21 ต.ค. 2022 เวลา 08:13 • การตลาด
สรุปจาก 📝WIM EP.87: “Content Creator” เทรนด์ปัจจุบัน/คำแนะนำในการเริ่ม 📹 (รับชมวิดีโอตัวเต็มได้ที่: https://bit.ly/3yUjzkH)
📌 พิเศษใส่โค้ด "วันนี้สรุปมา" ลด 5% สำหรับการซื้อบัตรเข้างาน iCreator Conference 2022 | ซื้อบัตรได้แล้ววันนี้ที่ https://bit.ly/3MOGW4K
======================
1. Content Creator คืออะไร
======================
- คนที่สร้างสรรค์คอนเทนต์ นักเขียน นักแสดง นักดนตรี หรือแม้กระทั่งคนจัดอีเวนต์ก็ถือว่าเป็น content creator
- สมัยก่อนการจะทำสิ่งเหล่านี้ต้องผ่านคนกลาง ต้องมีสำนักพิมพ์ มีค่ายเพลง/ค่ายหนัง แต่ในยุคหลังด้วยเครื่องมือและเทคโนโลยี วันนี้เราสามารถเป็นนักดนตรีได้โดยไม่ต้องมีค่ายเพลง เป็นนักแสดงผ่าน Youtube เป็นนักเขียนผ่าน Facebook Page สามารถทำคอนเทนต์ได้โดยไม่ต้องผ่านคนกลาง
- ยุคนี้เลยถูกนิยามว่าเป็นยุคของ content creator เพราะทุกคนสามารถสร้างสรรค์คอนเทนต์และ publish ออกมาได้โดยที่ไม่ต้องผ่านคนกลาง ต่อให้คุณเป็นค่ายใหญ่หรือเป็นเด็กเราก็สามารถอัพวิดีโอขึ้น Youtube ได้เหมือนกัน
======================
2. ประเภทของ Content Creator
======================
* 1. Thought Leader
- ผู้นำทางความคิด เป็นคนที่พูดแล้วมี impact ต่อสังคม เช่น Oprah Winfrey, พี่ตุ้ม หนุ่มเมืองจันท์, คุณชัชชาติ
*2. Expert
- เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านใดด้านหนึ่ง มีสกิลความสามารถเฉพาะด้าน ซึ่งอันนี้เราจะเห็นเยอะในกลุ่ม creator สายไอที สายบิวตี้ สายฟู้ด ตัวอย่างเช่น คุณกอล์ฟมาเยือน เชี่ยวชาญทางด้านถ่ายภาพ
*3. Entertainer
- อาจจะไม่ได้เชี่ยวชาญด้านใดด้านหนึ่ง แต่มีความเป็นเอนเตอร์เทนเนอร์สูง ทำคลิปอะไรก็สนุก มีความหลากหลายในคอนเทนต์ เช่น พี่เอ็ด 7, บ้านกูเอง
- การ live สดขายของก็ถือเป็นเอนเตอร์เทนเนอร์รูปแบบหนึ่งเหมือนกัน
*4. Early Adopter
- กลุ่มที่ตามเทรนด์ เวลามีเทรนด์อะไรใหม่ๆ ก็จะมาก่อน รีวิวเป็นคนแรกๆ กลุ่มนี้ส่วนใหญ่มักจะเป็นนักข่าว หรือคนที่เข้าถึงแหล่งที่มาของข่าวได้ไว
======================
3. พัฒนาการของการทำคอนเทนต์
======================
3.1 เทคโนโลยีกับการผลิตคอนเทนต์
- สมัยก่อนจะถ่ายวิดีโอสักตัวต้องใช้คนเยอะมาก ใช้ตากล้อง คนถือไมค์ คนจัดเสียง คนจัดไฟ หรือการทำ live นี่ยากมากๆ ต้องมีห้องส่ง ปัจจุบันสามารถทำทุกอย่างได้ในโทรศัพท์มือถือเครื่องเดียว เราสามารถทำทุกอย่างได้ไวขึ้นในเชิงคอนเทนต์
