12 ต.ค. 2022 เวลา 08:00 • บ้าน & สวน
Hydroponics Farm and Technology
สัปดาห์ที่ 12 แปลงร่างเป็นสถาปนิก ออกแบบ วางแผน แบบนัก DIY ✏️📏📐
สัปดาห์นี้เห็นที่จะได้ฤกษวางโครงคร่าวผนังเบาเสียที หลังจากเสร็จงานการทาสีจริง (Mercury) วันนี้จึงต้องมาเป็นนัก DIY ที่ต้องมาทำหน้าที่ของการวาง Lay out ในการกำหนดแผนผังก่อนลงมือจริง แต่เนื่องจากกำแพงที่จะกั้นผนังทั้งสองด้านเป็นกำแพงที่มีความแตกต่างกันโดยสภาพของพื้นที่เดิม
ด้านทางฝั่งตะวันตกเฉี่ยงใต้เป็นกำแพงที่บางส่วนได้ทำสีไว้แล้วเป็นกำแพงเรียบสามารถตีผังวางแนวกั้นได้ แต่ทางด้านตรงกันข้าม (ฝั่งตะวันออกเฉลี่ยงเหนือ) จะเป็นส่วนที่ยากพอสมควรเพราะมีเงื่อนไขที่ไม่สามารจะเจาะกำแพงได้และยังมีส่วนโค้งของเสาเดิมที่เป็นเสาแบบท่อใยหินใส่เหล็กหล่อปูนไว้ยึดกำแพงสี่ด้านมีอายุประมาณ 40 ปีมาแล้วนำมาเป็นเสาหลักในการยึดกำแพงของตัวบ้านเดิมเอาไว้
ปูนที่ฉาบอิฐบล็อคเอาไว้ผนวกับเสาใยหินทำเอาผมต้องพิจารณาให้ดี เพราะท่อใยหิน (Asbestos) อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ถ้าเกิดแตกหักหรือมีรอยร้าว ปัจจุบันไม่ค่อยมีใครนำมาใช้เป็นเสากั้นห้องก็ด้วยความเข้าใจที่ว่าอาจทำให้สุขภาพมีปัญหาในเรื่องของการฟุ้งกระจายของฝุ่นผงถ้าสูดเข้าไปในระบบหายใจมากๆ เป็นระยะเวลานานติดต่อกันหลายปีอาจมีความเสี่ยงสูงที่อาจเกิดเป็นโรคมะเร็งปอด (Lung Cancer), มะเร็งเยื่อหุ้มปอด (Mesothelioma) และ ปอดอักเสบจากแอสเบสตอส (Asbestosis) เป็นงานวิจัยจากต่างประเทศครับ 👨‍⚕️
ก่อนลงมือทำต้องพิจารณาให้ดีเพราะมิฉะนั้นแล้วขืนไปเจาะอาจจะทำให้ผนังปูนและเสาใยหินแตกร้าวได้ เดี๋ยวงานเข้าเจ้าของบ้านเอ็ดตะโรเอาก็จะต้องเสียทรัพย์อีก จึงเป็นปัญหาที่ผมต้องพิจารณาให้รอบครอบก่อนลงมือทำจริง
งาน DIY ในครั้งนี้ผมต้องทำคนเดียว ลูกโบว์ติดงานบัญชีที่พัทยามาช่วยงานไม่ได้ ต้องอาศัยเครื่องมือเข้าช่วยโดยเฉพาะการตีเส้นผังงานกำหนดขอบเขตไว้ก่อนเวลาเอาวัสดุโครงสร้างมาทำจะได้ง่ายต่อการทำงาน จากกำแพงด้านหนึ่งไปยังอีกกำแพงด้านหนึ่งที่มีความยาว 410 (4 เมตร 10 เซ็นติเมตร)
ผมวางเจ้า Laser Fugo ที่ผมมีอยู่กับพื้นโดยไม่ต้องต่อขาตั้งเพราะต้องการให้เส้น laser วางเส้นแนบไว้บนพื้นคอนกรีตในแนวราบ แต่เส้นที่ฉายออกมามองไม่ค่อยชัดเป็นเส้นสีเขียวรางๆ จึงไปหยิบคู่มือมาดูจึงรู้ว่าเครื่องนี้ปรับเส้นเข้มสู้แสงได้ จึงไปกดปุ่มที่ตัวเครื่องตามที่ระบุไว้ในคู่มือ แสงสีเขียวเริ่มเข้มขึ้นมาอย่างเห็นได้ชัด
