6 ต.ค. 2022 เวลา 11:00 • ธุรกิจ
จากธนาคารศรีนคร สู่ ธนชาต จบที่ ttb
ถ้าย้อนกลับไปเมื่อ 3 ปีก่อน ชื่อ “ธนาคารธนชาต” และ “ธนาคารทหารไทย”
คงจะเป็นหนึ่งในชื่อธนาคารที่เราคุ้นหูกันดี
ก่อนจะควบรวมกันจนกลายเป็น “ธนาคารทหารไทยธนชาต” หรือ ttb
แต่รู้หรือไม่ว่า ? ก่อนหน้านี้ หนึ่งในหัวเรือใหญ่ของ ttb
นั่นคือ ธนาคารธนชาต ก็เคยซื้อกิจการธนาคารนครหลวงไทยมาก่อน
1
ซึ่งธนาคารนครหลวงไทยก่อนหน้านี้ ก็เกิดจากการควบรวมกับธนาคารศรีนคร
1
เรื่องราวการเดินทางข้ามเวลา ได้เริ่มต้นจากธนาคารศรีนคร จนสุดท้ายกลายมาเป็น ttb ได้อย่างไร
BrandCase จะสรุปเรื่องราวมุมนี้ที่หลายคนยังไม่รู้ ให้อ่านกัน
1
เรื่องราวเริ่มต้นจาก นายอุเทน เตชะไพบูลย์ ผู้ก่อตั้งธนาคารศรีนคร..
1
ที่ในสมัยนั้น ได้เป็นผู้ประกอบการธุรกิจสุรารายใหญ่ในประเทศ
ภายใต้ชื่อ “แม่โขง” ซึ่งเป็นสุรายี่ห้อแรกของประเทศไทย และกวางทอง
1
หลังจากที่ธุรกิจสุราเริ่มเจริญรุ่งเรือง นายอุเทน ก็ได้ลงทุนในธุรกิจธนาคารต่อในปี 2493
ในชื่อ “ธนาคารศรีนคร” ร่วมกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ในสมัยรัฐบาลของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม
1
ซึ่งคุณอุเทน ได้ใช้ธนาคารศรีนคร เป็นฐานเงินเพื่อขยายธุรกิจครอบครัว
เช่น ธุรกิจประกันภัย จัดสรรที่ดิน และพัฒนาอสังหาริมทรัพย์
1
จนกระทั่งได้มีโอกาสเช่าที่ดิน เพื่อสร้างโครงการใหญ่ ๆ
อย่างโครงการมิกซ์ยูส เวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ ในปี 2525
1
จนมาถึงในปี 2540 ที่เกิดวิกฤติฟองสบู่ ทำให้ธนาคารศรีนคร ที่นายอุเทนเป็นคนปลุกปั้น ต้องล้มลงด้วยปัญหาสินเชื่อ และถูกธนาคารแห่งประเทศไทยเข้าควบคุม
2
นอกจากนี้ ศูนย์การค้าเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ ก็ต้องให้เซ็นทรัลพัฒนา มารับช่วงต่อในปี 2545
1
ซึ่งในปีเดียวกันนั้น กระทรวงการคลังก็ได้มีมติให้ควบรวมกิจการธนาคารศรีนคร กับธนาคารนครหลวงไทยเข้าด้วยกัน
1
โดยโอนกิจการของธนาคารศรีนคร ให้กับธนาคารนครหลวงไทย ที่มีขนาดใหญ่กว่า แล้วดำเนินธุรกิจในชื่อธนาคารนครหลวงไทยแทน
ซึ่งหลังจากการควบรวมของธนาคารศรีนคร ทำให้ธนาคารนครหลวงไทย มีขนาดของสินทรัพย์ใหญ่เป็นอันดับ 7 ของธนาคารพาณิชย์ไทยทั้งหมด
1
ทีนี้จะขอเล่าเรื่องของธนาคารทหารไทย..