- เทรนด์อย่าง TikTok ที่ทำวิดีโอสั้น จริงๆ วิดีโอมันถูกทำได้ตั้งนานแล้วตั้งแต่ Youtube ซึ่งมีมาสิบกว่าปีแล้ว แต่ถ้าคนจะทำคลิปบน Youtube จะรู้สึกว่ามันยาก จะต้องมีกล้อง มีไมโครโฟน มีอะไรเข้ามา ทุกวันนี้ที่ short clip มันเป็นเทรนด์และ TikTok มันฮิตมากๆ เพราะเครื่องมือ บน TikTok ไม่ใช่แค่ social media แต่มี video editor อยู่ข้างใน ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ก็ทำได้ เทรนด์วิดีโอสั้นก็เลยมา เพราะเครื่องไม้เครื่องมือมันง่ายขึ้น คนตัดง่ายขึ้น
- เทรนด์ในอนาคตจะมาจากสิ่งที่เราเห็นว่ามันยากตอนนี้ แล้วเดี๋ยวมันจะง่ายขึ้น เช่น ถ้าวันนี้เราอยากจะทำคอนเทนต์ 3 มิติ มันยังยากอยู่ ใช้อุปกรณ์เยอะอยู่หรืออาจจะยังซับซ้อน แต่เชื่อว่าเทคโนโลยีหลังจากนี้ 5 - 10 ปี เราจะทำมันได้ง่ายมาก เหมือนกับการถ่าย TikTok ซึ่งเป็นเทรนด์ที่เราเห็นชัดมากๆ ในเรื่องเทคโนโลยีกับการผลิตคอนเทนต์
3.2 Social Media vs. Recommendation Media
- ตอนนี้จะถึงจุดสิ้นสุดของ Social Media แบบที่เราคุ้นเคยภายในปีถึงสองปีนี้ มันมาจากเรื่องของอัลกอริทึม ซึ่งมีสองรูปแบบคือ Social Media เป็นมนุษย์แชร์สู้มนุษย์ แชร์ไปใน feed แต่จะมีอีกรูปแบบเรียกว่า Recommendation Media กลุ่มนี้จะไม่มี feed ของมนุษย์ แต่จะมี AI คิดให้ เช่น ถ้าคุณเข้า Youtube คุณชอบคลิปไหน มันจะไม่มีปุ่มแชร์ไปใน timeline แต่จะเป็น AI recommend มาหมดเลยว่าเราจะดูอะไร เข้า TikTok ก็จะมีช่อง For You ซึ่ง 80% เป็นคอนเทนต์ที่ AI เลือกมา
- สิ่งที่ถูกเขย่ามากๆ คือ social media เพราะพอมันถูกแชร์จากมนุษย์สู้มนุษย์ 85% จะเป็นคอนเทนต์จากเพื่อนส่งมาให้ เพจที่คุณตาม กรุ๊ปที่คุณจอย ปัญหาก็คือมนุษย์มี bias ไม่เป็นกลางสูงมาก มันก็เลยเกิดปัญหา Echo Chamber ทำให้เราเห็นเฉพาะสิ่งที่เราชอบ เราตามเฉพาะสิ่งที่เราอยากเห็น ทำให้เกิดปัญหาสังคมตามขึ้นมาเยอะแยะ
สิ่งที่จะเกิดขึ้นหลังจากนี้คือฝั่ง social media จะเริ่มลดบทบาทในการทำให้มนุษย์แชร์สู่มนุษย์ แต่จะเริ่มหันไปทำให้ AI ส่งหามากขึ้น เหมือนที่เราเห็น TikTok ทุกวันนี้ น้อยมากที่เราจะเจอคลิป TikTok ที่เพื่อนแชร์กันเอง แต่จะเป็น AI คิดมาให้เรา YouTube ก็เหมือนกัน ถ้าเข้าใน Twitter ก็จะเริ่มเจอ feed ที่เราไม่ได้ follow AI จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้น
- Mark Zuckerberg บอกเองในแถลงการณ์ล่าสุดว่าจะเพิ่มจาก AI เดิม 15% ใน content feed เป็น 30-40% ในปีหน้า
