5 ต.ค. 2022 เวลา 15:41 • ข่าว
#รัฐประหารเงียบในพรรครัฐบาลอังกฤษ
#เมื่อลิซ ทรัสส์ กำลังจะโดนยึดอำนาจ
4
ดูเหมือนว่า รัฐบาลอังกฤษก็ยังอยู่ในสภาพง่อนแง่น หาหลักยึดยังไม่ได้จริงๆ เมื่อมีกระแสข่าวลือที่ไม่ค่อยดีเท่าไหร่ภายในพรรคอนุรักษ์ แกนหลักของรัฐบาลอังกฤษว่า ลูกพรรคอนุรักษ์เริ่มจับกลุ่มกดดัน ลิซ ทรัสส์ หัวหน้าพรรคหญิงคนใหม่ และเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกในแผ่นดินพระเจ้าชาลส์ที่ 3 จนถึงขั้นวางแผนยึดอำนาจของเธอ หากจำเป็น!!
2
สาเหตุเกิดจากความไม่ลงรอยกันในนโยบายของลิซ ทรัสส์ ที่เธอเคยสัญญาไว้ในช่วงหาเสียงเลือกตั้งภายในพรรค หนึ่งในนั้นคือนโยบาย "45p rate" หรือการลดอัตราภาษี 45% ในกลุ่มผู้มีรายได้สูง
12
ซึ่งนโยบายนี้ของเธอกลับถูกต่อต้านจากทีมรัฐบาลของเธอเองจนเสียงแตก ที่อาจขั้นจะโหวตคว่ำในสภาเลยทีเดียว
5
ข่าวการแตกแยกของรัฐบาลลิซ ทรัสส์ ที่ยังไม่ทันได้เริ่มทำงานอะไรเลย ยิ่งชัดเจนขึ้นอีก หลังงานประชุมพรรคอนุรักษ์ที่เมืองเบอร์มิงแฮม เมื่อวันอาทิตย์ ที่ 2 ตุลาคม ที่ผ่านมา ที่ข่าววงในบอกว่าเสียงแตกหนักมาก จน ซูเอลลา เบรฟเวอแมน รัฐมนตรีมหาดไทยหญิง พันธมิตรคนสนิทของลิซ ทรัสส์ ถึงกับออกมาบ่นว่า เธอผิดหวังมากๆ ที่ทีมรัฐบาลบางคนมากลับลำกับนโยบายที่คุยกันไว้แล้ว และยังบอกด้วยว่า มีกลุ่ม สส.ของพรรคอนุรักษ์หลายคน วางแผนจะโค่น ลิซ ทรัสส์ ให้ได้
7
และยังบอกถึงลูกพรรคอนุรักษ์ ที่คิดจะก่อหวอดเพื่อล้มนโยบาย 45p rate นั้นไม่ต่างจากการก่อรัฐประหารเงียบภายในรัฐบาล
3
ซึ่งนโยบายเจ้าปัญหาที่อาจกลายเป็นประเด็นรัฐนาวาแตก คือ 45p Rate หรืองดภาษี 45% สำหรับบุคคล หรือองค์กรที่มีรายได้เกิน 150,000 ปอนด์ต่อปี
3
โดยปกติ อังกฤษจะมีอัตราภาษีระดับขั้นบันได โดยคำนวนจากรายได้ต่อปี ในอัตราเรทดังนี้
- รายได้ต่ำกว่า 12,570 ปอนด์/ปี ไม่ต้องเสียภาษี
- รายได้ตั้งแต่ 12,571 - 50,270 ปอนด์ต่อปี จะเริ่มเก็บภาษีที่ 20%
- รายได้ตั้งแต่ 50,271 - 150,000 ปอนด์ต่อปี เก็บภาษีที่ 40%
8
แต่ถ้ามีรายได้เกิน 150,000 ปอนด์ต่อปี เมื่อไหร่ จะถูกเก็บภาษีในอัตรา 45% ซึ่งเป็นเรทสูงสุด
2
สื่ออังกฤษได้ไปหาข้อมูลพบว่ามีชาวอังกฤษราวๆ 5 แสนคนทั่วประเทศที่มีรายได้เกิน 150,000 ปอนด์ต่อปี คิดเป็น 1% ของประชากรอังกฤษทั้งประเทศ
