9 ต.ค. 2022 เวลา 12:26 • หุ้น & เศรษฐกิจ
เฟด ต้องขึ้นดอกเบี้ยไปถึงไหน เมื่อไหร่ควรทยอยกลับเข้าตลาดหุ้น
สหรัฐฯ ประกาศตัวเลขเงินเฟ้อล่าสุดของเดือนส.ค. เมื่อกลางเดือนก.ย. 2022 ที่ผ่านมาอยู่ที่ 8.3% YoY ต่ำกว่าเดือน ก.ค. อยู่ที่ 8.5% YoY
ถึงแม้เงินเฟ้อสหรัฐฯ จะเริ่มลงจากจุดสูงสุดมาแล้ว แต่อัตราการลดลง ยังถือว่า ช้ามาก หากเป้าหมายของเฟด คือ อยากให้เงินเฟ้อ กลับลงไปอยู่ที่เป้าหมาย 2.0%
ด้วยเหตุผลนี้ ประธานเฟดแทบจะทุกคนที่ออกมาส่งซิกผ่านสื่อ จึงพูดเป็นเสียงด้วยกันว่า “เฟดจำเป็นต้องเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อไปเพื่อสกัดเงินเฟ้อ”
จากการประชุมวันที่ 21 ก.ย. เฟด เปิดเผย Dot Plot ออกมา เราจะพบว่า ความเห็นส่วนใหญ่ คาดว่า ปีนี้ Fed Fund Rate จะขยับขึ้นไปที่ 4.25% - 4.50% จากระดับปัจจุบัน อยู่ที่ 3.00% - 3.25%
1
แปลว่า เฟดมอง การประชุมอีก 2 ครั้ง เฟดต้องขึ้นกดอกเบี้ยรวมกัน 1.25% โดย นักลงทุนในตลาด คาดการณ์ 2 พ.ย. ขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.75% และ ครั้งสุดท้ายของปี 14 ธ.ค. ขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.50% นี่คือ Base Case
ถ้าเฟด จะเอาเงินเฟ้อลงให้ได้จริง ดอกเบี้ยควรขึ้นไปเท่าไหร่?
ย้อนกลับไปดูสถิติเศรษฐกิจสหรัฐฯ นับตั้งแต่ปี 1971 เป็นต้นมา สหรัฐฯ เจอการปรับตัวพุ่งขึ้นของเงินเฟ้อมาแล้วทั้งหมด 6 ครั้ง
2
จุดสังเกต คือ ทั้ง 6 ครั้ง เฟดต้องขึ้นดอกเบี้ยไปให้อย่างน้อยเท่ากับ หรือ สูงกว่าเงินเฟ้อ จึงจะสามารถเอาเงินเฟ้อลงมาได้
1
พอเปรียบเทียบกับในอดีต
ณ เวลาปัจจุบันที่เราเห็นเงินเฟ้ออยู่ระดับ 8% แปลว่า เฟด ต้องขึ้นดอกเบี้ยไปอย่างน้อยแตะ 8% เท่ากับเงินเฟ้อเลยหรือ?