- ในมุมของ content creator มันคือโอกาสที่น่าสนใจมากๆ เพราะว่าถ้าเป็นยุค social media เดิม คนที่ได้เปรียบคือคนที่มาก่อน สร้างเพจก่อน หรือคนที่มี follower เยอะๆ ก็มีโอกาสส่งต่อให้มากกว่าคนใหม่ๆ แต่พอเป็นยุคที่เป็น AI recommendation คอนเทนต์มันคือฮีโร่ follower จะสำคัญน้อยลง เราจะเจอช่องใน TikTok จำนวนมากที่มี follower แค่ห้าพันคน แต่มีคลิปคนดูเป็นล้านวิว ซึ่งสิ่งนี้แทบไม่เกิดใน Facebook เลย แต่ก็เป็นโอกาสที่น่าสนใจ
======================
4. สถิติที่น่าสนใจในประเทศไทย
======================
- ประเทศไทยไม่ได้มีประชากรเยอะถ้าเทียบกับทั่วโลก แต่เป็นประเทศที่มี % การออนไลน์สูงติดระดับท๊อป 5 ของโลกมาทุกปี เพราะฉะนั้นสื่อออนไลน์ไทยก็เลยมีบทบาทสูงมาก
- เม็ดเงินโฆษณาที่มาลงเฉพาะออนไลน์เติบโตปีละ 10 - 30% ทุกปี ในขณะที่อุตสาหกรรมอื่นจะโตแค่ปีละ 0.5 - 1% บางอุตสาหกรรมก็ติดลบ มันโตน่ากลัวมาก แต่ก็เป็นโอกาสมากที่ทำให้เม็ดเงินเข้ามาเยอะ
- คนไทย 70 ล้านคน ใช้ Facebook 58 ล้านคน ซึ่งถ้าคิดเป็นเปอร์เซ็นต์จำนวนประชากรต่อผู้ใช้ Facebook แทบจะสูงสุดในโลก ถ้าเทียบกับประเทศญี่ปุ่นที่มีประชากรประมาณ 120 ล้านคน แต่มีคนเล่น Facebook แค่ 20 ล้านคน น้อยกว่าเราหลายเท่าตัว
- TikTok มีผู้ใช้ 35 ล้านคนซึ่งแซงหน้าจำนวนผู้ใช้ Instagram (18 ล้านคน) ไปแล้ว เป็นสิ่งที่น่าสนใจมากๆ ตลาดไทยเป็นตลาดที่ถ้าอะไรฮิตก็หยุดไม่อยู่ระดับหนึ่ง เป็นโอกาสสำหรับคนที่จะทำคอนเทนต์
- มีการไปถามเด็กๆ ในวันเด็กที่ผ่านมาว่าอาชีพในฝันคืออะไร อันดับหนึ่งคือคุณหมอ อันดับสองคือคุณครู อันดับสาม Youtuber อันดับสี่ทหาร อันดับห้านักกีฬา สองเรื่องที่น่าสนใจคือ หนึ่ง Youtuber เป็นอาชีพที่เด็กอยากเป็น สองคืออาชีพศิลปินกับดาราหายไป เด็กๆ ทุกวันนี้เข้าใจว่าศิลปินกับดาราก็คือ Youtuber
======================
5. การทำการตลาดกับ TikTok
======================
- เป็นตลาดที่ร้อนแรงมากๆ ไปเจอแบรนด์ไหนก็จะถามเรื่องนี้ จะลงทุนใน TikTok ดีไหม เท่าไหร่ดี
- ถ้าจะใช้เงินให้ได้ follower ใน Facebook อาจจะต้องใช้เงินสัก 10 - 50 บาทต่อหนึ่ง follower แต่ถ้าเป็น TikTok อาจจะใช้ประมาณ 0.5 - 5 บาท จากที่ทำให้หลายๆ แบรนด์ก็รู้สึกได้ชัดว่าเม็ดเงินที่ใส่เข้าไปมันไม่ได้เยอะ แต่ยอดมันก็ค่อนข้างดี