1
ธนาคารทหารไทย ได้เริ่มก่อตั้งขึ้นในปี 2500 โดยจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ อดีตนายกรัฐมนตรี โดยแต่เดิมมุ่งเน้นการให้บริการทางด้านการเงินแก่ทหาร และข้าราชการเป็นหลัก
1
ในเวลาต่อมาธนาคารทหารไทย ได้ขยายขอบเขตการให้บริการ ไปสู่ภาคเอกชน และประชาชนทั่วไป
จนได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เพื่อเป็นบริษัทมหาชนในปี 2537
2
ซึ่งก็เป็นช่วงเวลาเดียวกันกับ ธนาคารไทยทนุ ที่ได้จดทะเบียนเป็นบริษัทมหาชนในปี 2536
1
และต่อมา ธนาคารไทยทนุ ก็ได้เผชิญกับวิกฤติทางการเงินในปี 2540 เช่นเดียวกับธนาคารศรีนคร
ทำให้ธนาคารไทยทนุ ต้องขอความช่วยเหลือจากธนาคาร DBS ในเครือเทมาเส็ก จากประเทศสิงคโปร์ ให้เข้ามาถือหุ้นใหญ่ และได้เปลี่ยนชื่อเป็นธนาคารดีบีเอส ไทยทนุ ในปี 2542
1
ในเวลาต่อมาปี 2547 ธนาคารทหารไทย ก็ได้รวมกิจการเข้ากับธนาคารดีบีเอส ไทยทนุ และบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นสถาบันการเงินที่ปล่อยกู้ ให้กับโครงการอุตสาหกรรม
การรวมกิจการดังกล่าว ทำให้ธนาคารทหารไทย มีขนาดสินทรัพย์ประมาณ 680,000 ล้านบาท
และก้าวขึ้นมาเป็นอันดับ 5 ของธนาคารพาณิชย์ไทย
ซึ่งหลังจากนั้นก็ได้ทำการรีแบรนด์ธนาคารใหม่เป็นชื่อ TMB
1
ในส่วนของธนาคารธนชาต..
ได้รับอนุญาตให้ทำธุรกิจธนาคารพาณิชย์อย่างเต็มรูปแบบในปี 2547
1
โดยมีผู้ถือหุ้นใหญ่คือ บมจ.ทุนธนชาต
ซึ่ง บมจ.ทุนธนชาต ก็ได้เข้าไปถือหุ้นใหญ่ใน มาบุญครอง และสยามพิวรรธน์อีกทีหนึ่ง
จนกระทั่งในปี 2553 ธนาคารธนชาต ได้เข้าซื้อหุ้นธนาคารนครหลวงไทย
จากกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน หรือ FIDF
และทำการซื้อหุ้นทั้งหมดจากผู้ถือหุ้นรายอื่นทั้งหมด จนสามารถควบรวมกิจการได้สำเร็จในปี 2554
ซึ่งนับเป็นการควบรวมกิจการครั้งแรก หลังจากที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ได้เพียง 7 ปี และหลังการควบรวมกิจการ
ธนาคารธนชาตมีจำนวนสาขาจากเดิม 257 สาขา เพิ่มขึ้นมากลายเป็น 671 สาขา
จนได้ขึ้นมาเป็นธนาคารอันดับ 5 ของกลุ่มธนาคารพาณิชย์ไทย
โดยมีขนาดสินทรัพย์ประมาณ 800,000 ล้านบาท
ต่อมาในปี 2562 รัฐบาลได้เล็งเห็นว่า ธนาคารไทยที่ปัจจุบันยังคงดำเนินการอยู่
ยังคงมีขนาดเล็ก เมื่อเปรียบเทียบกับธนาคารหลายแห่งในภูมิภาค
1
ซึ่งบริษัทเอกชนขนาดใหญ่หลายแห่ง ไม่สามารถขอสินเชื่อกับธนาคารภายในประเทศได้
โดยเฉพาะบริษัทเอกชนที่มีขนาดใหญ่กว่าธนาคาร จะต้องไปขอสินเชื่อกับธนาคารต่างประเทศแทน
2
จึงได้ออกมาตรการ “ยกเว้นภาษี” สำหรับการควบรวมกิจการสถาบันการเงิน
