15 ต.ค. 2022 เวลา 04:50 • ข่าวรอบโลก
สิ่งที่ BFSS ไม่ชอบที่สุดในเอกสารชี้แจงประกอบลงข้อมติของUNGA หรือEOV ที่เราวิเคราะห์วิจารณ์กันไปในโพสต์ก่อนหน้านี้ คือ การเปิดประโยคแรกด้วยคำว่า "As A Small Sovereign Nation" แปลไทยได้ว่า ในฐานะ[ไทย] เป็นประเทศอธิปไตยเล็กๆ" ทำไมถึงต้องขึ้นต้นแบบนี้
เราไม่แน่ใจเหมือนกันว่า แนวคิดว่า การดำเนินนโยยายการต่างประเทศของไทย ไม่เราจะเรียกว่า ไผ่ลู่ลม Siamese Talk หรืออะไรใดๆ ก็ตาม มักจะบอกว่า เพราะเราเป็นประเทศเล็กๆ ไม่ใช่มหาอำนาจ หรือ ปัจจุบัน ในเรื่อง รัสเซียยูเครน อมเริกา จีน ในไทยก็มักจะมีกระแสว่า ให้เราอยู่เฉยๆ เราเป็นประเทศเล็กๆ อย่าไปยุ่งกับใครเค้า ...แต่เราได้ย้อนไปดูหรือยังว่าที่ผ่านมาการประสบความสำเร็จในนโยบายต่างประเทศและความมั่นคงไทย คือการทำ"ตัวเล็ก" จริงหรือ
ไม่ว่าจะ พระราชวิเทโศบาย ของรัชกาลที่ 5 ในนุคล่าอาณานิคม ทำให้ไทยรอดพ้นการเป็นอาณานิคม มาได้คือการ "ทำตัวเล็ก" ไม่ยุ่งกะใคร หรือสำเร็จ เพราะการพัฒนาประเทศให้เป็นรัฐสมัยใหม่ และแสดงบทบาททัดเทียมอารยะประเทศเช่นการ เสด็จประพาสยุโรป หรือการแสดงว่าทรงมีปฏิสัมพันธ์กับจักรวรรดิรัสเซีย ??
การเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่1 ของรัชกาลที่ 6 ซึ่งทำให้ไทยสามารถแก้ไขสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมได้นั้น หากไทยในเวลานั้นคิดว่า ต้องทำตัวเล็ก ไม่ยุ่งกับใคร อย่าชักศึกเข้าบ้าน เหมือนที่หลายๆคน ชอบคิดกันตอนนี้ สิ่งเหล่านี้จะสำเร็จหรือไม่
หรือเอาใกล้หน่อย ในช่วงสมัยสงครามเย็น ภัยคุกคามของเวียดนาม เป็นสิ่งที่สร้างความกังวลในภูมิภาค ไทยเป็นตัวตั้งตัวตี จนทำให้เกิดASEAN และผลักดันประเด็นการยึดครองกัมพูชาของเวียดนาม จนเข้าไปสู่การแก้ไขปัญหาของสหประชาชาติ ในที่สุด นี่คือบทบาทสำคัญมากๆในทางการต่างประเทศไทย ที่มีบทบาทบนเวทีโลกและช่วยในเรื่องนโยบายความมั่นคงของไทย ที่ ทำให้ภัยคุกคามจากเวียดนามในเวลานั้นเบาบางลงด้วย
และที่สำคัญที่สุดในการปฏิสัมพันธ์บนระบบระหว่างประเทศ ที่เป็นอนาธิปไตย ในเชิงทฤษฎี ไม่มีรัฐใดอยู่เหนือรัฐใด ไม่มีอำนาจใดอยู่เหนือรัฐ เพราะฉะนั้น การเป็นรัฐอธิปไตย ก็คือรัฐอธิปไตย ไม่มีใหญ่ไม่มีเล็ก เราไม่มีความจำเป็นต้องแสดงตัวนอบน้อม ว่าเราเล็ก เพราะเราคือ "รัฐอธิปไตย"
เอวัง
#BFSS #ไทย #งดออกเสียง #ยูเครนรัสเซีย #สงครามรัสเซียยูเครน #สหประชาชาติ
โฆษณา