ตลาดหุ้นโลก ที่ปรับฐานกันอยู่ตอนนี้ สาเหตุก็เป็นเพราะ กลัวการขึ้นดอกเบี้ยของเฟด เพราะ เมื่อต้นทุนทางการเงินของสินทรัพย์ที่ปลอดภัยที่สุดในโลกมันเพิ่มสูงสุด การเคลื่อนย้ายเงินทุนก็จะเปลี่ยนทิศทางตามไปด้วย
ในมุมมองของตลาดหุ้น อธิบายด้วยรูปนี้ น่าจะเห็นภาพมากกว่า
เงินเฟ้อสูง ผลประทบด้านปัจจัยพื้นฐาน คือ ผลประกอบการบริษัท ทำให้มีต้นทนุการกู้ยืมที่สูงขึ้น และ อาจส่งผลทำให้ คนชะลอการบริษัท เนื่องจาก ราคาสินค้าที่แพงขึ้น
1
ผลกระทบด้านการหามูลค่ากิจการ คือ ทำให้ Cost of Funding สูงขึ้น มีผลทำให้การคำนวน Valuation เพื่อหา Fair Value เปลี่ยนไป หรือ พูดอีกอย่างคือ Target Price จะถูกปรับลดลง และ ตลาดในภาพรวม จะให้ PE Multiple ลดลงตามไปด้วย
2
แต่ลองย้อนกลับไปดู Dot Plot สิครับ เราจะพบว่า จุดสูงสุดของดอกเบี้ยรอบนี้ เฟด มองว่า คือปี 2023 และไม่เกิน 5.00%
และถ้าไปดูความเห็นของนักลงทุนในตลาด ก็คาดการณ์ไปในทางเดียวกัน คือ เชื่อว่าดอกเบี้ยขึ้นได้อีกไม่เยอะ
1
Dot Plot และ คาดการณ์ของนักลงทุนในตลาด สวนทางกับชุดข้อมูลในอดีต น่าจะมาจาก 2 สมมติฐาน
1
นักวิเคราะห์หันเป้า GDP Growth ของประเทศเขตเศรษฐกิจหลักมาอย่างต่อเนื่อง พร้อมบอกว่า โอกาสที่เศรษฐกิจโลกจะเข้าสู่ภาวะถดถอย (Recession) ในอีก 12 เดือนข้างหน้า สูงขึ้นเรื่อยๆ
แถมตอนนี้ Inverted Yield Curve ซึ่งเป็น Signal การเกิด Recession ก็ยิ่งติดลบมากขึ้นไปอีก
ถ้าเศรษฐกิจสหรัฐฯ เข้าสู่ Recession จริง อย่างที่นักวิเคราะห์กลัวกัน ก็เป็นเหตุเป็นผลอยู่ว่า เฟด ไม่มีความจำเป็นต้องขึ้นดอกเบี้ยสู้เงินเฟ้อต่อ จำเป็นต้องกลับลำนโยบายมากระตุ้นเศรษฐกิจแทน
อีกเหตุผลก็คือ ดอกเบี้ยที่ขยับขึ้นมาเรื่อยๆ สำหรับชาวอเมริกันที่เพิ่งซื้อบ้าน หรือ ยังผ่อนบ้านอยู่ จะเจอกับภาระดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงขึ้น
1
เศรษฐกิจก็ดูจะชะลอ เงินเฟ้อก็อยู่ในระดับสูง แถมยังมาเจอดอกเบี้ยแพงอีก ดร.มิ่งขวัญ นักเศรฐศาสตร์ จาก กองทุนบัวหลวง เคยให้สัมภาษณ์ในรายการไว้กับผมว่า ทำเนียบขาว ไม่ถูกใจสิ่งนี้ และมีโอกาสูง ที่จะมีการกดดันจากรัฐบาล ให้เฟด ชะลอการขึ้นดอกเบี้ย
ดูคลิปได้ที่นี่ https://www.youtube.com/watch?v=AG0xeSwq40c&t=73s
1
ขณะที่พี่นริศ จาก ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี ให้มุมมองไว้ในรายการ Mr.Messenger Talk เมื่อต้นเดือน ต.ค. ไว้น่าสนใจมาก โดยบอกว่า วัฎจักรเงินเฟ้อในอดีต เฟดยังไม่ได้ใช้เครื่องมือทางการเงินที่เรียกว่า “QE”
