31 ต.ค. 2022 เวลา 09:53 • ไลฟ์สไตล์
ไข่ดาว ปูอัด หมูสับ ไส้กรอก ชะอม แครอท ต้นหอม
ไข่ดาวสวยกรอบอร่อยอินดี้
ไข่ไก่
พลังงาน 143 Kcal. โปรตีน 12.5 g. ไขมัน 9.5 g.
การรับประทานไข่ไก่เป็นส่วนช่วยให้อิ่มยาวนาน เนื่องจากไข่ไก่มีส่วนประกอบไปด้วย ไขมัน โปรตีน ที่สามารถเพิ่มความรู้สึกอิ่ม และยังส่วนในการควบคุมน้ำหนักได้เป็นอย่างดี ในไก่ไข่ 1 ฟอง มีโปรตีนถึง 6 กรัม ซึ่งเป็นแหล่งโปรตีนที่ดี ช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อได้ดี ให้เติบโต และซ่อมแซมร่างกาย ยังมีกรดไขมัน
ฟอสโฟลิพิด (Phospholipid) จะเกิดเป็นสารเลซิทิน (Lecithin) ซึ่งเป็นส่วนสำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของสมอง จึงเชื่อกันว่าไข่อาจช่วยเสริมสร้างการทำงานของสมอง และช่วยให้ระบบประสาทแข็งแรงได้ มีงานวิจัยที่แนะนำให้คุณแม่ตั้งครรภ์รับประทานอาหารที่อุดมด้วยสารโคลีนเพื่อเพิ่มการพัฒนาด้านความทรงจำและการเจริญเติบโตของสมองทารก ซึ่งในไข่ไก่มีโคลีนถึง 251 มิลลิกรัม ต่อ 100 กรัม และ ลูทีน ซีแซนทีน มีสารแคโรทีนอยด์ที่มีความสำคัญต่อสุขภาพดวงตา
ข้อควรระวัง
ไข่ไก่เป็นที่นิยมในการรับประทานกึ่งสุกกึ่งดิบ ทว่าความจริงการดูดซึมโปรตีนจะลดลงจากระดับความดิบของไข่ไก่ และเพิ่มความเสี่ยงจากการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียที่มีอยู่ สู่การติดเชื้อ ซาลโมเนลลา (Salmonella) หากท่านมีความต้องการรับประทานไข่ที่ไม่สุก 100 เปอร์เซ็นต์ แนะนำให้เลือกซื้อไข่ที่ผ่านการพาสเจอร์ไรส์ จะป้องกันเชื้อได้ในระดับหนึ่ง แต่
สำหรับ เด็กเล็ก สตรีมีครรภ์ ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ควรหลีกเลี่ยงการทานไข่ดิบโดยไม่จำเป็น
ไข่ไก่ : กระทรวงสาธารณสุขสหรัฐฯ ตัด สารโคเลสเตอรอล ออกจากบัญชีสาร ที่ประชากรสหรัฐฯ ต้องระมัดระวังแล้ว โดยกล่าวว่า ผลการวิจัย ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่าง สารโคเลสเตอรอล ในอาหารที่เราบริโภค กับโคเลสเตอรอลในเลือดซึ่งร่างกายเราสร้างขึ้นมาเอง
สรุปกินไข่ได้มากกว่า 1 ฟองต่อวัน
สำหรับวัยไม่เกิน 50 กินได้วันละ 6 ฟอง
คนอายุ 80 กินวันละ 2 ฟอง ป้องกันอัลไซเมอร์
คุณประโยชน์ 10 ประการของไข่ไก่:
1. ไข่เป็นอาหารที่ดี สำหรับดวงตา ผลการศึกษาชิ้นหนึ่งพบว่า การรับประทานไข่วันละฟอง อาจจะช่วยป้องกัน โรคจอประสาทตาเสื่อม จากสารคาโรทีนอยด์ที่อยู่ในไข่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ลูทีน (lutein) และซีแซนทีน (zeaxanthin) ซึ่งเป็นสารที่พบบริเวณตา โดยฉาบอยู่บนผิวของ เรตินา เพราะร่างกายจะได้รับ สารอาหารทั้งสองอย่างนี้โดยตรงจากไข่มากกว่าอาหารชนิดอื่น
2. ไข่ทำให้เป็นต้อกระจก น้อยลง จากคนที่กินไข่ทุกวัน มีความเสี่ยงที่จะเป็น ต้อกระจกน้อยลง อันเนื่องมาจาก ลูทีน และ ซีแซนทีน ในไข่ดังได้กล่าวมาแล้ว
3. ไข่อุดมไปด้วยโปรตีน โดย 1 ฟอง จะมีโปรตีนคุณภาพดี 6 กรัม และกรดอะมิโนสำคัญอีก 9 ชนิด
