28 ต.ค. 2022 เวลา 11:55 • หุ้น & เศรษฐกิจ
คนไทย โอนเงินเก่ง เป็นอันดับ 3 ของโลก
9
รู้หรือไม่ว่าปีที่แล้ว ประเทศไทยมีการโอนเงินแบบเรียลไทม์ หรือก็คือการโอนเงินทันที เช่น โอนเงินผ่านแอปพลิเคชันธนาคาร จ่ายเงินด้วยพร้อมเพย์ รวมถึงผ่าน
วอลเล็ตต่าง ๆ มากถึง 9,700 ล้านรายการ
8
ซึ่งมากเป็นอันดับ 3 ของโลก เป็นรองเพียงแค่จีนและอินเดียเท่านั้น ทั้ง ๆ ที่เรามีประชากรน้อยกว่า 2 ประเทศนี้หลายเท่าตัว
3
แล้วทำไมคนไทย ถึงโอนเงินเก่งขนาดนี้ ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
จริง ๆ ก็ต้องบอกว่าจุดเริ่มต้นที่ทำให้คนไทยโอนเงินเก่ง มาจากแผนยุทธศาสตร์ National e-Payment ของรัฐบาลไทย
2
ที่ได้เริ่มต้นขึ้นในช่วงปลายปี 2558 หรือเมื่อ 7 ปีก่อน โดยเป็นโครงการเพื่อพัฒนาระบบการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ให้ทันสมัย
1
ซึ่งก็เป็นที่มาของการเปิดตัวพร้อมเพย์ของธนาคารแห่งประเทศไทยในปีถัดมา
2
หลังจากนั้นมา เราจึงสามารถรับเงินและโอนเงินให้กันได้ โดยใช้เพียงหมายเลขโทรศัพท์มือถือ หรือเลขประจำตัวประชาชน แทนเลขที่บัญชีธนาคาร นับเป็นการเพิ่มความสะดวกและประหยัดในการรับเงิน และโอนเงินให้กับประชาชน
6
อีกหนึ่งปัจจัยคือ ธนาคารไทยพาณิชย์ ประกาศยกเลิกค่าธรรมเนียม การทำธุรกรรมทางการเงิน ผ่านสมาร์ตโฟนในปี 2561 ในหลายประเภทธุรกรรม ไม่ว่าจะเป็น
5
- การโอนเงินข้ามเขต
- การโอนเงินไปบัญชีต่างธนาคาร
- การเติมเงิน
- การจ่ายบิลต่าง ๆ
- การกดเงินจากตู้เอทีเอ็ม โดยไม่ใช้บัตรข้ามเขตธนาคาร
3
ซึ่งก็ได้กลายมาเป็นอีกตัวเร่ง ที่ทำให้ธนาคารพาณิชย์เจ้าอื่น ต้องยกเลิกค่าธรรมเนียมตาม เพื่อไม่ให้เสียลูกค้าไป ไล่มาตั้งแต่ กสิกรไทย กรุงไทย กรุงเทพ และอีกหลายธนาคารที่ทำตาม ๆ กันมา เพื่อรักษาฐานลูกค้าเอาไว้
นอกจากนี้การเปิดตัวแอปพลิเคชันเป๋าตัง ของธนาคารกรุงไทย ในปี 2563 ก็เป็นตัวช่วยสำคัญที่เข้ามาทำให้คนไทย คุ้นเคยกับการชำระเงินออนไลน์มากขึ้น
3
เพราะเป็นตัวช่วยในการให้ประชาชนเข้าถึงมาตรการของภาครัฐ ไม่ว่าจะเป็นโครงการคนละครึ่ง โครงการเราเที่ยวด้วยกัน หรืออื่น ๆ อีกหลายโครงการ
3
และสถานการณ์โควิด 19 ก็เข้ามาเป็นหนึ่งในตัวเร่งสำคัญ ที่ทำให้เกิดพฤติกรรมการใช้จ่ายแบบไร้เงินสด
นอกจากจำนวนธุรกรรมการชำระเงินเรียลไทม์ ที่มากเป็นอันดับต้น ๆ ของโลกแล้ว ประเทศไทยยังมีสัดส่วนการชำระเงินเรียลไทม์ สูงถึง 24.7% เมื่อเทียบกับธุรกรรมการชำระเงินทั้งหมด
3
ซึ่งถือเป็นอันดับ 4 จากทั้งหมด 46 ประเทศที่มีข้อมูล และคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 47.2% หรือจะเติบโตขึ้นอีกเกือบเป็นเท่าตัวในอีก 4 ปีข้างหน้า
1
แน่นอนว่าการชำระเงินเรียลไทม์ มักมาคู่กับกระเป๋าเงินมือถือ โดยคนไทยมีกระเป๋าเงินมือถือที่มีการใช้งานจริงในปีที่ผ่านมาสูงถึง 93.8% นับเป็นอันดับ 1 จากการจัดอันดับทั้งหมด 39 ประเทศ
2
นอกจากการผลักดันของภาครัฐแล้ว ส่วนหนึ่งยังเป็นเพราะผู้ประกอบการหลายราย ที่ต่างพากันออกโปรโมชัน ลด แลก แจก แถม เพื่อดึงดูดให้คนหันมาใช้กระเป๋าเงินมือถือของตัวเอง เช่น ทรูมันนี่ วอลเล็ท จากเครือซีพี
3
ความสำเร็จของการผลักดันการชำระเงินเรียลไทม์ของประเทศไทย ช่วยเพิ่มผลผลิตทางเศรษฐกิจได้มากถึง 2.3 แสนล้านบาท หรือคิดเป็น 1.12% ของ GDP และคาดว่าจะสูงถึง 2.08% ในปี 2569
6
และนอกจากนี้การชำระเงินเรียลไทม์ ยังช่วยสนับสนุนการเติบโตของอีกหลายธุรกิจ เช่น ธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-commerce เพราะทำให้ผู้ซื้อสามารถชำระค่าสินค้าได้อย่างง่ายดายทันที ซึ่งส่งผลให้ตลาด E-commerce ในบ้านเราเติบโตขึ้นแบบก้าวกระโดด
4
ส่วนธุรกิจอื่นก็ได้ประโยชน์จากความรวดเร็ว ในการได้รับเงินและต้นทุนที่ต่ำลง ซึ่งเป็นการเพิ่มโอกาสทางธุรกิจวิธีหนึ่งเช่นกัน
2
สรุปแล้ว ทั้งแผนยุทธศาสตร์จากภาครัฐ การยกเลิกค่าธรรมเนียมธนาคาร แอปพลิเคชันเป๋าตัง และโควิด 19 เป็นส่วนประกอบสำคัญ ที่ทำให้คนไทย 70 ล้านคน โอนเงินเก่งกว่าทุกประเทศ เป็นรองเพียงจีน และอินเดีย เท่านั้น..
12
หนังสือ BRANDING THE NATION หนังสือที่เล่าถึงการสร้างแบรนด์ของแต่ละประเทศที่ทำให้ แต่ละประเทศเป็นแบบทุกวันนี้
1
เช่น ทำไมเยอรมนีเป็นประเทศแห่งรถยนต์ ทำไมฝรั่งเศสเป็นประเทศแห่งแบรนด์หรู สั่งซื้อเลยที่
โฆษณา