24 ต.ค. 2022 เวลา 02:30 • หุ้น & เศรษฐกิจ
“ซาโตริ” กลุ่มคนญี่ปุ่นรุ่นใหม่ เริ่มไม่หวังจะร่ำรวย และหันหลังให้เป้าหมายในชีวิต
ขยันทำงาน อดทน ตรงต่อเวลา และอ่อนน้อมถ่อมตน
คือภาพจำของชาวญี่ปุ่นที่ทั่วโลกรู้จักกันเป็นอย่างดี
1
นิสัยเหล่านี้ถูกปลูกฝังอยู่ในสายเลือดของคนญี่ปุ่น จากรุ่นสู่รุ่น
จนกลายเป็นวัฒนธรรมที่อุทิศตนให้แก่การทำงาน
ในบางครั้งวัฒนธรรมนี้ก็นำไปสู่การทำงานล่วงเวลา และการทำงานในวันหยุด จนเข้ามาแทนที่การใช้ชีวิต
และส่งผลเสียต่อสุขภาพจิตของชาวญี่ปุ่น
3
กลายเป็นที่มาของคำว่า “คาโรชิ” ซึ่งมีความหมายว่า การทำงานจนเสียชีวิต
1
จนทำให้เหล่าคนรุ่นใหม่ในญี่ปุ่น ซึ่งกำลังเข้าสู่วัยทำงาน มีวิธีคิดและวิธีการใช้ชีวิตแตกต่างจากคนรุ่นก่อน ๆ
อย่างวิถีชีวิตแบบ “ซาโตริ”
2
แล้วซาโตริ คืออะไร ? ลงทุนเกิร์ลจะเล่าให้ฟัง..
1
ซาโตริ ถ้าหากแปลตรง ๆ จะหมายความว่า “การรู้แจ้ง” หรือ “ตื่นรู้” ซึ่งใช้ในบริบทของศาสนาพุทธ
10
แต่สำหรับ ซาโตริ ในความหมาย ของคนรุ่นใหม่
จะสื่อถึง แนวคิดที่เลือกจะใช้ชีวิตแบบ “ปล่อยวาง”
โดยไม่คิดที่จะประสบความสำเร็จ หรือมีเป้าหมายในชีวิต
1
ซึ่งเหล่าซาโตริ จะเลือกทำงานพาร์ตไทม์ เช่น พนักงานร้านสะดวกซื้อ หรือพนักงานในร้านอาหาร เพื่อให้เพียงพอกับค่าใช้จ่ายชั่วคราว มากกว่าที่จะทำงานที่มีความมั่นคง อย่างพนักงานในบริษัท เหมือนคนรุ่นก่อน ๆ
2
รวมถึงเหล่าซาโตริยังมีความคิดที่ “ไม่ได้อยากร่ำรวย”
หรือครอบครองทรัพย์สิน อย่าง บ้าน หรือรถเป็นของตัวเอง
3
รวมถึงไม่คิดที่จะแต่งงานมีลูก
และยังไม่อยากยุ่งเกี่ยวกับคนอื่น ๆ
ไปจนถึง นิยมอยู่บ้าน มากกว่าที่จะออกไปท่องเที่ยว
7
นอกจากนี้ เหล่าซาโตริจะใช้ชีวิตแบบประหยัด
ด้วยการเลือกซื้อสินค้าที่มีคุณภาพ สมเหตุสมผลเมื่อเทียบกับราคา แทนการเลือกซื้อสินค้าราคาแพงหรือสินค้าจากแบรนด์ดัง
5
แล้วอะไร คือ สาเหตุที่ทำให้เกิดวิถีชีวิต แบบซาโตริขึ้นมา ?