4. ผลการทำวิจัยโดย มหาวิทยาลัยแพทย์ฮาร์วาร์ด พบว่า การบริโภคไข่เป็นประจำยังช่วยป้องกัน เลือดจับตัวเป็นก้อน เส้นเลือดอุดตันในสมอง และภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน
5. ไข่เป็นแหล่งโคลีน ที่ดีในกลุ่มของ วิตามินบี ช่วยในการควบคุมการทำงานของสมอง ระบบประสาท และระบบไหลเวียนของเลือด โดยไข่ 1 ฟอง จะมีโคลีน มากถึง 300 ไมโครกรัม
6. ไขมันในไข่ มีคุณภาพดี ไข่ 1 ฟอง มีไขมันอยู่ 5 กรัม และมีเพียง 1.5 กรัมเท่านั้น ที่เป็นไขมันชนิดอิ่มตัว
7. แม้ว่าจะขัดแย้งกับความเชื่อเดิมๆ แต่งานวิจัยชิ้นใหม่ กลับพบว่า การบริโภคไข่วันละ 2 ฟอง เป็นประจำ ไม่มีผลกระทบต่อระดับไขมันในร่างกาย มิหนำซ้ำอาจจะช่วยทำให้ไขมันดีขึ้น
8. กินไข่ได้วิตามินดี เพราะไข่เป็นอาหารเพียงชนิดเดียว ที่เป็นแหล่งวิตามินดีตามธรรมชาติ
1
9. ไข่อาจจะช่วยป้องกันมะเร็งเต้านม โดยผลการศึกษาชิ้นหนึ่งพบว่า ผู้หญิงที่รับประทานไข่ 6 ฟองต่อสัปดาห์ ช่วยลดความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งเต้านมลง ร้อยละ 44
10. ไข่ทำให้ เส้นผม และ เล็บ มีสุขภาพดี เพราะว่าไข่มี ซัลเฟอร์ สูง รวมถึงยังมีวิตามิน และแร่ธาตุอีกหลายชนิด หลายคนจึงพบว่าผมยาวเร็วขึ้น หลังจากที่เพิ่มไข่เข้าไปในอาหารที่รับประทาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคนที่เคยขาดอาหารที่มี ซัลเฟอร์ หรือ วิตามินบี 12 มาก่อน
ไข่เป็ด
2
พลังงาน 185 Kcal. โปรตีน 12.8 g. ไขมัน 13.7 g.
ไข่เป็ดมีแคลอรีสูงกว่าไข่ไก่ และไข่นกกระทา เพราะมีขนาดใหญ่ เนื่องจากส่วนของไข่แดงที่มากกว่า ทำให้ค่าเฉลี่ยแล้วไข่เป็ดจึงมีโปรตีนสูง วิตามินเอ แคโรทีนอยด์ ธาตุเหล็ก วิตามินบี 12 สูงกว่าราว 3 – 12 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับไข่ไก่ และไข่นกกระทา
ข้อควรระวัง
ไข่เป็ดมีข้อเสีย เนื่องจากมีคอเลสเตอรอลสูงในไข่แดงราว 3 – 12 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกันไข่ไก่ และไข่นกกระทา ตามลำดับ สำหรับผู้มีปัญหาสุขภาพในเรื่องคอเลสเตอรอล ผู้สูงอายุควรหลีกเลี่ยง ไข่เป็ดจะมีลักษณะของไข่ขาวเนื้อแน่น เหมาะนำมาทำไข่ต้ม ไข่ทอด หรือทำเป็นไข่พะโล้ เพราะไข่เป็ดมีกลิ่นคาวค่อนข้างแรงจึงไม่เหมาะนำมารับประทานแบบไม่สุก
" ไข่แดง " มีคอเลสเตอรอลสูงจริงหรือ??? 🥚
คุณค่าทางโภชนาการของไข่ไก่และไข่เป็ดจะใกล้เคียงกัน ไข่ 1 ฟอง น้ำหนักเฉลี่ยประมาณ 50 กรัม ให้พลังงาน 80 กิโลแคลอรี โปรตีน 7 กรัม
ซึ่ง FAO ได้จัดว่าเป็นโปรตีนที่มีคุณภาพดีที่สุด มีค่า Biological value เป็น 100 ซึ่งหมายความว่าเป็นโปรตีนที่สมบูรณ์ มีประสิทธิภาพในการดูดซึมสูงกว่าโปรตีนชนิดอื่น มีไขมัน 6 กรัม และยังให้วิตามินและแร่ธาตุที่สำคัญมีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัส วิตามินเอ วิตามินบี1 บี2 บี3 บี6 และ บี12 ธาตุเหล็ก Lecithin เป็นต้น
