1 ต.ค. 2022 เวลา 02:50 • หุ้น & เศรษฐกิจ
ญี่ปุ่น ทำอย่างไรให้ สินค้าเกษตร มีราคาแพง
ข้าวกิโลกรัมละ 3,000 บาท หรือผลไม้อย่างเช่น เมลอน ราคาคู่ละ 1.6 ล้านบาท
คงไม่มีใครเชื่อว่า ราคาสินค้าเกษตรจะสูงมากขนาดนี้ แต่นี่คือเรื่องราวที่เกิดขึ้นจริงในประเทศญี่ปุ่น ที่สามารถขายสินค้าเกษตรให้มีราคาแพงได้
7
ซึ่งแม้ว่าสินค้าเกษตร จะไม่ได้เป็นสินค้าส่งออกหลักของญี่ปุ่น
และญี่ปุ่นเอง ก็ไม่ได้เป็นผู้ผลิตอาหาร รายหลักของโลก
แต่ในปีที่ผ่านมา กลับมีมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตร สูงถึง 211,799 ล้านบาท
5
ทำไมญี่ปุ่น ถึงสามารถขายสินค้าเกษตร ให้มีราคาแพงได้ ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
2
ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นเผชิญกับการขาดแคลนอาหาร เพราะมีลักษณะภูมิประเทศที่เต็มไปด้วยภูเขา ทำให้เหลือพื้นที่สำหรับทำเกษตรกรรมจริง ๆ เพียง 12% ของพื้นที่ทั้งหมดเท่านั้น
6
และผลจากสงคราม ก็ยังทำให้ไร่นาเสียหาย อีกทั้งเกษตรกรในญี่ปุ่นแต่ละราย ต่างครอบครองที่ดินขนาดเล็ก เฉลี่ยเพียง 6 ไร่ หรือบางรายยังไม่มีที่ดินสักแปลงเป็นของตัวเอง และต้องเช่าที่ดินจากนายทุนในการทำนา
1
ซึ่งปัญหานี้เอง ทำให้รัฐบาลญี่ปุ่น ตัดสินใจที่จะปรับปรุงภาคเกษตรกรรมครั้งใหญ่
เพื่อให้มีอาหารที่เพียงพอ สำหรับความต้องการในประเทศ และต้องการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกร ซึ่งเป็นอาชีพหลักของคนญี่ปุ่นในสมัยนั้น
4
โดยนโยบายที่เกิดขึ้น ก็เช่น การปฏิรูปที่ดินครั้งใหญ่ รัฐบาลมีการออกกฎหมาย ห้ามถือครองที่ดินในสัดส่วนเกินกว่าที่รัฐกำหนดไว้ ทำให้บรรดาเจ้าของที่ดินขนาดใหญ่ ต้องขายที่ดินให้กับรัฐ
16
และรัฐเองก็นำที่ดินเหล่านี้ ไปขายให้กับเกษตรกร ที่ไม่มีที่ดินทำกิน หรือมีที่ดินน้อย โดยขายในราคาคงที่ และไม่มีการคิดดอกเบี้ย
9
เกษตรกรจึงมีที่ดินทำกินเป็นของตัวเอง และสามารถพัฒนาผลผลิตต่อไร่ให้สูงขึ้นได้ โดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับการผลิต
8
อย่างไรก็ตาม แม้เกษตรกรจะครอบครองที่ดินมากขึ้น อีกทั้งนายทุนที่ถือครองที่ดินขนาดใหญ่ ก็ลดลงไปมาก แต่ราคาขายผลผลิตและช่องทางการตลาด ยังเป็นส่วนสำคัญที่ต้องพัฒนา
3
ดังนั้นในปี 1948 รัฐบาลญี่ปุ่นจึงมีการจัดตั้งสหกรณ์การเกษตร หรือ JA ให้เป็นหน่วยงานที่ช่วยเหลือเกษตรกรญี่ปุ่น ทั้งในด้านการผลิต การพัฒนาเทคโนโลยี ให้บริการด้านสินเชื่อและการเงิน
