผลิตและควบคุมคุณภาพ ผลิตภัณฑ์นวัตกรรม "สเปรย์พ่นจมูกเพื่อยับยั้งเชื้อโควิด-19 ทางกายภาพบริเวณโพรงจมูก"
1
โดยนวัตกรรมชิ้นนี้สามารถวิจัยและผลิตขึ้นใช้ได้เองในประเทศ โดยผลิตภัณฑ์ดังกล่าวได้รับการขึ้นทะเบียนจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และล่าสุด องค์การเภสัชกรรมได้รับใบจดทะเบียนสถานประกอบการผลิตเครื่องมือแพทย์ โดยมีขอบข่ายการอนุญาตให้ผลิตเครื่องมือแพทย์ในกลุ่ม Respiratory care service สำหรับผลิตภัณฑ์ Nasal spray solution จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)
1
และยังได้รับการรับรอง ISO-13485 : 2016 มาตรฐานระบบการจัดการคุณภาพสำหรับเครื่องมือแพทย์ จากบริษัท UIC certification service ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ตรวจรับรองประเมินมาตรฐานสากลซึ่งแสดงได้ว่าสถานที่ผลิตแห่งนี้ มีคุณภาพ ความปลอดภัย ระบบการจัดการคุณภาพสำหรับการผลิตเครื่องมือแพทย์ที่ดี
2
นางวรวรรณ ไชยกำเนิด ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไฮไบโอไซ จำกัด / ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โรจูคิส อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) กล่าวเสริมว่า นวัตกรรมสเปรย์พ่นจมูก เวลล์ โควิแทรป แอนติ-โคฟ นาซอล สเปรย์ (VAILL COVITRAP Anti-Cov Nasal Spray) ถือเป็นความภาคภูมิใจของคนไทยที่พร้อมสู่สายตาของชาวโลก ที่มีคุณสมบัติสามารถในการดักจับและยับยั้งเชื้อโควิด 19 โดยทำงานทันทีและครอบคลุมต่อเนื่อง 6 ชั่วโมง ด้วยหลักการทำงาน 2 กลไก ได้แก่
1
1. ดักจับด้วย HPMC ที่ทำหน้าที่เคลือบบริเวณพื้นผิวโพรงจมูก ทำให้ความสามารถในการเกาะของเชื้อไวรัสที่บริเวณโพรงจมูกลดลง
1
2. ยับยั้ง เชื้อไวรัสโควิด 19 ทางกายภาพ ที่เข้ามาในบริเวณโพรงจมูกด้วยภูมิคุ้มกัน ไม่ให้เข้าสู่ร่างกายใช้พ่นที่โพรงจมูกทั้ง 2 ข้าง
วิธีใช้ให้สอดหัวพ่นเข้าไปในโพรงจมูกในแนวตั้ง พ่นข้างละ 1-2 ครั้ง ใช้ได้ตามต้องการทุก 6 ชั่วโมง ได้ถึงวันละ 3 ครั้ง มีขนาด 15 มล. พร้อมในการจัดจำหน่ายให้แก่ประชาชนในประเทศไทยได้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคมนี้
2
ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Official Line @Covitrap หรือ Facebook โควิแทรป, ตลอดจน เภสัชกรประจำร้านยาองค์การเภสัชกรรม, สถานพยาบาล The Senizens, และ สถานพยาบาล Panacura
9
โฆษณา