โคเลสเตอรอล เป็นสารอาหารประเภทไขมัน แต่ไม่ให้พลังงานแก่ร่างกาย พบในอาหารที่ได้จากสัตว์ในปริมาณที่แตกต่างไปตามชนิด และอวัยวะของสัตว์นั้นๆ โคเลสเตอรอลเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในการทำงานของอวัยวะต่างๆในร่างกาย พบได้ทุกเซลล์ในร่างกาย ใช้สร้างฮอร์โมนเพศ กรดน้ำดี (Bile
arid) เพื่อใช้ในการดูดซึมไขมัน และวิตามินที่ละลายในไขมัน เข้าสู่ร่างกายทางระบบทางเดินอาหาร โคเลสเตอรอลที่อยู่ในอาหารที่เรารับประทาน (Dietary cholesterol) ไม่ได้แปลงไปเป็นโคเลสเตอรอลในเลือดโดยตรง ต้องผ่านกระบวนการต่างๆมากมาย ปริมาณโคเลสเตอรอลในเลือด ร้อยละ 80-90 นั้น ร่างกายเราสร้างขึ้นมาเองจากการทำงานของตับ และวัตถุดิบหลักที่ตับใช้ในการสร้างโคเลสเตอรอล คือ น้ำตาล ดังนั้น การรับ
ประทานอาหารหวานๆ เมื่อร่างกายใช้ไม่หมด ก็จะถูกแปลงเป็นไขมันแทน เป็นสาเหตุของไขมันในเลือดสูง
นอกจากนี้ ชนิดของไขมันที่มีในอาหารที่เรารับประทาน เช่น ไขมันชนิดอิ่มตัว (Saturated fat) และ Trans fatty acids ก็มีส่วนสัมพันธ์กับการเพิ่มของโคเลสเตอรอล และมีส่วนที่จะกำหนดความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดและหัวใจ ถ้าการเพิ่มของระดับโคเลสเตอรอลในเลือดเป็นชนิด LDL Cholesterol (Low density lipoprotein cholesterol) หรือโคเลสเตอรอลชนิดเลว
ปัจจุบันนี้คิดว่า ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการมี LDL Cholesterol สูง คือ บุหรี่ ความอ้วน เบาหวาน ระดับไตรกลีเซอร์ไรด์สูง ส่วนปัจจัยที่สัมพันธ์กับการมี HDL Cholesterol สูง (โคเลสเตอรอลชนิดดี) คือ ความสมดุลของการกิน การออกกำลังกาย การพักผ่อน สิ่งแวดล้อม และไม่
เครียด จากรายงานการศึกษาวิจัยที่เชื่อถือได้หลายการศึกษาที่โด่งดัง เช่น Framingham study ได้สรุปว่า
1. ไม่มีความสัมพันธ์กันระหว่างการกินอาหารที่มีโคเลสเตอรอลกับระดับโคเลสเตอรอลในเลือด
2. ไม่มีความสัมพันธ์ที่ชัดเจนระหว่างระดับโคเลสเตอรอลในเลือดกับโรคหัวใจ
ความรู้เรื่องโคเลสเตอรอลดังกล่าวข้างต้น เมื่อนำมาพิจารณาร่วมกับการกินไข่จะไม่เป็นปัญหาอีกต่อไป ไข่ถูกมองว่าเป็นอาหารที่มีโคเลสเตอรอลค่อนข้างมาก (ไข่ 1 ฟองมีโคเลสเตอรอล เฉลี่ยประมาณ 180-250 มิลลิกรัม) ได้มีการกำหนดให้ร่างกายควรได้รับ
โคเลสเตอรอลจากอาหารไม่กิน 300 มิลลิกรัมต่อวัน โคเลสเตอรอลที่มีในไข่จะอยู่เฉพาะในไข่แดง ไข่ขาวไม่มีโคเลสเตอรอล ในไข่แดงยังมีเลซิธิน (Lecithin) ซึ่งจะไปช่วยอิมัลซิฟายไขมัน ทำให้ไขมันแตกตัวเป็นอนุภาพเล็กๆ และไหลเวียนไปกับกระแสเลือด ป้องกันการจับตัวของไขมันที่ผนังหลอดเลือด เลซิธินยังเป็นสารที่ช่วยบำรุงประสาท และสมอง จากคุณสมบัติของเลซิธินดังกล่าว จึงมีการผลิตขายในรูปของ
อาหารเสริม เพื่อช่วยป้องกันหลอดเลือดแข็งตัว ป้องกันโรคหัวใจ บำรุงสมอง ทำให้สมองทำหน้าที่ได้อย่างปกติ ช่วยย่อยไขมัน ช่วยระบบภูมิคุ้มกัน แต่มีราคาแพงมาก ถ้าเรารับประทานไข่แดงร่างกายก็ได้รับเลซิธิน ตามธรรมชาติอยู่แล้ว ในราคาถูกอีกด้วย
โฆษณา