- แต่ก็ยังมีข้อจำกัดของแพลตฟอร์ม เช่น ความเป็น short video แบรนด์ที่ทำคอนเทนต์ประเภท long form ก็จะไม่ค่อยเวิร์ก อะไรที่มันต้องอธิบายยาวๆ อธิบายเยอะๆ ต้องการความเชื่อมั่นสูงๆ มันก็อาจจะยังไม่ใช่แพลตฟอร์มที่เหมาะกับทุกแบรนด์ในขณะนี้ แต่ถ้าคุณเป็นแบรนด์ที่แบบมาไว ไปเร็ว ทันกระแส เด็กวัยรุ่นชอบ TikTok นี่มีเสน่ห์มากๆ
======================
6. คำแนะนำสำหรับคนที่อยากเป็น Content Creator
======================
- มีสามอย่างที่อยากจะแนะนำสำหรับที่คนอยากเริ่มเป็น content creator
*1. Passion
- มีแพสชั่นกับเรื่องอะไร สนใจสิ่งใด ต้องนึกลงไปถึงขั้นเป็น expertise หรือรู้ลึกรู้จริง แล้วพยายามทำให้มันแคบลงไปเรื่อยๆ
- ยกตัวอย่างเช่น คุณอยากเป็นบิวตี้บล็อกเกอร์ แล้วอยากเป็นสายไหน เป็นแค่บิวตี้กว้างๆ ไม่ได้แล้ว อาจจะต้องเป็นบิวตี้สายนักศึกษา สายคนทำงาน สายออแกนิค สายปาร์ตี้ ต้องเริ่มลึกลงไป อยากเป็นฟู้ดบล็อกเกอร์ ต้องบอกว่าเป็นสายคาเฟ่ สายบุฟเฟต์แบบประหยัด หรือสายโอมากาเสะ กินแบบแพงๆ
- เพราะตอนนี้ไม่มี creator สายไหนแล้วที่ไม่มีคนทำ มีหมดแล้วทุกสายในโลกนี้ มีแม้กระทั่งสายเลี้ยงมด จับปลา มีคนอยู่ก่อนคุณ สิ่งที่สำคัญที่สุดในการที่จะเข้ามาตอนนี้คือคุณจะทำยังไงให้คุณแตกต่างจากคนอื่น
- ลองไปนับดูว่า creator ที่คุณคิดถึง แบบท๊อป 3 มันจะมีอยู่ไม่กี่คน และคุณจะเริ่มเห็นความชัดเจนของเขา ยกตัวอย่างเช่น สายอสังหา อาจจะนึกถึงคุณบูม ธริศร คุณ ก็จะมีภาพว่าบ้านร้อยล้าน คอนโดห้าสิบล้าน ก็จะเป็นสาย luxury มีความเฉพาะขึ้นไป
- สายออกกำลังกาย คุณอาจจะนึกภาพคุณเบเบ้ นึกว่าเขาคือผู้หญิงคนนึงที่มีแพสชั่นที่อยากจะให้ทุกคนลุกขึ้นมาออกกำลังกาย แล้วเป็นสายที่เป็นออกกำลังกายในระยะเวลาที่สั้นแต่ได้คุณภาพสูง สังเกตว่ามันจะยิบย่อยลงไป
- ถ้าจะเริ่มเป็น creator อาจจะต้องลองมองแพสชั่นแบบนี้ว่าเรามีแพสชั่นกับอะไร แล้วเราจะลง detail ลงไปให้ลึกกว่านั้นได้ยังไงบ้าง
*2. Skill
- แพสชั่นคือความชอบ สกิลคือความสามารถ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราพูดเก่ง สกิลของเราคือเป็นนักพูด แล้วลองเอาไปจับกับความชอบ เช่น ชอบเรื่องอสังหาฯ อาจจะเป็นคนที่อธิบายเรื่องอสังหาฯ แบบละเอียดๆ ได้ ก็จะถูกปรุงแต่งออกมาเป็นคอนเทนต์ หรือคุณเต้นเก่งประกอบกับการที่คุณชอบเกาหลี คุณอาจจะเป็นคนที่ทำคอนเทนต์ประเภทถอดท่าเต้นของศิลปินเกาหลีให้คนอื่นได้ดูก็ได้ เอาแพสชั่นมาบวกกับสกิลจะได้เป็นประเภทของคอนเทนต์ขึ้นมา
