21 ต.ค. 2022 เวลา 11:03 • หุ้น & เศรษฐกิจ
นายก (อังกฤษ) ลาออกอีกแล้ว เซ่น Moron Premium
เป็นไปตามที่หลายคนคาด นายกรัฐมนตรีของอังกฤษ #LizTruss ลาออกจากตำแหน่ง หลังจากเข้ามาทำหน้าที่ได้เพียง 45 วัน
1
แต่ทำเอาตลาดการเงินปั่นป่วนและชื่อเสียงของประเทศอังกฤษเสียหายไปเยอะ เมื่อรัฐบาลใหม่ที่เข้ามาแทนนายก Boris Johnson เพียงไม่วัน นำเสนอ #MiniBudget ที่ประกอบไปด้วยการเพิ่มค่าใช้จ่ายในอุดหนุนราคาพลังงาน และดันบวกไปด้วยกับการลดภาษีเป็นการถาวรหลายรายการ ซึ่งเป็นแนวนโยบายของ #พรรคอนุรักษ์นิยม ที่ต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจ และผลักดันให้เศรษฐกิจมีอัตราภาษีอยู่ในระดับต่ำ
#แต่ปัญหาคือนโยบายดันคิดไม่ครบ และไม่สนใจข้อจำกัดด้านการคลัง ไม่ได้ให้มีการประเมินผลกระทบของนโยบาย และไม่บอกว่าจะ finance การลดภาษีนี้อย่างไร ซึ่งแปลว่าต้อง #กู้เพิ่ม
ในขณะที่เศรษฐกิจอังกฤษเจอปัญหาการขาดดุลการคลัง หนี้สาธารณะอยู่ในระดับสูง และมีปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดอยู่แล้ว และมีความเสี่ยงว่าแผนดังกล่าว อาจจะทำให้ความยั่งยืนและความสามารถในการจ่ายคืนหนี้ของรัฐบาลอังกฤษมีปัญหาในอนาคต
เพราะอังกฤษต้องพึ่งพา “คนแปลกหน้า” ในการช่วย “จ่าย” ต้นทุนของการขาดดุลของรัฐบาลอังกฤษ
จน #ค่าเงินปอนด์ร่วงต่ำ เป็นประวัติการณ์ และอัตราดอกเบี้ยของรัฐบาลอังกฤษพุ่งสูงขึ้นทันที
และกลายเป็นปัญหาใหญ่ เมื่อธุรกิจประกันชีวิต ที่มีการลงทุนในพันธบัตรระยะยาวของรัฐบาล ผ่านกลไกที่มีการใช้ leverage sหลายเท่า และมูลค่ามหาศาล
ธุรกรรมการลงทุนนี้ไม่ได้เพื่อเก็งกำไร แต่ทำเพื่อป้องกันความเสี่ยงระหว่างด้านสินทรัพย์และหนี้สิน การขยับของอัตราดอกเบี้ย ไม่ได้ทำให้ฐานะการเงินสุทธิของบริษัทประกันชีวิตได้รับผลกระทบมากนัก
แต่การใช้ #leverage แปลว่าเมื่อมีการขยับของดอกเบี้ยแรงๆ จะทำให้เกิดการบังคับขายพันธบัตรอย่างรวดเร็ว ซึ่งจะทำให้อัตราดอกเบี้ยจะขึ้นต่อเนื่องไปอีก และทำให้ตลาดการเงินพังเอาง่ายๆ
ลำบากถึงธนาคารกลางอังกฤษ ที่กำลังเหยียบเบรกเพื่อสู้กับเงินเฟ้ออยู่ ต้องหยุดเหยียบเบรก แล้วกลับมาอัดฉีดสภาพคล่องเพื่อไม่ทำให้ตลาดพังไปเสียก่อน และเผลอๆจะต้องขึ้นดอกเบี้ยมากขึ้นไปอีกเพื่อลดผลกระทบจากแรงกระตุ้นจากฝั่งการคลัง เพื่อซื้อเวลา เพื่อรอให้รัฐบาลอังกฤษกลับมาแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ
จนต้องมีการประกาศ u-turn ยกเลิกนโยบายหลายอย่าง
และทำให้ รมว. คลัง Kwarteng กลายเป็น รมว. คลัง ที่มีอายุการทำงานสั้นที่สุดในประวัติศาสตร์ แม้ว่าจะทำให้ตลาดกลับมาสงบได้อีกครั้ง แต่ความเชื่อมั่นได้ถูกทำลายไปแล้ว เหมือนแก้วที่เอากลับมาลำบาก
อัตราดอกเบี้ยค้างสูงอยู่ในระดับสูงกว่าเดิม (บางคนเรียกว่า “Moron premium”) ทำให้ รมว. คลังคนใหม่ ต้องประกาศแผนการคลัง ที่ต้องมีการตัดค่าใช้จ่ายและขึ้นภาษีหลายรายการ ที่มากกว่าการขาดดุลที่ประกาศเพิ่มใน mini budget เสียอีก
ความปั่นป่วนทำให้นายก Liz Truss #กลายเป็นนายกที่มีอายุงานสั้นสุดในประวัติศาสตร์ ไปด้วยอีกคน เรียกว่า...
แค่สี่เดือน เราอาจจะเห็นอังกฤษมีนายกรัฐมนตรี 3 คน และ รมว. คลัง 5 คน!
และถ้าพรรคอนุรักษ์นิยมที่มีเสียงข้างมาก หาผู้นำใหม่ไม่ได้ อาจจะต้องกลับไปเลือกตั้งอีกรอบ
ทำเอาคนแซวกันว่า อังกฤษกลายเป็นประเทศเกิดใหม่ไปแล้วหรือ มีปัญหาไม่ต่างอะไรกับประเทศเล็กๆเลย
ก็ต้องหวังว่านายกรัฐมนตรีคนใหม่คงต้องยึดวินัยทางการคลัง และทำให้ตลาดกลับมาเชื่อมั่นได้อีกครั้ง
ก็เป็นบทเรียนที่สำคัญว่า #วินัยด้านการคลัง และความยั่งยืนด้านการเงิน เป็นเรื่องที่สำคัญและกระทบต่อ #เสถียรภาพทางการเงิน
ในภาวะที่มีความท้าทายหลายเรื่อง ดอกเบี้ยขึ้น สภาพคล่องลด และรัฐต้องช่วยประชาชนในหลายเรื่อง เช่น ค่าครองชีพ และราคาพลังงาน ปัญหาคลายๆ แบบนี้มีโอกาสเกิดขึ้นกับประเทศอื่นอีกแน่ๆ รัดเข็มขัดกันดีๆ ครับ
โฆษณา