9
รวมไปถึงเป็นตัวกลาง ในการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ทั้งในประเทศและต่างประเทศ อีกทั้งยังเป็นตัวแทนที่ช่วยดูแลผลประโยชน์ ระหว่างเกษตรกรกับรัฐบาล
9
โดยเฉพาะข้าว ที่ถือเป็นอาหารหลักของคนในประเทศ ซึ่งรัฐบาลจะมีการอุดหนุนด้านราคา โดยคนกลางรับซื้อในราคาที่กำหนดไว้ จากนั้นจึงนำไปขายต่อให้อุตสาหกรรมภายในประเทศ ทำให้เกษตรกรญี่ปุ่นมีรายได้ที่แน่นอน
9
แต่เรื่องนี้ ก็กลายเป็นจุดอ่อนสำคัญให้กับภาคเกษตรกรรมของญี่ปุ่น เพราะการอุดหนุนที่มากเกินไป ทำให้เกษตรกรเลือกที่จะปลูกข้าว เพราะได้รับการอุดหนุนจากรัฐบาล และขาดแรงจูงใจที่จะผลิตหรือพัฒนาสินค้าเกษตรอื่น ๆ เช่น ผักหรือผลไม้
7
ซึ่งจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้ สินค้าเกษตรของญี่ปุ่นต้องปรับตัว เพื่อให้อยู่รอดทั้งในประเทศและนอกประเทศ มีอย่างน้อย 3 เรื่องด้วยกัน
3
เรื่องแรกเลยคือ ญี่ปุ่นเข้าเป็นสมาชิกขององค์การการค้าโลก หรือ WTO ในปี 1994
ทำให้ไม่สามารถอุดหนุนสินค้าเกษตรของตัวเองได้เหมือนเดิม เพราะขัดต่อระเบียบของ WTO ที่ต้องลดอุปสรรคทางการค้าระหว่างประเทศให้มากที่สุด
4
รัฐบาลจึงเปลี่ยนจากการอุดหนุนราคาข้าว ไปเป็นการให้เงินส่วนต่างกับเกษตรกร ที่ปลูกพืชอย่างอื่นนอกเหนือจากข้าว รวมถึงปรับลดเงินทุนสนับสนุนสหกรณ์การเกษตรอีกด้วย
3
นอกจากนี้ ยังมีการทะลักของสินค้าเกษตร ที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ ซึ่งมีราคาต่ำกว่า
ทำให้ภาคเกษตรกรรมของญี่ปุ่นไม่สามารถแข่งขันได้ เพราะมีต้นทุนการผลิตที่สูงกว่า
7
เรื่องต่อมาคือ อุตสาหกรรมอื่น ๆ ของญี่ปุ่น เติบโตอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า หรือเคมีภัณฑ์ ทำให้รายได้จากนอกภาคเกษตรกรรมเหล่านี้สูงกว่ามาก
4
เกษตรกรจึงเปลี่ยนไปทำอาชีพในภาคอุตสาหกรรม และใช้เวลาว่างในวันหยุด ทำเกษตรกรรมเป็นอาชีพเสริม ทำให้การพัฒนาเกษตรกรรมของญี่ปุ่นมีความไม่ต่อเนื่อง
4
อีกเรื่องหนึ่งคือ พฤติกรรมการบริโภคของคนญี่ปุ่น เริ่มเปลี่ยนแปลงไป
เพราะคนญี่ปุ่นมีแนวโน้มบริโภคข้าวน้อยลง
แต่มีการบริโภคเนื้อสัตว์ และผลิตภัณฑ์นมมากขึ้น
การอุดหนุนราคาข้าว จึงกลายเป็นการแก้ปัญหาที่ไม่ตรงจุด
4
แล้ว ญี่ปุ่น ปรับตัวอย่างไร ให้ภาคเกษตรกรรมยังอยู่รอดได้ ?
