3 ต.ค. 2022 เวลา 09:57
อัตราส่วนสำคัญที่คนมีหนี้ต้องรู้...อัตราส่วนหนี้สิน
พอเริ่มเข้าวัยกลางคน ส่วนใหญ่จะเริ่มมีหนี้ก้อนใหญ่ๆ อย่างเช่น บ้าน รถ คอนโด ซึ่งเป็นหนี้ระยะยาว นอกจากนั้นก็ยังมีหนี้ระยะสั้นอย่างพวกหนี้บัตรเครดิตต่างๆที่เอาไว้ผ่อนของใช้ที่ชิ้นไม่ใหญ่มาก
ที่นี้หนี้สินที่เรามีอยู่มันมากเกินไปหรือยังมีที่เหลือให้พอสร้างหนี้เพื่อให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นได้ ก็ต้องเข้าสูตรคำนวนหาสัดส่วนที่เหมาะสม
① หนี้สินต่อสินทรัพย์ (Debt to Asset Ratio) วัดความสามารถในการคืนหนี้ระยะปานกลาง – ยาว สินทรัพย์ที่มีเพียงพอจ่ายหนี้เมื่อครบกำหนดหรือไม่ สัดส่วนที่เหมาะสมคือ น้อยกว่า 50%
> วิธีการคิดคือ (หนี้สินรวม/สินทรัพย์รวม)*100 = ผลลัพธ์ที่ออกมาควรน้อยกว่า 50%
② หนี้สินต่อรายได้ (Debt Service Ratio) วัดความสามารถในการจ่ายคืนหนี้จากรายได้รวม สัดส่วนที่เหมาะสมคือ 35 – 45%
> วิธีการคิดคือ (เงินชำระคืนหนี้สินรวม/รายรับรวม)*100 = ผลลัพธ์ที่ออกมาควรอยู่ระหว่าง 35 – 45%
ตัวอย่าง เงินเดือน 10,000 บาท เงินจ่ายหนี้ก็ไม่ควรเกิน 3,500 - 4,500 บาท
③ หนี้สินที่ไม่ใช่การจดจำนองต่อรายได้ (Non Mortgage Service Ratio) วัดความสามารถในการคืนหนี้ (เฉพาะหนี้ที่เกี่ยวกับการใช้จ่ายประจำวัน) จากรายได้รวม สัดส่วนที่เหมาะสมคือ 15 – 20%
> วิธีการคิดคือ (เงินชำระคืนหนี้สินที่ไม่จดจำนอง/รายรับรวม)*100 = ผลลัพธ์ที่ออกมาควรอยู่ระหว่าง 15 – 20%
ตัวอย่าง เงินเดือน 10,000 บาท เงินจ่ายหนี้ที่ไม่จดจำนองก็ไม่ควรเกิน 1,500 - 2,000 บาท
หนี้ที่ไม่จดจำนอง เช่น หนี้บัตรเครดิต หนี้เพื่อใช้จับจ่ายใช้สอยทั่วไป
④ ความสามารถในการชำระคืนหนี้ทั้งหมด (Solvency Ratio) วัดความสามารถในการชำระหนี้ระยะยาว สัดส่วนที่เหมาะสมคือมากกว่า 50%
> วิธีการคิดคือ (ความมั่งคั่งสุทธิ/สินทรัพย์รวม)*100 = ผลลัพธ์ที่ออกมาควรมากกว่า 50%
หรือจะคิดง่ายๆคือ 100-หนี้สินต่อสินทรัพย์
มากกว่า 50% มีความมั่งคั่งมากกว่าหนี้สิน มีสถานะการเงินที่มั่นคง
น้อยกว่า 50% มีกู้ยืมมากเกินไปเทียบกับความมั่งคั่งสุทธิ เสี่ยงต่อความสามารถในการชำระคืนหนี้ในระยะยาว
หนี้น้อยไม่ใช่ปัญหา แต่ถ้าหนี้มากเกินไปต้องรีบจัดการอย่างใดอย่างหนึ่งว่าจะลดหนี้หรือเพิ่มรายรับ
#darifreedomwealth #Fwdthiland #Finnomena #วางแผนการเงินส่วนบุคคล
โฆษณา