มีตำนานและนิทานพื้นบ้านหลายเรื่องเล่าถึงที่มาของพืชเหล่านี้ เช่น ตำนาน Hainuwele สาวมะพร้าวห้าว แห่งหมู่เกาะ Maluku (โมลุกกะ) หรือ ต้นหมากทองคำในตำนาน Aponibolinayen ของชาว Itneg บนเกาะลูซอน ซึ่งผมจะขอเล่าแยกไว้ใน Series A Side Story of SEA ต่อไป
ชาว Motu ซึ่งอาศัยอยู่บริเวณ Port Morseby เมืองหลวงของ Papua New Guinea ทางชายฝั่งตอนใต้ของเกาะ เป็นหนึ่งในกลุ่มชาติพันธุ์ Papuans ที่สืบทอดภาษา วัฒนธรรม และเชื้อสาย Austronesian เช่น การสักลวดลายตามร่างกาย การทำเครื่องปั้นดินเผา และการเดินเรือ ซึ่งในทุกปี ชาว Motu จะมีประเพณีล่องเรือไปค้าขายทางตะวันตกในอ่าวปาปัว เรียกว่า Hiri (หิริ ไม่มี โอตตัปปะ)
ไม่แน่ชัดว่าชาว Motu เริ่มมีประเพณีนี้มาตั้งแต่เมื่อไหร่ ตามตำนานเล่าว่า เรือที่พวกเขาใช้ในการขนส่งสินค้าเรียกว่า Lakatoi นั้น เป็นผลผลิตจากภูมิปัญญาของ cultural hero ในยุคบรรพกาลนามว่า Edai Siabo ซึ่งมีมากมายหลายสำนวน ในที่นี้ผมเรียบเรียงจากบทความ Edai Siabo: An Ethnographic Study of a Papuan Myth โดย Nigel Oram จาก Australian National University ตีพิมพ์ในวารสาร The Journal of the Polynesian Society
ชาว Motu กับกลองพื้นเมือง
สำนวนหนึ่งเล่าว่า เดิมทีบรรพบุรุษของ Edai Siabo อาศัยอยู่ในหมู่บ้านแห่งหนึ่งชื่อ Varai ต่อมาถูกรุกรานโดยชนต่างเผ่า จึงอพยพไปยังเกาะ Yule (เกาะเล็ก ๆ ในอ่าวปาปัว ทางตะวันตกเฉียงเหนือของ Port Morseby) แล้วสร้างหมู่บ้านแห่งใหม่ที่ Pope และเปลี่ยนมาเรียกตัวเองว่า Motu Ravao