2 ต.ค. 2022 เวลา 12:40 • ข่าว
แบงก์พาณิชย์ขึ้นดอกเบี้ยกันถ้วนหน้ารับมติ กนง.
ทั้งดอกเบี้ยเงินฝาก ดอกเบี้ยเงินกู้ ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจเผย
เตรียมรับมือดอกเบี้ยแพงยาวไปอีก 2 ปี
1
มติการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% จาก 0.75% เป็น 1% เพื่อเบรกความร้อนแรงของเงินเฟ้อที่พุ่งสูงอย่างรวดเร็วหลังจากที่โลกกลับมาดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้หลังจากการผ่านพ้นของโรคระบาด และความต้องการสินค้าต่างๆ ที่พุ่งสูงอย่างมาจนอุปสงค์และอุปทานไม่สอดคล้องกัน
1
แน่นอนว่าสิ่งที่ตามมาคือธนาคารพาณิชย์หลายแห่งต้องมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตามกันไป ทั้งดอกเบี้ยเงินฝากและดอกเบี้ยเงินกู้ เพื่อรักษาเสถียรภาพทางการเงินของธนาคารเอาไว้ ให้สอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงานผู้กำกับดูแล ซึ่งก็คือแบงก์ชาติ
3
ซึ่งธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่เริ่มทยอยประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตั้งแต่ปลายเดือนกันยายน และมีผลตั้งแต่ต้นเดือนตุลาคม โดยมีธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ที่ประกาศขึ้นดอกเบี้ยแล้วดังนี้
1
🔵 ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) ปรับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำขึ้น 0.10%-0.50% ขณะที่ดอกเบี้ยเงินกู้จากสินเชื่อเฉพาะลูกค้ารายใหญ่ 0.25%
🔹อัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ประเภทเงินกู้แบบมีระยะเวลา (MLR) ปรับเพิ่ม 0.25% จาก 5.47% เป็น 5.72%
🔹อัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้ารายใหญ่ชั้นดีประเภทเงินเบิกเกินบัญชี (MOR) ปรับเพิ่ม 0.25% จาก 5.84% เป็น 6.09% โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 3 ตุลาคม เป็นต้นไป
2
🔵 ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) ปรับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำขึ้น 0.10-0.50% ขณะที่ดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายย่อย และปรับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เฉพาะลูกค้ารายใหญ่ขึ้น 0.25%
🔹อัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ประเภทเงินกู้แบบมีระยะเวลา (MLR) ปรับเพิ่มขึ้น 0.25% เป็น 5.83%
🔹อัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้ารายใหญ่ชั้นดีประเภทเงินเบิกเกินบัญชี (MOR) ปรับเพิ่ม 0.25% เป็น 6.20%
🔹อัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MRR) คงเดิมที่ 6.05% โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 4 ตุลาคม เป็นต้นไป
2
🔵 ธนาคารทีเอ็มบีธนชาติ (TTB) ปรับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำขึ้น 0.15%-0.80% ขณะที่ดอกเบี้ยเงินกู้จากสินเชื่อปรับขึ้น 0.2%-0.25%
🔹อัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ประเภทเงินกู้แบบมีระยะเวลา (MLR) ปรับเพิ่มขึ้น 0.20%
🔹อัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้ารายใหญ่ชั้นดีประเภทเงินเบิกเกินบัญชี (MOR) ปรับเพิ่ม 0.25%
🔹อัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MRR) ปรับเพิ่ม 0.25% โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม เป็นต้นไป
1
🔵 ธนาคารกรุงเทพ (BBL) ปรับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำขึ้น 0.15-0.50% ขณะที่ดอกเบี้ยเงินกู้จากสินเชื่อปรับขึ้น 0.30% - 0.40%
🔹อัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ประเภทเงินกู้แบบมีระยะเวลา (MLR) ปรับเพิ่มขึ้น 0.40%
🔹อัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้ารายใหญ่ชั้นดีประเภทเงินเบิกเกินบัญชี (MOR) ปรับเพิ่ม 0.375%
🔹อัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MRR) ปรับเพิ่ม 0.30% โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 29 กันยายน เป็นต้นไป
1
🔵 ธนาคารไทยพาณิชย์ SCB ทางคณะกรรมการ(บอร์ด) จะมีการประชุมเพื่อพิจารณาปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยให้ความสอดคล้องกับธนาคารแห่งประเทศไทยในวันที่ 3 ตุลาคม
ทั้งนี้ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS ธนาคารกรุงไทย ประเมินว่าวัฏจักรดอกเบี้ยขาขึ้นรอบนี้จะขึ้นไปแตะระดับ 2.5-3% ในปี 2024 (พ.ศ. 2567) อัตราเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับสูงเกินกว่ากรอบเป้าหมายอีกสักระยะก่อนกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมาย 2023
อัตราเงินเฟ้อจะผ่านจุดสูงสุดในช่วงไตรมาส 3 ปีนี้ แต่คาดว่าระดับอัตราเงินเฟ้อจะยังทรงตัวอยู่ในระดับสูงอีกระยะหนึ่งจากต้นทุนสินค้าที่ทยอยปรับขึ้นต่อเนื่อง ก่อนทยอยกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายในช่วงกลางปี 2023
อย่างไรก็ตาม อัตราเงินเฟ้อยังมีความเสี่ยงสูงจากการส่งผ่านต้นทุนที่อาจมากกว่าคาด สะท้อนจากดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ที่ยังทรงตัวอยู่ในระดับสูง รวมถึงการปรับขึ้นค่าไฟฟ้า การปรับเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำ และต้นทุนสินค้านำเข้าที่สูงขึ้นจากค่าเงินบาทที่อ่อนค่าต่อเนื่อง โดยต้นทุนที่อยู่ในระดับสูงอาจจะทยอยส่งผ่านและสร้างแรงกดดันเงินเฟ้อในระยะข้างหน้า
ส่วน Economic Intelligence Center (EIC) ธนาคารไทยพาณิชย์ ประเมินว่า กนง. จะปรับขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.25% ในการประชุมเดือนพฤศจิกายน 2565 ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยนโยบาย ณ สิ้นปีนี้จะอยู่ที่ 1.25% สำหรับในปี 2566 คาดว่า กนง. จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อเนื่องอีก 3 ครั้ง ครั้งละ 0.25% และทรงตัวที่ระดับ 2% ณ สิ้นปี
1
นอกจากนี้ EIC มองว่า การขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในขนาดที่มาก แม้จะช่วยลดแรงกดดันต่อการอ่อนค่าของเงินบาทได้บ้างในระยะสั้น แต่จะไม่สามารถทำให้เงินบาทกลับมาแข็งค่าสวนทิศทางเงินดอลลาร์สหรัฐได้ ขณะเดียวกันเงินบาทที่อ่อนค่าลงมากยังไม่ส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจและตลาดการเงินไทยอย่างมีนัย และเสถียรภาพตลาดการเงินไทยยังอยู่ในเกณฑ์ดี ดังนั้น การขึ้นดอกเบี้ยแรงเพื่อช่วยลดแรงกดดันการอ่อนค่าของเงินบาทจะไม่คุ้มกับความเสี่ยงต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ
╔═══════════╗
ไม่พลาดบทความสาระดีๆ ที่ Reporter Journey ตั้งใจสร้างสรรเพื่อผู้ติดตามทุกท่าน อย่าลืมกดติดตามเพจ ติดตาม Reporter Journey ได้ทุกช่องทางที่
╚═══════════╝
.
ติดตาม Reporter Journey ได้ทุกช่องทางที่
Line : @reporterjourney
2
โฆษณา