3
และหากรัฐบาลอังกฤษตัดสินใจไม่เก็บภาษีเพิ่ม 45% จากรายได้ที่เกินมาของคนกลุ่มนี้ เท่ากับรัฐจะเสียรายได้จากภาษีถึง 6 พันล้านปอนด์ต่อปี และเมื่อรายได้หายไป หมายถึงต้องการลดรายจ่ายของภาครัฐลงด้วย ซึ่งก็คือแผนค่าใช้จ่ายสำหรับสวัสดิการสังคมบางส่วนอาจต้องถูกตัดไป
4
แต่ทั้งนี้ ลิซ ทรัสส์ มองว่า นโยบายการลดภาษี 45p Rate จะช่วยกระตุ้นการลงทุนของกลุ่มคนที่มีศักยภาพในสังคม ที่สามารถผลักดันเศรษฐกิจให้ขยายตัวได้ และการแก้ปัญหาด้วยการแจก จ่าย ในรูปแบบสวัสดิการก็ไม่ใช่คำตอบเสมอไป ซ้ำยังเป็นเหมือนกับดักประชานิยม ที่ทำให้ผู้คนคาดหวังแต่สวัสดิการช่วยเหลือจากรัฐ
3
ซึ่งลิซ ทรัสส์ เคยบอกว่านโยบายนี้ อาจเป็นเหมือนยาขม และเป็นหนทางที่ยาก แต่อังกฤษต้องลองหาทางแก้ปัญหาที่ต่างไปจากเดิม ถ้าต้องการที่จะ "change" เธอเชื่อว่าสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงในเศรษฐกิจได้อย่างแน่นอน
4
แต่ต่อมา นโยบายนี้ของเธอ ถูกโจมตีอย่างหนักจากพรรคฝ่ายค้าน ว่าเป็นการอุ้มคนรวยเพียงแค่ 1% ของประเทศ แต่กลับรีดเลือดกับปูจากประชาชนส่วนใหญ่อีก 99% ที่ยังต้องจ่ายภาษีในอัตราเกือบเท่าเดิม โดยเฉพาะกลุ่มคนเกือบจะรวย ในระดับฐานรายได้ 50,271 - 150,000 ปอนด์ คือโดนเต็มๆ 40% โดยไม่มีการลดหย่อน
1
กลุ่มที่ไม่เห็นด้วยยังมองอีกว่า สวัสดิการสังคม ก็คือหน้าที่ของรัฐบาลที่ต้องช่วยเหลือคนที่ด้อยโอกาสในสังคมไม่ใช่เหรอ และปัญหาที่รัฐบาลอังกฤษควรเร่งแก้ คือ "เงินเฟ้อ" เพราะกลุ่มคนที่เจ็บหนักที่สุด คือกลุ่มคนที่จนที่สุด อยู่ระดับต่ำเตี้ยเรี่ยดินที่สุดในฐานรายได้ประชากร ไม่ใช่คนกลุ่มที่อยู่ยอดบนสุดของปิรามิด
4
ส่วนความเห็นของฟากรัฐบาลก็ร้อนแรงไม่แพ้กัน แม้จะมองคนละมิติ ซึ่งคนที่จะต้องดูแลนโยบาย 45p Rate ของลิซ ทรัสส์ เต็มๆ คือ ควาซี กวาร์เต็ง รัฐมนตรีคลังผิวดำคนแรกของอังกฤษ ซึ่งลิซ ทรัสส์ เคยอ้างด้วยซ้ำว่านโยบายนี้เป็นไอเดียของ กวาร์เต็ง และเธอก็ยืนยันว่ารัฐบาลจะทำตาม นโยบายนี้แน่นอน
4
แต่ ควาซี กวาร์เต็ง กลับพูดผ่านสื่ออังกฤษว่า เรื่องการแผนการลดภาษีของนโยบายชุดใหม่อาจต้องเลื่อนไปก่อน และยังแสดงความเห็นขัดแย้งกับนโยบายของลิซ ทรัสส์ อยู่หลายครั้ง