- เป็นคนที่วาดภาพเก่ง แล้วชอบเรื่องความรัก คุณอาจจะเป็นนักวาดภาพที่เน้นเรื่องอารมณ์คนอกหัก เป็นเพจที่พูดเกี่ยวกับคนอกหัก แล้วก็วาดภาพที่อินกับคนกำลังเศร้าอยู่และปลอบประโลมเขา ก็จะออกมาเป็นประเภทคอนเทนต์ได้
- สองอย่างนี้เป็นสิ่งที่เราควรจะรู้ก่อนที่เราจะมาทำอาชีพ creator อย่างผมชอบมีแพสชั่นเรื่องไอทีมากๆ แต่ในเชิงสกิล ผมพูดไม่ค่อยชัด จะไม่เก่งในการพูดหรือออกหน้ากล้อง ผมก็จะเน้นงานเขียน ตอนแรกที่เราทำเลยเป็นบล็อกเกอร์ จะไม่ได้เต็ม Youtuber เรารู้จุดอ่อนจุดแข็งของตัวเอง เราเก่งเรื่องด้านงานเขียน งานสอน เราก็จะไปทำ iCreator เป็นแพสชั่นบวกสกิล
*3. Time
- มีเวลาแค่ไหน ถ้ามีเวลาสัปดาห์ละสองชั่วโมงกับงานตัวนี้ อาจจะทำเป็นคลิปสั้นไหม ถ่ายสองชั่วโมง วันนึงอาจจะได้สัก 3 - 4 คลิปแล้วก็เอาไปปล่อยใน TikTok แต่ถ้ามีเวลาเยอะขึ้น เช่น วันเสาร์ครึ่งวัน อาจจะเป็น Youtuber ตามถ่ายทุกวันเสาร์เลย พาไปเที่ยว พาไปชม หรือถ้ามีเวลาทุกวันหลังเลิกงาน 3 - 4 ชั่วโมง คุณก็สามารถทำ live ได้ เปิดเพจ เปิดเป็นช่องได้เลย
- Social media ทุกตัวในโลกนี้อาจจะมีอัลกอริทึมที่ต่างกัน แต่มีสิ่งเดียวที่เหมือนกันหมดคือ ชอบความสม่ำเสมอ ถ้าคุณมีเวลาน้อยแล้วเลือกทำคอนเทนต์ผิดประเภท เวลาคุณไม่เอื้อ มันก็จบเหมือนกัน สมมุติเรายุ่งมาก แต่เราอยากเป็น Youtuber ก็ต้องใช้เวลาตัดนาน ก็จะทรมานไม่ได้หลับได้นอน
- เรื่องความสม่ำเสมอมีผลต่อทั้งอัลกอริทึมและผู้ติดตามของเรา สังเกตว่า Youtuber ที่ดังๆ เขาจะมีตารางในการลงคลิปประจำ หายไปสักเดือนแล้วค่อยลงคลิปจะไม่มี เขาจะหาวิธีจนลงตามตารางจนได้ เพราะว่ามันคืออาชีพที่ต้องใช้เวลาและความสม่ำเสมอ คนที่ติดตามเขาก็คาดหวัง ถ้าสามเดือนมีคลิปตัวนึงก็ไม่ไหว
======================
7. สิ่งที่ Content Creator ต้องปรับตัวในตอนนี้
======================
- ปีหน้าจะเป็นปีแห่งการหาตัวจริง ตัวจริงเท่านั้นจะอยู่รอด เพราะว่า social media ทุกตัวกำลังจะเริ่มปรับอย่างเห็นได้ชัด พอเป็นระบบ AI มันจะวัดคุณภาพจากคอนเทนต์ ไม่ได้อยู่ที่ใครมาก่อน สังเกตคลิปใน TikTok ที่ยอดวิวเป็นล้านอัพ มันจะมี quality อยู่ข้างใน ไม่ว่าจะเป็น entertainment quality, funny quality หรืออื่นๆ
- พอ AI เข้ามาคนที่ quality ไม่ถึง ก็จะถูกตัดออกไป รวมถึงคนที่มาก่อนแต่เป็นแค่ curator เลือกคอนเทนต์มากดแชร์ เพจประเภทนี้ก็จะมีบทบาทน้อยลงเรื่อยๆ เหลือแต่คนที่ผลิตคอนเทนต์ที่มี quality ออกมา
