23 ต.ค. 2022 เวลา 15:45 • ความคิดเห็น
เท่าที่เคยเจอก็มีอยู่สองแบบร่ะ
1 คนร้าย คือพวกชั่วรวมตัวกันแล้วก็ทำเรื่องเลว ๆ บางพวกก็อาจจะทำกันเป็นเรื่องปกติหรือทำทุกวันก็มี เช่น พวกคนร้ายมอมยาสาวตามผับ (ที่เป็นข่าวดัง ๆ ก็ผับของซึงรี)
พวกคนร้ายเกินครึ่งจะเป็นบ้าเอาตอนบั้นปลายชีวิต ทำเรื่องเลวร้ายมามากจนประสาทกินหรือสติพิการ พวกนี้อาจไปบวชหรือนุ่งขาวห่มขาวแล้วก็นั่งกราบขอโทษกับต้นไม้,ใบหญ้า,แสงแดนกลางแจ้ง .... แต่ก็เห็นหลายคนที่วิปลาสหนัก ๆ ไปเลย (จากที่เดิมที่ก็จิตไม่ปกติกันอยู่แล้ว) .... ในกรณีของคนร้ายจะไม่เหมือนกับเหยื่อหรอกนะ แม้ว่าจะมีอาการแบบเดียวกันแต่ก็เป็นคนละแบบ
2 . เหยื่อความรุนแรงที่ได้รับผลทางจิตใจ เช่น เหยื่อข่มขืนกระทำชำเราที่กลับมาฆ่าคนร้าย พ่อหรือแม่ของเหยื่อมาฆ่าคนร้ายแก้แค้น เหยื่อที่ชีวิตโดนเอาเปรียบหรือเหยื่อที่ถูกสังคมบูลลี่มาก ๆ เช่น จ่าคลั่งโคราชกับอดีตตำรวจที่ไปยิงเด็ก
สำหรับเหยื่อน่ะไม่ใช่ทุกคนหรอกที่จะลงมือแก้แค้น แต่ทุกคนก็มีความอยากให้คนร้ายตายทั้งนั้น
เราก็เป็นเหยื่อเรื่องร้ายแรงแล้วก็เคยทำเรื่องร้ายแรงด้วย ในมุมมองของคนร้ายเราดูออกเพราะเคยอยู่วงในมาก่อน ตอนหลังก็มาศึกษาเพิ่ม ส่วนในมุมมองของเหยื่อเราเข้าใจเพราะเจอมาด้วยตัวเอง
ถ้าถามว่าอยากแก้แค้นมั้ย ... ก็อยาก... แล้วก็รู้สึกเสียดายด้วยที่ไม่ได้ทำ ถ้าเราลงมือแก้แค้นไปในอดีตตอนนี้ก็คงโล่งแล้วสบายใจไปแล้ว เรื่องแผนการก็คิดแล้วคิดอีกวางแผนซ้ำแก้แผนซ้ำจนสมบรูณ์ รับรองว่าไม่มีใครรู้จนวันตาย เนียนกว่าคนร้ายวางข่มขืนคนในบ้านแล้วตกลงกันว่าจะไม่พูดล้านเท่า แต่ที่ไม่ทำตั้งแต่แรกก็เพราะพ่อแม่ ... (เป้าหมายหลักเป็นคนในครอบครัว)
และอีกเหตุผลหลักที่ไม่ทำก็เพราะอยากหาทางกลับออกไปใช้ชีวิตก่อนที่จะหมดไฟไปก่อน ส่วนเรื่องแก้แค้นน่ะจะทำอะไรและทำตอนไหนก็ได้ค่ะ
เราอาจจะใจเย็นมากพอที่จะปล่อยคนร้ายไปสักสิบหรือยี่สิบปี แต่เราก็ใจร้ายมากพอที่จะเชือดคนร้ายทิ้งได้ทุกเวลาเหมือนกันค่ะ ออ ... คำว่าเชือดทิ้งนี่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไปฆ่าเขาหรอกนะ (ถึงจะอยากทำก็เถอะ)
โฆษณา