4
ปัจจัยแรก คือ สภาพเศรษฐกิจญี่ปุ่นที่ชะลอตัว
ตั้งแต่เกิดวิกฤติฟองสบู่ในช่วงยุค 90
ทำให้หลายบริษัทต่างพากันล้มละลาย
2
ส่วนบริษัทที่ยังอยู่รอด ก็ปรับลดการจ้างงานลง
ส่งผลให้คนรุ่นใหม่ ยิ่งต้องแข่งขันกันมากขึ้น เพื่อให้ได้เข้าทำงาน
1
นอกจากนี้ ภาวะเงินฝืดของญี่ปุ่น
และสภาพสังคมที่เริ่มเข้าสู่ สังคมผู้สูงอายุ
ก็ยิ่งทำให้การสร้างธุรกิจของตัวเอง ประสบความสำเร็จได้ยากขึ้น
จนเหล่าคนรุ่นใหม่ เริ่มมองไม่เห็นอนาคตของตัวเอง
2
ปัจจัยต่อมา คือ สภาพสังคมญี่ปุ่น
ซึ่งมีวัฒนธรรมในการทำงานล่วงเวลา
ร่วมกับแนวคิดการทำงานในบริษัทเดิม ไปจนเกษียณ
ประกอบกับความคาดหวัง และแรงกดดันจากคนรอบตัว
จนทำให้คนญี่ปุ่นบางคน ซึ่งล้มเหลวหรือผิดหวังในชีวิต เลือกที่จะหันหลังให้กับสังคม และเป้าหมายในชีวิตของตัวเอง
1
โดยปัจจุบัน ในประเทศญี่ปุ่น มีคนที่เลือกทำงานพาร์ตไทม์ แทนการทำงานประจำ มากถึง 10 ล้านคน ซึ่งคิดเป็น 13% ของประชากรวัยทำงานในญี่ปุ่น และกำลังซ้ำเติมเศรษฐกิจญี่ปุ่นให้แย่ลงกว่าเดิม
5
เนื่องจากคนเหล่านี้ มีกำลังซื้อที่ลดน้อยลง เมื่อเทียบกับคนรุ่นก่อน
รวมถึงพวกเขายังมีฐานรายได้ต่ำ ส่งผลให้รัฐบาลจัดเก็บภาษีได้น้อยลง
ในขณะที่ ค่าใช้จ่ายของรัฐในการดูแลผู้สูงวัย กลับเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
เรียกได้ว่า สภาพสังคมและเศรษฐกิจของญี่ปุ่นในตอนนี้
อาจกำลังทำให้ผู้คนเหลือทางเลือกไม่มากนัก
ซึ่งบางคน ก็อาจต้องเลือกที่จะทุ่มเทให้งาน และความก้าวหน้า จนไม่ได้ใช้ชีวิตที่ต้องการ
แต่กลับกัน บางคนก็เลือกที่จะโฟกัสกับชีวิตในวันนี้ แทนการตั้งเป้า ถึงจุดหมาย ที่ไม่รู้ว่า ไปจะถึงเมื่อไร
แต่ไม่ว่า จะเลือกทางใด
เรื่องทั้งหมดนี้ ก็สะท้อนให้เห็นว่า การละเลยปัญหาเล็ก ๆ อย่าง ความท้อแท้ของใครบางคน หรือการตำหนิคนที่ไม่มีเป้าหมายในชีวิต วันนี้มันได้กลายมาเป็นปัญหาใหญ่ของประเทศ ที่มีคนนับล้าน ต้องเผชิญร่วมกัน..
2
(ad)กลุ่มบริษัทธนจิรากรุ๊ป พุ่งเป้าพัฒนาธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม (Food & Beverage) เพื่อเข้ามาเติมเต็มและต่อจิกซอว์เทรนด์ไลฟ์สไตล์ให้สมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น หลังจากประสบความสำเร็จและได้รับการตอบรับอย่างดีจากกลุ่มลูกค้าชาวไทยและต่างชาติ ที่มาใช้บริการร้าน Marimekko Pop-Up Café คาเฟแห่งแรกในโลก พร้อมเดินหน้าปูทางธุรกิจ F&B ภายใต้แบรนด์อื่นในเครือ หวังเจาะตลาดกลุ่มลูกค้า Gen Y - Gen Z มากขึ้น
#TANACHIRA #MarimekkoCafeThailand
โฆษณา