เพื่อให้พอร์ตของธนาคารในประเทศไทยนั้นใหญ่ขึ้น เพื่อให้สามารถออกไปขยายกิจการในต่างประเทศได้
อีกทั้งให้กิจการธนาคาร มีขนาดใหญ่พอที่จะรองรับสินเชื่อ ของบริษัทขนาดใหญ่ได้อีกด้วย
อีกเหตุผลหนึ่งคือ ปัจจุบันเรื่องเทคโนโลยี เข้ามามีบทบาทสำคัญกับธุรกิจธนาคาร
ซึ่งธนาคารหลายแห่ง จำเป็นต้องลงทุนกับเรื่องการพัฒนาระบบดิจิทัล เช่น แอปพลิเคชันต่าง ๆ
ซึ่งคิดเป็นต้นทุนที่ค่อนข้างสูง
ด้วยปัจจัยข้างต้น ที่ไม่เอื้อต่อการขยายธุรกิจ จึงทำให้ทั้ง 2 ธนาคาร
คือธนาคารธนชาต และธนาคารทหารไทย สนใจที่จะควบรวมกิจการกัน
2
ซึ่งก็ต้องบอกว่า ธนาคารทั้ง 2 แห่งนั้น ต่างก็มีจุดเด่นที่แตกต่างกัน อย่าง
- ธนาคารธนชาต มีส่วนแบ่งการตลาดสินเชื่อรถยนต์ เป็นอันดับ 1 ในขณะนั้น
- ธนาคารทหารไทย ส่วนใหญ่จะเจาะกลุ่มลูกค้า SME มีนโยบายฟรีค่าธรรมเนียม และเงินฝากดอกเบี้ยสูง
1
โดยในปี 2562 ทั้ง 2 ธนาคารต่างสมัครใจ ลงนามในบันทึกข้อตกลงร่วมกัน
เพื่อรวมกันเป็นธนาคารเดียว ที่มีขนาดใหญ่ขึ้น และมีฐานลูกค้ามากขึ้น
1
จนกระทั่งในปี 2564 ธนาคารทั้งสอง ได้รีแบรนด์ธนาคารเป็น “ธนาคารทหารไทยธนชาต”
พร้อมจดทะเบียนนิติบุคคล และตามด้วยการเปลี่ยนชื่อหลักทรัพย์ จาก TMB ไปเป็น TTB
และกลายเป็นธนาคารที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 6 ของกลุ่มธนาคารพาณิชย์ไทย
ปัจจุบัน ธนาคารทหารไทยธนชาต เป็นธนาคารที่มีขนาดสินทรัพย์ใหญ่เป็นอันดับ 6 ของกลุ่มธนาคารพาณิชย์ไทย มีขนาดสินทรัพย์ประมาณ 1,820,000 ล้านบาท
ซึ่งมีผู้ถือหุ้นหลักดังนี้
- บมจ.ทุนธนชาต 24.33% (อดีตผู้ถือหุ้นใหญ่ธนาคารธนชาต)
- ING Group จากเนเธอร์แลนด์ 21.96% (อดีตผู้ถือหุ้นใหญ่ธนาคารทหารไทย)
- กระทรวงการคลัง 11.76%
1
มาถึงตรงนี้ ก็พอจะสรุปเรื่องราวการเดินทาง ว่าก่อนที่จะมาเป็น ธนาคาร TTB ได้นั้น
เคยเป็นธนาคารใดมาก่อนบ้าง ซึ่งแน่นอนว่า ส่วนใหญ่แล้วเกิดจากการควบรวมกิจการ ไม่ว่าจะเป็น
“ธนาคารทหารไทย” ที่รวมกิจการกับธนาคารไทยทนุ และบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
“ธนาคารธนชาต” ที่ควบรวมกิจการกับธนาคารนครหลวงไทย
ซึ่งธนาคารนครหลวงไทย ก็รวมกิจการเข้ากับธนาคารศรีนครอีกทีหนึ่ง
1
จนสุดท้าย ทั้ง 2 ธนาคารต่างก็อยากรวมกิจการกันอีกรอบ จนกลายเป็น 1 ธนาคาร นั่นคือ “ธนาคารทหารไทยธนชาต” เพื่อให้เป็นธนาคารที่มีขนาดใหญ่มากพอที่จะแข่งขันกับธนาคารอื่น หรือสามารถขยายธุรกิจออกไปยังต่างประเทศได้..
มาถึงตรงนี้ ก็ต้องบอกว่า การควบรวมกิจการนั้น สามารถเกิดขึ้นได้ในทุกธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจเกี่ยวกับการเงินอย่างธนาคาร นั่นเอง..
1
โฆษณา