7 ต.ค. 2022 เวลา 10:18
Blog ที่ 97 (04/10/22) ยกตัวอย่างเรื่องหนังสือ/บทความ/ภาพยนตร์/คลาส ที่เปลี่ยนมุมมองต่อโลกของนิสิตมาที่สุดมาหนึ่งอัน + สรุปสั้นๆมันเกี่ยวกับอะไรเปลี่ยนมุมมองเราไปในแง่ไหน
ใช้เวลา 15 นาที
บทความความรู้สึกผิดและการโทษตนเอง (Self-guilt and Self-blame)
ธรรมชาติของคนเรามักมีความคาดหวังต่อตัวเองบางอย่างเสมอยิ่งยุคนี้เราเติบโตมาท่ามกลางการแข่งขันกันสารพัดเรื่องก็ยิ่งจะสร้างความคาดหวังหลายๆ อย่างให้ตัวเอง
แข่งกันเป็นคนดี.. เราอาจมีความเชื่อหรือถูกปลูกฝังมาว่าเราต้องเป็นคนดี และหากเรายึดติดกับความคิดแบบนี้มากไป เราก็มีแนวโน้มที่จะไม่พอใจตัวเอง เมื่อโกรธ โมโห ทำบาป ทำผิดศีล ขี้เกียจหรือทำผิดไปจากสิ่งที่สังคมบอกเราว่าเป็น “ความดี” เราก็จะพาลรู้สึกแย่ที่ตัวเองมีอารมณ์ด้านมืดหรือไปทำอะไรแย่ๆเหล่านั้น จากนั้นก็มาเป็นชุดล่ะกับการมองตัวเองว่า “ฉันมันไม่ดีเลยนะ” และคำถามเชิงตำหนิตนเอง
แข่งกันเป็นคนเก่ง.. เพราะระบบการศึกษาเราไม่ค่อยมีที่ยืนให้คนเรียนไม่เก่งเท่าไหร่เลย เด็กที่ได้รับการยกย่องเอารูปขึ้นอยู่ตามกำแพงโรงเรียนก็มีแต่เด็กที่ประสบความสำเร็จทางวิชาการทั้งนั้น เจอแบบนี้มากๆ ก็บอกตัวเองว่า “ฉันมันไม่เก่ง” “ฉันมันไม่ได้เรื่อง” “ฉันมันสู้ใครเขาไม่ได้” หนักเข้าก็เป็นความรู้สึกผิดในตัวได้เหมือนกันว่าทำไมเราถึงแย่ไม่ได้เรื่องแบบนี้
แข่งกันมีความสุข อันนี้ซับซ้อนหน่อยค่ะ เรากำลังอยู่ในสังคมวัตถุนิยมกันมาก นิยามความสุขบางทีก็ไปผูกกับการต้องมีนั่นมีนี่ มีเงินมากๆ มีบ้านมีรถสวยๆ มีมือถือรุ่นล่าสุด ฯลฯ ใครจะไปมีอย่างนั้นกันได้ทุกคนล่ะคะ ถ้าไปติดยึดกับวัตถุอย่างเดียว เราก็ตีตราตัวเองว่าเป็นคนล้มเหลว ที่ไม่มีอย่างที่เขามีกัน แล้วก็จบลงด้วยการตำหนิความล้มเหลว บอกตัวเองว่า “ฉันมันไม่ได้เรื่อง” ได้เช่นกัน
ความรู้สึกพวกนี้ไม่ได้แค่ทำลายความสุขในชีวิตคนเราแต่อาจลามไปถึงความรู้สึกไม่มั่นใจในตัวเอง จะทำอะไรก็ดูถูกตัวเองตั้งแต่ยังไม่ทันเริ่มว่า “หน้าอย่างฉันน่ะเหรอจะทำได้”
สิ่งเหล่านี้แหละค่ะที่มักจะนำเราไปสู่ความรู้สึกผิด การดูถูกตนเอง และการสูญเสียความสุขที่เราทุกคนควรมีในชีวิตไป
ทำให้เราได้เปลี่ยนมุมมองดังนี้
ความรู้สึกผิด (guilt) เกิดจากการติดกับมโนธรรมของตนเองที่คอยตักเตือนไม่ให้เรามีพฤติกรรมที่ไม่ดี การรู้สึกผิดจึงเป็นเสมือนด้านมืด(Id)ของเราโดนคุณธรรมประจำใจของเราหรือ Super Ego เล่นงานตัวเองเข้าให้แล้ว..
แล้วถ้าเราไม่สามารถให้อภัยกับความผิดที่เกิดขึ้นได้ ก็จะกลายเป็นเราเองที่จมอยู่กับความรู้สึกผิด จมอยู่กับการกล่าวโทษ ตำหนิตนเองเรื่อยไป ที่จริงถ้าเทียบกับผู้ที่หลงไปกระทำผิดกฎหมายถูกตัดสินว่า “มีความผิด” และ “รับโทษ” กันไปตามความผิดเขายังได้รับโอกาสให้ “สำนึกตัว” และกลับมาเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมได้เลย
แล้วถ้าเรา “สำนึกผิด” จะไม่ให้อภัยตัวเองเพื่อกลับมาทำอะไรดีๆ ได้เหรอ.. เราเป็นมนุษย์นะ...ย่อมมีข้อผิดพลาด กันเป็นธรรมดา มาฝึกให้อภัยตัวเองกัน
นิยามความสุขความสำเร็จกันใหม่ คนเราไม่ต้องรวย ไม่ต้องมีทุกสิ่งทุกอย่างก็เป็นคนมีความสุขมีความสำเร็จในแบบของตนเอง
บางทีความสุขก็อยู่ตรงหน้าเรานี่เอง แค่เราลืมคิดลืมมองไป ไปเที่ยวไล่ตามความสุขแบบคนอื่น
นับความดีความสุขความสำเร็จรายวันเป็นวิธีฝึกสมองด้วยฝึกใจด้วยให้ “เห็นตัวเอง” ในมุมที่ดีบ้างให้ติดเป็นนิสัย
บางเรื่องก็ไม่ต้องรอโอกาส แต่สร้างโอกาสทำความดีด้วยตัวเอง
ฝึกให้อภัยตัวเอง...เพราะอภัยทานคือทานอันยิ่งใหญ่ที่ควรทำให้ตัวเองด้วย..
ฝึกนิยามความสุขความสำเร็จในแบบของเราเองที่จะไม่ทำให้เราต้องมาคอยร้องทุกข์กล่าวโทษตัวเองมากเกินไป.. แล้วก็ฝึกจดจำความสุขความสำเร็จและความดีเล็กๆน้อยๆรายวันของเรา.
โฆษณา