ผมจึงหมุนซ้ายหมุนขวาปรับหน้าปรับหลังอยู่สักพักหนึ่งจึงได้เส้นตามต้องการ ดูแนวตามเส้นตั้งส่วนระดับน้ำผมไม่ได้ดูเพราะฟังเสียง ถ้ามีเสียงดังขึ้นมาก็แสดงว่าเส้นตั้งไม่ตรงสามารถปรับที่ขาตั้งที่เป็นเดือยยึนออกมาเล็กน้อยก็เข้าที่เข้าทางพร้อมทำงานต่อได้
เมื่ออยู่คนเดียว นัก DIY ก็ต้องทำทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นการเลาะเอากระดาษกาวที่ปิดกันสีเปื้อนออกตามแนวต่างๆ ที่ได้ปิดไว้ก่อนหน้า ตลอดจนปัดกวาดพื้นที่ๆ จะตีแนวเส้น เห็นงานง่ายๆ เล็กๆ แบบนี้ใช้เวลาทำนานอยู่พอสมควรเลยที่เดียว [บ่นให้ฟัง 😄😄ฮ่าๆๆ ลูกโบว์ไม่อยู่] 🌪ลมก็ขยันพัดจัง ! พัดไม่พัดเปล่าหอบเอาเศษใบไม้ร่วงหล่นมาด้วยเสียเวลาโดยใช่เหตุ
เมื่อได้เส้นแนวพื้นจากฝั่งหนึ่งไปอีกฝั่งหนึ่งโดยปรับเส้นให้เป็นทั้งแนวตั้งและแนวนอนจึงมองเห็นเส้นโครงสร้างแบบมีมิติขึ้น ผมจึงทำการ Mark จุดไว้ก่อนๆ ที่จะตีเส้นยาวด้วยปากกาเมจิกสีน้ำเงินและเอาตัว U มาวางให้ได้แนวความกว้างโดย Mark จุดไว้เป็นระยะๆ เพื่อที่ได้ทำเครื่องหมายระบายขอบเขตตามความกว้างของตัว U
เมื่อเส้นแนวตั้งไตร่ขึ้นกำแพงตามการฉาย Laser ผมก็ทำ Mark และระบายขอบเขตไว้เช่นเดียวกัน ทำงานตีเส้น Mark จุดไปสักพักหนึ่งรู้สึกเริ่มเวียนหัว 🥴️เพราะเดินไปเดินมาระหว่างกำแพงลุกยืนและนั่งลงอยู่บ่อยครั้ง
ประกอบอากาศเริ่มร้อนมากขึ้น 🥵️การอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีอุณหภูมิสูงและความชื้นต่ำสามารถทำให้มีเหงื่อออก และอาจทำให้เกิดภาวะขาดน้ำ ซึ่งสามารถทำให้เกิดความดันโลหิตต่ำ หรือความดันโลหิตต่ำจากการเปลี่ยนท่ายืนท่านั่งอยู่บ่อยครั้ง อาจเป็นลมขึ้นมาก็ได้ เลยหยิบมือถือขึ้นมาเพื่อดูเวลา "บ่ายสองโมงแล้วครับ" มิน่าผมจะเป็นลมหยุดทำงานก่อนดีกว่า พักเที่ยงไปทานข้าวก่อนแล้วค่อยมาทำใหม่ [นี้ถ้าลูกโบว์อยู่คงเคาะระฆัง 🔔พักเที่ยงไปนานแล้ว 😄😄ฮ่าๆๆๆ]
ข้อจำกัดของเสาและผนังที่เจาะไม่ได้เป็นเงื่อนไขที่ทำงานยากขึ้น
สำหรับเส้นแนวราบพื้นคอนกรีตและแนวตั้งเป็นด้านต่อเนื่องจากแนวกับแผงด้านตะวันออกเฉียงเหนือ มายังแนวด้านตะวันตกของอีกฝั่งหนึ่งผมก็ใช้ Laser วางแนวและทำ Mark เช่นเดียวกัน การตีเส้นแผนผังในครั้งนี้ยังแบ่งแนวระยะห่างเท่ากันโดยกำหนดแนวที่จะเป็นช่องระบายน้ำไว้ประมาณ 10 เซ็นติเมตร และแนวระยะห่างกันช่วงละ 60 เซ็นติเมตรเว้นช่องประตูไว้ที่ 80 เซ็นติเมตรเป็นมาตรฐานของประตูโดยทั่วๆ ไป