- ความยากอีกข้อคือ social media ที่เป็น recommendation media จะไม่ค่อยมียอดเฉลี่ยต่อโพสต์ คลิปนึงอาจจะห้าพันวิว อีกคลิปสามแสนวิว เพราะมัน base ตาม quality ของคอนเทนต์ กลุ่มแบรนด์กับเอเจนซี่ก็จะปวดหัว แต่ก่อน Facebook Page อาจจะสามารถบอกได้เลยว่า 50,000 reach ขึ้นไปทุกโพสต์ แต่เดี๋ยวนี้มันจะไม่ใช่แล้ว จะแกว่งขึ้นลงตามคุณภาพ
======================
8. แพลตฟอร์ที่มีอัลกรอริทึมที่ฉลาดที่สุด
======================
- ผมคิดว่า Youtube ฉลาดสุด video content เป็นสิ่งที่ทำ recommendation ยากสุดในคอนเทนต์บรรดาทุกประเภท หลายคนอาจจะไม่ทราบว่าคลิปที่อัพลงไปใน Youtube ถ้าลองไป search คำที่พูดในคลิป ก็จะหาคลิปเจอ เพราะตอนนี้ Youtube มีการทำ index ถอดคำพูดทุกคำในทุกคลิปออกมา ทำให้คุณสามารถ search เนื้อหาในคลิปได้ อัลกรอริทึมเขาเจ๋งจริง ส่วนรองลงมาคิดว่าน่าจะเป็น TikTok
- มันเลยเป็นเหตุผลที่อาจจะทำให้เห็นว่า creator ทั้งในและต่างประเทศอัพ podcast ลงไปใน Youtube เพราะว่าจุดอ่อนของ podcast คือมันไม่มี navigation ไม่รู้เลยว่าถ้าอยาก skip ไปสามสิบนาที ไม่รู้จะไปโผล่ที่ไหน พอมันมีระบบแบบนี้เวลาคุณ search ทุกคำที่คุณพูดไปได้ ก็สามารถทำเป็น chapter มันก็จะง่ายกับคนฟัง
======================
9. พูดถึงงาน iCreator Conference
======================
- เริ่มมาจากที่ผมทำอาชีพ content creator ตั้งแต่เมื่อ 10 ปีที่แล้ว เป็นยุคที่คนยังไม่ค่อยรู้จักอาชีพบล็อกเกอร์ ผมไปงาน Web Wednesday ขึ้นเวทีแล้วบอกว่าตัวเองเป็นบล็อกเกอร์มืออาชีพ คนก็ปรบมือรู้สึกว่ามันทำเป็นอาชีพได้ด้วยเหรอ
- สิบปีนั้นคือยุคเริ่ม เราก็เจอปัญหาในการทำอาชีพ รู้สึกว่ามันมีปัญหาที่ไม่ค่อยมีคนแก้เยอะมาก เมื่อสิบปีที่แล้วเรากู้ซื้อบ้าน ซื้อรถไม่ได้ ธนาคารไม่รู้จักอาชีพ content creator จนทุกวันนี้ก็ยังมีหลายคนที่ยังเจอปัญหาเดียวกัน หรือว่าเราไปทำเอกสารข้าราชการไม่รู้จะใส่ช่องไหน หรือเวลามีอะไรที่มันมีผลทางกฏหมายมาเกี่ยวข้อง เราไม่มีกระบอกเสียงในการไปต่อรองกับใครเลย ไม่มีองค์กรควบคุม
- ในขณะที่อาชีพอื่นเขาจะมีองค์กรคอยช่วยกำกับดูแล เช่น สมาคมนักข่าว สมาคมธุรกิจ หอการค้า เราเลยมีไอเดียว่าเราอยากจะทำอีเวนต์นึงขึ้นมาเพื่อให้เกิดการรวมตัวกันของคนในวงการนี้ เข้าใจว่ามันเป็นอาชีพอิสระ คงรวมตัวกันยาก แต่ปีนึงเรามารวมตัวกันสักรอบดีไหม เรามาเจอกัน มาให้ความรู้กับคน เป็นการรวมกลุ่มแบบหลวมๆ เพื่อที่จะได้เกิดการรวมกลุ่มที่มันหนาแน่นกว่านี้ ก็เลยเป็นที่มาของงาน iCreator Conference มาตั้งแต่ปี 2019