รัฐบาลญี่ปุ่นเอง ก็มองเห็นปัญหาหลัก ๆ ที่เกิดขึ้นกับภาคเกษตรกรรม นั่นคือ
5
- ต้นทุนการผลิตที่แพงกว่าประเทศอื่น ซึ่งเกิดจากขนาดพื้นที่ในการทำเกษตรกรรมต่อคนที่น้อย
2
- การขาดนวัตกรรมการเกษตรใหม่ ๆ เพื่อเพิ่มคุณภาพของผลผลิต และจำนวนครัวเรือนที่ทำเกษตรกรรมมีน้อยลง
2
โดยการเปลี่ยนแปลงเริ่มจากการแก้ปัญหา การครอบครองที่ดิน ด้วยการอนุญาตให้มีการรวมที่ดินทั้งเอกชน และกลุ่มเกษตรกร เพื่อให้ได้ผลผลิตต่อไร่ที่เพิ่มขึ้น ซึ่งช่วยให้ต้นทุนการผลิตถูกลง และสามารถแข่งขันในตลาดได้
3
นอกจากการลดต้นทุนที่สูงเกินไปแล้ว
รัฐบาลญี่ปุ่นยังเพิ่มมูลค่าของสินค้าเกษตรด้วยการ “ทำให้เป็นสินค้าพรีเมียม”
10
โดยมี JA เป็นหน่วยงานหลัก ที่ทำการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการเกษตรใหม่ ๆ เช่น การปรับปรุงสายพันธุ์ เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพมากขึ้น
8
รวมถึงการต่อยอดและเพิ่มมูลค่า เช่น นำข้าวญี่ปุ่นไปทำเป็นเหล้าสาเก หรือของเหลือชีวภาพจากสินค้าเกษตร ก็นำไปแปรรูปเป็นหลอดชีวภาพ ถุงใส่ของ ถุงขยะสำหรับใช้ในครัวเรือน
15
หรือแม้แต่การเพิ่มมูลค่าทางการตลาด เช่น สอดแทรกเรื่องราวเข้าไปในสินค้า หรือกระบวนการผลิต ทำให้สินค้ามีความแตกต่างจากคู่แข่ง และสามารถตั้งราคาได้สูงขึ้นด้วย
11
นอกจากนี้ ยังมีการสร้างระบบการตรวจสอบแบบย้อนกลับ เพื่อให้ผู้บริโภคมั่นใจได้ว่า สินค้ามีความปลอดภัยตั้งแต่การผลิต การขนส่ง ไปจนถึงการจำหน่าย
11
ระบบนี้เป็นการควบคุมเกษตรกร ให้ใส่ใจทุกกระบวนการผลิตของตัวเอง และดูแลคุณภาพของผลผลิต ให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด จึงทำให้สินค้าเกษตร สามารถเป็นสินค้าพรีเมียม และผู้บริโภคก็รู้สึกว่าคุ้มค่าต่อราคาที่จ่ายไป
7
ดังนั้น คนญี่ปุ่นจึงมักจะซื้อของฝากเป็นผลไม้ ที่มีราคาแพงให้ระหว่างกัน ซึ่งเป็นการแสดงความห่วงใยกับคนที่เรานำของไปฝากในทุกเทศกาล หรือสินค้าเกษตรแปรรูปอื่น ๆ ที่มีเรื่องราวเฉพาะตัว เพื่อสื่อถึงความใส่ใจ และความสำคัญที่ผู้มอบมีต่อผู้รับ
7
ผลจากนโยบายที่ถูกทาง ก็ได้สะท้อนไปยังมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรของญี่ปุ่น
โดยมูลค่าการส่งออกในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา คือ
- ปี 2012 มูลค่าการส่งออก 70,527 ล้านบาท
- ปี 2017 มูลค่าการส่งออก 130,684 ล้านบาท
- ปี 2021 มูลค่าการส่งออก 211,799 ล้านบาท
5
จะเห็นได้ว่า มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรของญี่ปุ่น เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในทุก ๆ ปี โดยเติบโตเพิ่มขึ้น 3 เท่า ภายในระยะเวลาไม่ถึง 10 ปี
3
อ่านมาถึงตรงนี้ จะเห็นได้ว่าแม้จะมีปัญหามากมาย จนทำให้ภาคเกษตรกรรมในญี่ปุ่น เหลือสัดส่วนเพียง 1-2% ของเศรษฐกิจประเทศ และสูญเสียความสามารถในการแข่งขันไป
3
แต่การทำให้สินค้ามีความพรีเมียม กลายเป็นทางออกที่ทำให้สามารถขายสินค้า ในราคาแพงได้ และแข่งขันกับประเทศอื่นได้อย่างไม่น้อยหน้า
7
ซึ่งสำหรับประเทศไทยเอง ในขณะที่เราเสียแชมป์ส่งออกข้าวให้กับอินเดีย หรือกุ้งให้กับเวียดนาม รวมถึงสินค้าเกษตรอื่น ๆ ที่มีความสามารถในการแข่งขันน้อยลง
 
เราอาจจะต้องกลับมานั่งมองตัวเองว่า
สินค้าเกษตรของเรา ต้องแข่งขันอย่างไรถึงจะเหมาะสม
8
ซึ่งการทำให้สินค้าเกษตรของประเทศไทย มีคุณภาพ และมีเรื่องราว
ก็อาจกลายเป็นทางออก ที่ดีกว่าการลดต้นทุน
แล้วแข่งกันว่าของใคร ราคาถูกกว่ากัน..
5
หนังสือ BRANDING THE NATION หนังสือที่เล่าถึงการสร้างแบรนด์ของแต่ละประเทศที่ทำให้ แต่ละประเทศเป็นแบบทุกวันนี้
1
เช่น ทำไมเยอรมนีเป็นประเทศแห่งรถยนต์ ทำไมฝรั่งเศสเป็นประเทศแห่งแบรนด์หรู สั่งซื้อเลยที่
4
โฆษณา