28 ต.ค. 2022 เวลา 12:47 • ปรัชญา
ถ้าเราจะมีการเปรียบเทียบอะไร
เราก็เปรียบเทียบกับอุดมคติของเรา
เราไม่เปรียบเทียบกับคนอื่น
เปรียบเทียบอุดมคติของเราว่า
เวลานี้เราใกล้กับอุดมคติ
หรือว่าเรายังห่างอุดมคติ
ถ้าเรารู้สึกว่าเรายังห่างอุดมคติ
เรารู้สึกด้อย
.
แต่ถ้าเราใกล้กับอุดมคติของเราเข้าไป
เราก็จะรู้สึกพอใจ
 
.
ถ้าเรารู้สึกว่า เรายังห่างไกลอุดมคติ
เราก็จะได้เร่งพัฒนาไปสู่อุดมคติมากขึ้น
ผมจะยกตัวอย่างเรื่อง
พระพุทธเจ้ากับปัญจวัคคีย์ให้ฟัง
.
พระพุทธเจ้าทรงเลิกทุกรกิริยา
ด้วยความคำนึงถึงอุดมคติของพระองค์
มุ่งสู่อุดมคติ
.
พระพุทธเจ้าเสด็จออกทรงผนวชมีอุดมคติว่า
เพื่อไปให้ถึงพระสัมมาสัมโพธิญาณ
ต้องตรัสรู้ ต้องรู้สัจธรรมให้ได้
แล้วก็จะนำมาช่วยเหลือมนุษย์
นั่นคืออุดมคติของพระองค์
.
เมื่อทำทุกรกิริยาเป็นอันมากแล้ว อย่างหนักแล้ว
อย่างที่เคยตรัสเอาไว้ในภายหลังกับพระสารีบุตรว่า
ไม่มีสมณพราหมณ์ผู้ใดจะทำทุกรกิริยา
ได้ยิ่งยวดกว่านี้อีกแล้ว อย่างมากที่สุดก็แค่
ที่พระองค์ทรงทำนี้แหละ
แต่แล้วก็ไม่ได้บรรลุอะไร
.
พระพุทธเจ้ายังมีเป้าหมายเดิม
คือจะต้องบรรลุ จะต้องแสวงหาสัจธรรม
อุดมคติของพระองค์อยู่ตรงนั้น
การเปลี่ยนเลิกทุกรกิริยามาบำเพ็ญเพียรทางจิต
เป็นการเปลี่ยนวิธีการ เห็นว่าวิธีการเดิมไม่ได้ผลแล้ว
ก็เปลี่ยนมาใช้วิธีการใหม่
คือการบำเพ็ญเพียรทางจิตและก็ได้สำเร็จ
คด. เพจอาจารย์วศิน อินทสระ
ภาพ Pinterest
เพจ ธรรมแปรรูป ในรูปของ #สำเร็จ
โฆษณา