- ทุกปีก็จะมี creator หลายคนในวงการมา อย่างปีแรกก็เชิญเพื่อนๆ มา Bie The Ska, น้องมิ้น I Roam Alone, น้อง Gluta Story มาคุยกัน แต่ก็ไม่น่าเชื่อว่ามีคนมาฟังประมาณ 1,500 คน ก็ไม่คิดว่าจะมีคนสนใจอะไรแบบนี้
- จนปีต่อๆ มาเราก็ขยายสเกลใหญ่ขึ้นมาเรื่อยๆ จนปีนี้ก็กลับมาจัดวันที่ 29 ตุลาคม ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิต์ เป็นเวทีระดับชาติที่ใครๆ ก็ฝันอยากจะไปจัดที่นี้ ปีนี้มีทั้งหมด 20 session 40 speaker 6 workshop
- จะมีฮอลล์ทั้งหมดสามฮอลล์ตอนเช้าจะเปิดทั้งสามฮอลล์เข้าหากัน เข้าไปก็จะฟังเซสชั่นช่วงเช้าพร้อมๆ กัน จะมีเซสชั่นดีๆ จากแพลตฟอร์มระดับโลกทั้ง Youtube, Facebook, TikTok, Twitter เป็นการอัพเดทครั้งใหญ่ และทุกแพลตฟอร์มจะมาคุยเรื่องวงการ creator ร่วมกัน พอช่วงบ่ายก็จะแบ่งเป็นสามห้อง แต่ละห้องก็จะมี speaker แตกต่างกันไป สามารถเลือกได้ว่าเราสนใจฟังห้องไหน แต่บัตรทุกใบจะสามารถชมย้อนหลังได้สองเดือน เพราะฉะนั้นถ้าพลาดเซสชั่นไหนก็ไม่ต้องกังวลเรายังมีให้ดูย้อนหลังได้
- ในงานมีกิจกรรมเยอะ ไม่ได้มีแค่สัมมนา ยังมีเวิร์คช็อปดีๆ อีก 6 อัน จากหลายๆ แพลตฟอร์ม หลายๆ แบรนด์ เช่น การทำ LINE Shopping ยังไงให้เวิร์ค ยอดขายสองเท่า จากทาง LINE หรือ เวิร์คช็อปจาก Content Shifu ที่จะมาเล่าเรื่อง E-mail marketing
- อีกกิจกรรมที่แนะนำคือ iCreator Clinic ปกติเวลาเราไปงานสัมมนาพอ speaker ลงจากเวที เราอาจจะไม่เจอเขาอีกเลย แต่ที่ iCreator เราจะเชิญ speaker ทุกคนไปนั่งในโซนคลินิกเพื่อให้คำปรึกษากับคนที่มางานแบบหนึ่งต่อหนึ่ง อยากคุยกับน้อง Softpom พี่เหว่ง เทพลีลา แบบเดี่ยวๆ ไปคุยได้เลย แต่มีเวลาจำกัด คนนึงได้ไม่เกินสี่นาที
======================
10. สิ่งไม่ควรทำสำหรับการเป็น Content Creator
======================
- อันนึงที่อยากจะฝากไว้สำหรับคนที่พึ่งเริ่มคือ อย่าหลงทาง วันแรกที่เราทำ เราก็ทำด้วยความชอบ ด้วยแพสชั่น ด้วยความสนุก เราก็จะมีไฟ มีไอเดีย แล้วก็อยากทำในสิ่งที่เราอยากทำ แต่พอเราทำไปสักพัก มันจะมีหลายอย่างที่ทำให้เราไขว้เขว้ เช่น เราเป็น creator สายฟู้ด เราทำเรื่องนี้ได้อย่างดีมากๆ เลย วันดีคืนดีมันมีกระแส iPhone ฮิตมาก เราก็เลยจะพยายาม tie-in เอา iPhone มาลงในฟู้ด แต่สุดท้ายยังไงก็ไม่ได้ มีคนให้ iPhone มา งั้นเอามารีวิวเลยละกัน มันก็จะแตกตัวไปทำไอทีซะงั้น