รวมถึงนโยบาย การปลดล็อคกฏระเบียบการให้โบนัสกับบุคลากรของธนาคาร และสถาบันการเงินหลัง Brexit ซึ่งตามกฏหมายของ EU ระบุว่าธนาคาร สามารถจ่ายโบนัสตอบแทนให้พนักงานของตนได้ไม่เกิน 200% ของเงินเดือน
1
ซึ่งทั้ง ลิซ ทรัสส์ และ ควาซี กวาร์เต็ง เคยเสนอที่จะปลดล็อคมาตรการนี้เพื่อจูงใจให้สถาบันการเงินเข้ามาลงทุนในอังกฤษมากขึ้น ซึ่งจะไปกระตุ้นให้เกิดการขยายตัวของภาคธุรกิจการเงิน การธนาคาร ที่จะนำไปสู่การสร้างงานเพิ่มขึ้นในอังกฤษ
2
นโยบายนี้ก็โดนโจมตีเละเทะจนอาจต้องกลับลำเช่นกัน ในประเด็นที่ว่า ลิซ ทรัสส์ จะช่วยคนรวย ให้รวยยิ่งขึ้นไปทำไม โดยความเชื่อที่ว่า ถ้ารัฐสนับสนุนกลุ่มนายทุน แล้วจะมีเม็ดเงินกระจายเผื่อแผ่ลงมาสู่ประชาชนระดับรากหญ้านั้น จากหลายๆคดีฟอกเงินที่ผ่านมาก็พิสูจน์แล้วว่ามันไม่ได้เป็นเช่นนั้นเสมอไปหรอกเธอ🙃
2
แต่สิ่งที่น่าห่วงกว่าตอนนี้ อาจไม่ใช่เรื่องที่ว่าลิซ ทรัสส์ จะสามารถผลักดันนโยบายของเธอได้หรือไม่แล้วในตอนนี้ แต่เป็นการบริหารจัดการความแตกแยกภายในพรรคได้อย่างไร กลับกลุ่มที่ไม่เอาลิซ ที่มองว่าเธอทำคะแนนเสียงของพรรคเสียหาย และกลุ่มเสียง 1% ที่จะได้ประโยชน์จากนโยบายของเธอ ไม่เพียงพอที่จะทำให้พรรคชนะเลือกตั้งในสมัยหน้าได้
2
จนล่าสุดมีโพลสำรวจความเห็นชาวอังกฤษเบื้องต้นแล้ว และมีแนวโน้มว่าพรรคแรงงาน ที่เป็นฝ่ายค้านอยู่ตอนนี้ มีโอกาสชนะเลือกตั้งได้ในระดับ "แลนด์สไลด์" ทีเดียว ถ้าคณะรัฐบาลพรรคอนุรักษ์ยังง่อนแง่นอยู่แบบนี้
2
อดีตรัฐมนตรีในพรรคอนุรักษ์ให้ความเห็นว่า นับจากวันนี้ ลิซ ทรัสส์ จะมีเวลาเหลืออีก 10 วัน ที่ต้องปรับปรุงนโยบายของเธอ และดึงทีมรัฐบาลของเธอกลับมาให้ได้ มิฉะนั้นแล้ว ตำแหน่งผู้นำพรรคอาจมี "การเปลี่ยนแปลง" อีกครั้งก็ได้ ก่อนคะแนนความนิยมของพรรคจะแย่ไปกว่านี้
3
แต่ "การเปลี่ยนแปลง" ที่ว่านี้มันจะมาในรูปแบบใด จะแค่เลื่อยขาเก้าอี้ หรือยึดทั้งเก้าอี้เลย ก็ต้องมาติดตามกันอย่างใกล้ชิดทีเดียว🤔
2
****************
ติดตามบทความของ "หรรสาระ" เพิ่มเติมได้ที่
Facebook - หรรสาระ By Jeans Aroonrat
Tiktok - @HunsaraByJeans
และ Blockdit - หรรสาระ By Jeans Aroonrat
แพลทฟอร์มคุณภาพ ไม่ปิดกั้นการมองเห็นเนื้อหา
****************
1
แหลงข้อมูล
1
โฆษณา