1
แต่ตอนนี้ งบดุลของเฟดขยายตัวไปแตะระดับ $9 Trillion แล้ว เฟดจะใช้การลดขนาดงบดุล (QT) ในการช่วยดูดสภาพคล่องในระบบกลับ ดังนั้น นี้อาจเป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ เฟด ไม่จำเป็นต้องสู้กับเงินเฟ้อด้วยการขึ้นดอกเบี้ยแรงเหมือนในอดีต
ไปดูคลิปได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=blWaiUrIUSY&t=1s
เพราะฉะนั้น อย่าไปคิดว่า เฟด จะมุ่งหน้าขึ้นดอกเบี้ยเพียงอย่างเดียวครับ เขาพร้อมที่จะกลับลำได้ทุกเมื่อ ถ้าข้อมูลที่มาเสิร์ฟตรงหน้ามันเปลี่ยนไป
เลยเป็นที่มาที่ สัปดาห์ที่แล้ว พอตัวเลขเปิดรับสมัครงาน (JOLTS) ประกาศออกมาวันจันทร์ ลดลง 1.1 ล้านตำแหน่ง สู่ระดับ 10.1 ล้านตำแหน่งในเดือนส.ค. ซึ่งต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ กลายเป็น นักลงทุนดีใจ รีบเอาเงินใส่เข้าไปในตลาดหุ้นกันใหญ่
2
เพราะไปจินตนาการเอาว่า ตลาดแรงงานกำลังแย่แบบนี้ ที่ประชุม FOMC ไม่กล้าขึ้นดอกเบี้ยแรงหรอก
แต่ฝันนั้นก็ถูกทำลายปลายสัปดาห์ เพราะวันศุกร์ ประกาศตัวเลข Nonfarm Payrolls ออกมา 265,000 ตำแหน่ง ดีกว่าที่ตลาดว่าจะคาดเพิ่มขึ้น 250,000 ตำแหน่ง ก็ทำให้หุ้นสหรัฐฯ ร่วงกันหมดทุกดัชนีทันที
ที่จะบอกก็คือ ตลาด กำลังพยายาม Timing จุดกลับทิศของนโยบายการเงิน เพียงแต่ เวลามันยังไม่สุกงอม และข้อมูลที่ทยอยออกมา มันยังไม่สนับสนุนให้เฟดเปลี่ยนใจไปจากเดิม
1
แต่ถ้าในเรื่องของ Fed Fund Rate ถ้าเรามองว่า ไม่ทะลุเกิน 4.75% - 5.00% จริงๆ แสดงว่า ไตรมาส 4 นี้ โอกาสที่หุ้นจะรีบาวน์ ก็มีสูงเหมือนกัน โดยสิ่งที่เราต้องติดตามก็คือ
1
1. ตัวเลข CPI ที่ควรทยอยลดลงเรื่อยๆในช่วงที่เหลือของปี
1
2. ตัวเลขตลาดแรงงาน ถ้าออกมาแย่กว่าที่ตลาดคาดการณ์มากๆ ก็อาจทำให้เฟดเปลี่ยนใจ
1
3. ผลประกอบการ โดยเฉพาะในไตรมาส 3/22 ถ้ายังออกมาดีอยู่ ความมั่นใจในการกลับเข้าลงทุนของนักลงทุนก็จะสูงขึ้น
4. ค่าเงินดอลล่าร์ ไม่สามารถแข็งค่าทำ New High ได้ต่อ จะดีต่อตลาดหุ้นทั้งโลก
ถ้ามองเป็นภาพทางเทคนิค
ดัชนี S&P 500 ลงมาจากจุดสูงสุดแล้ว มากกว่า 24% ถ้าวัด Fibonacci Retracement จะได้แนวรับสำคัญที่ระดับ 50% และ 38.2% ที่ระดับ 3,500 จุด และ 3,200 จุด ตามลำดับ
ส่วนจุดนั้น จะเป็นจุดกลับตัวเข้ารอบขาขึ้นเลยไหม ยังตอบลำบากครับ แต่ต้องมีรีบาวน์รอบใหญ่บ้าง หากเฟดเริ่มกลับทิศนโยบาย
Mr.Messenger รายงาน
โฆษณา