- หรือบางจังหวะแบรนด์ลูกค้าให้มา ให้ไปทำสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องกับเรา สุดท้ายก็ทำแบบจับฉ่าย เราก็จะลืมสิ่งที่เราอยากโฟกัสว่าเราจะเป็น creator แบบไหน สุดท้ายก็เจอหลายคนที่ทำมาสักพักแล้วบอกว่าตัวเอง lost หรือ หลงทาง พอคุยไปคุยมาจะเจอเหตุผลคล้ายๆ กัน คือเขาอยากได้ยอด อยากได้ตังค์ อยากได้สปอร์ตไลท์ จนหลงลืมในสิ่งที่ตัวเองอยากจะเป็น
- เคยคุยกับบูม ธริศร เขาบอกว่าเขาปฏิเสธมากกว่าตอบรับ ยอมทำคอนเทนต์ที่เรารู้ว่ายอดอาจจะไม่ได้ดีหรือเงินเยอะมาก ดีกว่าที่เราไปทำคอนเทนต์ที่ยอดดีมากแต่ไม่ได้เป็นแพสชั่นเรา แล้วสุดท้ายก็รู้ว่ามันไม่ดีกับคนดูของเรา เพราะฉะนั้นขอให้ยึดมั่นในสิ่งที่เราเชื่อ ขัดเกลาให้มันแหลมคม ให้มันชัดเจน แล้วก็อย่าหลงไปกับสิ่งที่มันเข้ามา ภูมิใจกับสิ่งที่เราปฏิเสธมากกว่าสิ่งที่เรารับมาทำทั้งหมด
======================
11. ฝากส่งท้าย
======================
- Content creator อาจจะเป็นอาชีพในฝันของใครหลายๆ คน แต่มันก็ต้องมาพร้อมกับความอดทน ความพยายาม ความตั้งใจเหมือนกับทุกอาชีพ ไม่มีอาชีพไหนที่เราดีดนิ้วแล้วไปอยู่ในสปอร์ตไลท์เลย อยากเป็นกำลังใจให้ทุกคน รู้ว่าอาชีพนี้มันไม่ง่าย แต่ว่าถ้าเราทำสำเร็จมันก็กลับมาเป็น reward ที่คุ้มค่าอย่างมากๆ
- ถ้าคุณยังสงสัยเรื่องการทำ ความรู้ หรือสกิลต่างๆ สามารถไปร่วมงาน iCreator Conference หรือติดตามรายละเอียดต่างๆ ได้ที่เพจ RAiNMaker หรือ Khajochi
- สามารถใส่โค้ด “วันนี้สรุปมา” รับไปเลยส่วนลด 5% สำหรับการซื้อบัตรเข้างาน นอกจากจะได้ไปฟัง speaker เจ๋งๆ ก็จะได้ไปเจอเพื่อนๆ ที่เป็น creator ด้วยกัน เป็นเสน่ห์ของงาน conference ได้ไปเติมไฟกลับมา
📌 พิเศษใส่โค้ด "วันนี้สรุปมา" ลด 5% สำหรับการซื้อบัตรเข้างาน iCreator Conference 2022
ซื้อบัตรได้แล้ววันนี้ที่ https://bit.ly/3MOGW4K
======================
Speaker: คุณเอ็ม ขจร เจียรนัยพานิชย์ (Khajochi's Blog)
- Managing Director, The Zero Publishing (Mango Zero, Rainmaker, Thumbsup, Parents One)
- ผู้จัดงาน iCreator Conference
======================
Moderator: พี พนิต Panit Siripanichgon
======================
Date: 6 October 2022 (20:00-21:20)
#ContentCreator #ThaiContentCreator #Khajochi #ZeroPublishing #MangoZero #RAiNMaker #iCreatorConference #iCreator2022 #TheNextChapter #WhyItMatters #todayinoteto #วันนี้สรุปมา
โฆษณา