เมื่อได้กำหนดขอบเขตเป็นที่แน่ชัดแล้วก็ทำการมองดูภาพรวมจึงทำให้มองเห็นภาพทั้งหมดได้ชัดเจนขึ้น แต่งานตีผังตีแบบยังไม่เสร็จครับ เพราะข้อกำหนดที่ได้วางแผนไว้จะต้องทำการเว้นขอบระยทั้งสี่ด้านออกห่างมาข้างละ 50 เซ็นติเมตร เพื่อจะทำเป็นทางเดินรอบโต๊ะวางรางปลูกฝัก พร้อมต้องเว้นช่องกลางให้สามารถเดินเข้าออกได้สะดวกใน
เวลาที่ต้องดูแลผักนั้นเป็นข้อกำหนดแรก
แต่มีข้อสำคัญอีกประการหนึ่งที่ได้คุยกับทีมไว้ (Father 👨‍💼 and Daughter 👸) ถ้าทำการปิดกันพื้นที่ฟาร์ทั้งหมดจะไม่มีช่องที่จะขึ้นไปทำความสะอาดหลังคาได้ จะเกิดความยุ่งยากมากในภายหลัง หรือแม้นกระทั่งการปูพลาสติกคุมราง (ส่วนหลังคาฟาร์ม)
ถ้านานวันเกิดความหย่อนยานหรือฉีกขาดของพลาสติกคุมรางการเปลี่ยนใหม่จะต้องทำได้โดยง่ายไม่ต้องปีนขึ้นหลังคาอีกฝั่งซึ่งเป็นเรื่องที่ทำไม่ได้ง่ายนักสู้ออกแบบเว้นระยะไว้ตามที่กล่าวไว้ตั้งแต่แรก เวลาทำงานก็เพียงถอดพลาสติกบนหลังคาโดยรอบออกมีช่วงที่จะโผล่ขึ้นไปดำเนินการได้ช่องเว้นห่างไว้ 50 เซ็นติเมตรนี้ตลอดแนวซึ่งจะเรียกว่าช่อง Service ก็ได้
การกำหนดแนวติดตั้งวาดเส้นพื้นที่ไว้ช่วยให้การทำงานง่ายขึ้น
หลังจากที่ได้ทำครบองค์ประกอบในการตีผังไว้เรียบร้อยแล้ว จึงต้องมาคำนวณเรื่องการนำวัสดุที่จะทำโครงคร่าวผนังเบาที่ต้องใช้ตัว U กับตัว C อย่างละกี่เส้น อะไรเป็นเสา อะไรเป็นคาน อะไรเป็นทันจันและมีแปรรวมด้วยหรือไม่ จะต้องใช้ขนาดความหนากี่มิลจึงจะแข็งแรง เพราะวัสดุในท้องตลาดที่จะนำมาทำงานมีอยู่หลายยี้ห้อ และหลายราคา หลายแบบ ของดีมีคุณภาพราคาก็สูงอาจทำให้งบประมาณต้นทุนที่กำหนดไว้ในใจบานปลายได้
แต่ถ้าซื้อของถูกมากเกินไปคุณภาพก็จะไม่ดีการใช้งานก็ไม่คงทนเท่าที่ควร จะเข้าตำรา “Lose less, lose more very easy to lose” เสียน้อย เสียยาก เสียมาก เสียง่ายตามสุภาษิตไทยดั่งเดิมครับ…. สัปดาห์หน้าจะเป็นความท้าทายสำหรับนัก DIY อย่างผมอีกแล้วในการวางตัว U บนพื้นที่เรียบไม่เท่ากัน ผมจะแก้ปัญหานี้อย่างไร โปรดติดตามตอนต่อไป สัปดาห์นี้ลาไปก่อนครับสวัสดี….🙏
🔊 ถ้าชอบกด like (React)
ถ้าใช่กด Share
ถ้าให้แน่แชร์ประสบการณ์ (Comment)
หรือ lighting Line ID : 0817304354
โฆษณา