13 ต.ค. 2022 เวลา 02:50 • หุ้น & เศรษฐกิจ
ประเทศไทย ส่งออกไอศกรีม อันดับ 4 ของโลก
7
ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยส่งออกไอศกรีม มูลค่าราว 3,538 ล้านบาท มากที่สุดเป็นอันดับ 4 ของโลก
โดยเป็นรองเพียงสหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักร เท่านั้น
7
ก็ต้องบอกว่าตลาดไอศกรีมยังเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง
โดยเฉพาะกลุ่มไอศกรีมรักสุขภาพ ผลไม้ และไขมันต่ำ ตามเทรนด์สุขภาพที่กำลังเติบโต
 
ซึ่งตลาดไอศกรีม ถูกคาดการณ์ว่าจะมีมูลค่าสูงถึง 4,000,000 ล้านบาท ภายในปี 2028 หรือในอีก 6 ปีข้างหน้า
5
แล้วประเทศไทย จะได้ประโยชน์จากเรื่องนี้ขนาดไหน ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
ก่อนอื่น ก็ต้องบอกว่าความนิยมไอศกรีมในแต่ละประเทศไม่เหมือนกัน สะท้อนให้เห็นจากชาวยุโรป บริโภคไอศกรีม เพียง 6.20 ลิตรต่อคน แต่ชาวอเมริกัน บริโภคไอศกรีมสูงถึง 20 ลิตรต่อคน สูงกว่ากันเป็น 3 เท่า
และแม้ว่าไอศกรีมจะมีหลากหลายรสชาติ ให้ผู้บริโภคได้เลือกซื้อกัน
แต่รสชาติที่สามารถครองตลาดไอศกรีมทั่วโลกได้ หลัก ๆ มีทั้งหมด 3 รสชาติด้วยกัน ได้แก่
1
- รสช็อกโกแลต
- รสวานิลลา
- รสผลไม้
1
โดยทั้ง 3 รสชาติที่ว่านี้ กินส่วนแบ่งตลาดไอศกรีมมากถึง 3 ใน 4 ของทั้งโลก
1
อย่างไรก็ตาม ก็ต้องบอกว่าไอศกรีมที่ครองใจผู้บริโภคในแต่ละประเทศ ก็อาจแตกต่างกันได้ ขึ้นอยู่กับว่าคนในประเทศนั้น ๆ ชอบทานอะไรอีกด้วย เช่น ไอศกรีมรสชาเขียวของญี่ปุ่น เจลาโตของอิตาลี หรือไอศกรีมรสมะพร้าวในบ้านเรา
9
ปัจจุบันตลาดไอศกรีมทั่วโลก มีมูลค่าสูงถึง 2,900,000 ล้านบาท
หากเราย้อนไปดูมูลค่าตลาดไอศกรีมในช่วงที่ผ่านมา จะพบว่า
- ปี 2013 มูลค่าตลาดไอศกรีมทั่วโลก 1,800,000 ล้านบาท
- ปี 2020 มูลค่าตลาดไอศกรีมทั่วโลก 2,300,000 ล้านบาท
1
เห็นได้ว่า ตลาดไอศกรีมมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง
แถมยังเติบโตได้อีก โดยคาดการณ์กันว่า จะสูงถึง 4,000,000 ล้านบาท ในอีก 6 ปีข้างหน้า
2
แล้วตลาดไอศกรีมที่เติบโตอย่างต่อเนื่องแบบนี้
มาดูกันว่า ประเทศไทย จะได้ประโยชน์อะไรบ้าง ?
1
ประเทศไทย มีการส่งออกไอศกรีม หลัก ๆ ไปที่
- มาเลเซีย 36%
- สหรัฐอเมริกา 10%
- สิงคโปร์ 8%
3
ซึ่งหากดูสัดส่วนการส่งออกไอศกรีมของไทยในช่วงที่ผ่านมา จะพบว่า
- ปี 2554 มูลค่าการส่งออก 1,069 ล้านบาท ปริมาณการส่งออก 18,626 ตัน
- ปี 2564 มูลค่าการส่งออก 3,538 ล้านบาท ปริมาณการส่งออก 46,239 ตัน
เราจะเห็นได้ว่า ทั้งมูลค่าและปริมาณการส่งออกไอศกรีม สูงขึ้นเกือบ 3 เท่า ภายในระยะเวลาเพียง 10 ปี
สอดคล้องกับเทรนด์การเติบโตของตลาดส่งออกไอศกรีมทั่วโลกที่สูงขึ้น
3
โดยสาเหตุที่เราสามารถส่งออกไอศกรีมได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ก็เพราะว่า เรามี “ความพร้อมด้านแหล่งผลิต”
3
รู้หรือไม่ว่า ประเทศไทยเป็นศูนย์กลาง ในการส่งออกไอศกรีมในภูมิภาคอาเซียน เพราะมีบริษัทต่างชาติยักษ์ใหญ่ด้านไอศกรีม เข้ามาตั้งโรงงานเป็นแหล่งการผลิต
4
โดยธุรกิจต่างชาติที่ว่านั้น ก็เป็นแบรนด์ที่เราคุ้นชื่อกันเป็นอย่างดี เช่น แบรนด์ Wall’s ซึ่งเป็นของบริษัท Unilever สัญชาติอังกฤษ หรือแบรนด์ Nestlé จากประเทศสวิตเซอร์แลนด์
