31 ต.ค. 2022 เวลา 05:46
เชื่อมไทยเชื่อมโลก
แนวคิดในการสร้างโครงข่ายรถไฟเพื่อเชื่อมโยงเศรษฐกิจของโลกในภาคพื้นทวีปยุโรป – เอเชีย ซึ่งมีชื่อว่า “ทางรถไฟสายทรานส์-เอเชีย” (Trans-Asia Railway; TAR)
2
เป็นแนวคิดในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของสหประชาชาติ โดย “คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก” (UN ESCAP) มาตั้งแต่ หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 และประเทศไทย ให้ความสนใจในโครงการนี้ และมีการศึกษาความเป็นไปได้ในด้านต่าง ๆ มาตั้งแต่ พ.ศ. 2535 แล้ว
ในทันทีที่ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ เล็งเห็นถึงโอกาส ที่ประชาชนชาวไทยจะได้รับจากการลงทุนสร้างโครงข่ายรถไฟความเร็วสูงในประเทศไทย ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ลดความเหลื่อมล้ำ และความมั่นคงในการดำรงชีวิตของพี่น้องประชาชนชาวไทยทุกคน
ถึงแม้ว่าทางรถไฟในประเทศไทยนั้น จะเกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่างไทยกับจีน แต่จุดหมายปลายทางของเส้นทางรถไฟสายนี้นั้น ไม่ได้มีเพียงแค่จีน และประเทศอาเซียนเท่านั้น
แต่สามารถเชื่อมโยงไปได้ไกลถึงรัสเซีย, ยุโรป, เอเชียกลาง และเอเชียใต้ ซึ่งจะนำมาซึ่งโอกาสทางธุรกิจที่หลากหลายให้แก่คนไทย ผ่านเส้นทางรถไฟซึ่งมีระยะทางประมาณ 125,500 กิโลเมตร ซึ่งประเทศสมาชิก 28 ประเทศในเส้นทาง
รัฐบาลไทย ภายใต้การนำของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา จึงริเริ่มดำเนินการผลักดันโครงการที่ประเทศไทยได้ทำการศึกษามายาวนานหลายสิบปี ให้เกิดผลเป็นรูปธรรม แก้ไขข้อกฎหมายที่เป็นอุปสรรค และต่อรองเพื่อพิทักษ์ประโยชน์ในระยะยาวของประเทศไทย
จนคณะรัฐมนตรีสามารถอนุมัติโครงการแรกได้ในวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 และคาดว่าจะแล้วเสร็จใน พ.ศ. 2569
ทางรถไฟสายนี้ เป็นเพียงแค่จุดเริ่มต้น และจะยังมีโครงการสร้างทางรถไฟอีกหลายสาย ที่จะเชื่อมโยงคนไทยทุกภูมิภาคให้เป็นหนึ่งเดียวกัน เพื่อเชื่อมโยงคนไทยทั้งชาติ และโลกทั้งใบให้เป็นหนึ่งเดียว
#โครงข่ายรถไฟความเร็วสูงไทย
#เชื่อมไทยเชื่อมโลก
#PMOC
#ศูนย์ปฏิบัติการนายกรัฐมนตรี
โฆษณา