1
นอกจากเราจะเป็นฐานที่ตั้งของโรงงานหลักในอาเซียน เรายังมีโรงงานที่รับจ้างผลิตโคนและไม้ไอศกรีมภายในประเทศ เช่น บริษัท ฉอยชิว จำกัด ผู้ผลิตโคนไอศกรีม ที่สร้างรายได้หลักร้อยล้านบาท
3
สรุปได้ว่า เรามีความพร้อมสำหรับการเป็นแหล่งผลิตไอศกรีมครบวงจร
เรื่องต่อมา คือ “การได้ประโยชน์จากข้อตกลงการค้าเสรี”
ไอศกรีมที่ส่งออกไปยังคู่ค้าต่างประเทศ แบบไม่ต้องเสียภาษี
เช่น ประเทศในอาเซียน จีน เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์
ในขณะที่ญี่ปุ่นยังคงเก็บภาษีนำเข้าประมาณ 21%
ซึ่งเรื่องนี้ก็เป็นประโยชน์ให้กับไอศกรีมอยู่ไม่น้อย
โดยเฉพาะนิวซีแลนด์ ซึ่งมีอัตราการบริโภคไอศกรีมสูงที่สุดในโลก
5
รู้หรือไม่ว่า คนนิวซีแลนด์ 1 คน บริโภคไอศกรีมเฉลี่ยมากถึง 28.4 ลิตร
หรือเทียบคร่าว ๆ ก็คือ 14 ควอร์ตต่อปีเลยทีเดียว
2
อีกข้อได้เปรียบของประเทศไทย ก็คือ เรามี “วัตถุดิบที่หลากหลาย”
1
โดยเรื่องนี้ดูจะเป็นทั้งข้อได้เปรียบและโอกาส ในการขยายการส่งออกไอศกรีมให้เพิ่มขึ้น เพราะเกี่ยวข้องโดยตรงกับสินค้าเกษตรของไทย
4
ก็ต้องบอกว่าแม้ไอศกรีมจะเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบหลัก คือ นม และไขมัน
แต่ไอศกรีมบางชนิด ก็มีการผสมและดัดแปลงให้กลายเป็นรสชาติใหม่ ๆ เช่นกัน
1
หากผสมผลไม้เข้าไปในไอศกรีม เราจะเรียกกันว่า “ไอศกรีมซอร์เบต์”
3
โดยประเทศไทย ที่มีผลผลิตในด้านนี้เป็นจำนวนมากอยู่แล้ว
ก็อาจได้รับผลประโยชน์ จากการแปรรูปผลไม้ไปทำไอศกรีมด้วยเช่นกัน
 
ผลไม้ที่ว่านี้ ก็เช่น มะพร้าว ทุเรียน หรือผลไม้เมืองร้อนอื่น ๆ ที่สามารถใส่ลงไปในไอศกรีม เพื่อเพิ่มเนื้อสัมผัสของผลไม้ และกลายเป็นไอศกรีมเพื่อสุขภาพให้กับผู้บริโภคที่ชื่นชอบไอศกรีมแบบนี้
สะท้อนได้จากในช่วงที่ผ่านมา เรามีการส่งออกผลไม้และผลิตภัณฑ์แปรรูปได้อย่างต่อเนื่อง
- ในปี 2562 มูลค่าการส่งออก 125,961 ล้านบาท ปริมาณการส่งออก 2.7 ล้านตัน
- ในปี 2563 มูลค่าการส่งออก 141,135 ล้านบาท ปริมาณการส่งออก 2.4 ล้านตัน
- ในปี 2564 มูลค่าการส่งออก 207,780 ล้านบาท ปริมาณการส่งออก 3.1 ล้านตัน
4
แม้ปริมาณและมูลค่าในการส่งออกผลไม้ รวมไปถึงผลไม้ที่แปรรูป สามารถส่งออกได้เพิ่มขึ้น และเรามีการส่งออกผลไม้สดประมาณ 2 ใน 3 ของสินค้ากลุ่มผลไม้ จึงกลายเป็นว่าการส่งออกที่เพิ่มขึ้น อาจมาจากปริมาณการส่งออกที่มากขึ้นเท่านั้น แต่มูลค่าเพิ่มของผลไม้ที่ส่งออกไป อาจไม่ได้เพิ่มขึ้นมากนัก
5
ที่ผ่านมา เกษตรกรไทยมักเผชิญกับราคาขายผลไม้บางชนิดตกต่ำ
การนำไปแปรรูปเป็นไอศกรีมผลไม้ ที่กำลังเติบโตและเป็นเทรนด์ของโลก
ก็น่าจะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการสร้างมูลค่าเพิ่ม ที่น่าสนใจไม่น้อยเลยทีเดียว
2
เมื่อรวมกับความพร้อมในอุตสาหกรรมไอศกรีมบ้านเรา
สินค้ากลุ่มไอศกรีมผลไม้จากประเทศไทย ก็น่าจะกลายมาเป็นอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์แปรรูปที่น่าจับตามอง ไม่น้อยเลยทีเดียว
1
หนังสือ BRANDING THE NATION หนังสือที่เล่าถึงการสร้างแบรนด์ของแต่ละประเทศที่ทำให้ แต่ละประเทศเป็นแบบทุกวันนี้
เช่น ทำไมเยอรมนีเป็นประเทศแห่งรถยนต์ ทำไมฝรั่งเศสเป็นประเทศแห่งแบรนด์หรู สั่งซื้อเลยที่
2
โฆษณา